ปัญหาทางกฎหมายในการคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ในเขตพื้นที่ตำบลสุรนารีและตำบลโคกกรวด อำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา

Legal Issues in Fossil Preservation within Suranari Sub-District and Kokkruat Sub-District Mueang District Nakhonratchasima Province

Authors

  • บุญนำ โสภาอุทก

Keywords:

สภาพปัญหาทางกฎหมาย, การคุ้มครอง, การอนุรักษ์, การบริหารจัดการ, ซากดึกดำบรรพ์, แหล่งซากดึกดำบรรพ์, Legal issues, Preservation, Protection, Management, Fossils, Fossil site

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้มี 4 ประการคือ 1. เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ โดยจะศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ.2551 และอนุบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2. เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายในการคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ในเขตพื้นที่ตำบลสุรนารีและตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ในเขตพื้นที่ตำบลสุรนารีและตำบลโคกกรวด อำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา และ 4. เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อการคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ในเขตพื้นที่ตำบลสุรนารีและตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาข้อมูลเอกสาร (Documentary Research)แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In -depth  Interview) แบบสังเกตการณ์ (Observation) และแบบสำรวจภาคสนาม(Field Research) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ในพื้นที่แหล่งซากดึกดำบรรพ์และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ร่วมกับการวิเคราะห์เชิงตีความผลการวิจัยพบว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ.2551 เป็นกฎหมายเฉพาะที่บัญญัติขึ้นเพื่อการคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ในด้านต่าง ๆ รวมถึงมาตรการส่งเสริมการสำรวจศึกษาและวิจัยซากดึกดำบรรพ์ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ในการคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พบว่ามีสภาพปัญหา ได้แก่ ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ซากดึกดำบรรพ์ ปัญหาการบริหารจัดการซากดึกดำบรรพ์และแหล่งซากดึกดำบรรพ์ ปัญหาด้านการมีส่วนร่วมและการประสานความร่วมมือ ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านบรรพชีวินวิทยา ปัญหาด้านงบประมาณในการจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานและทันสมัย ปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมาย และปัญหาเกี่ยวกับการขาดจิตสำนึกตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ของซากดึกดำบรรพ์ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาพปัญหาในการคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในการคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ ปัจจัยด้านทัศนคติและจิตสำนึกต่อซากดึกดำบรรพ์ ปัจจัยด้านนโยบายแผนและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการซากดึกดำบรรพ์ และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน แนวทางในการแก้ไขปัญหา เช่น การจัดทำฐานข้อมูลซากดึกดำบรรพ์ การสร้างความรู้ความเข้าใจและปลูกฝังจิตสำนึก ตลอดจนการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์และคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาพิพิธภัณฑ์ด้านบรรพชีวินวิทยาให้มีความทันสมัย ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตบุคลากรด้านบรรพชีวินวิทยา จัดสรรงบประมาณและพัฒนาเครือข่ายการวิจัยด้านบรรพชีวินวิทยา บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และทบทวนแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้มีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับสถานการณ์และทันสมัย รวมถึงพัฒนาพื้นที่แหล่งซากดึกดำบรรพ์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา ส่งเสริมการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป  The purpose of this research is to study the laws concerning the preservation of fossils, legal issues, and factors that affect fossil preservation, including strategies to amend and improve the laws on fossil preservation. This qualitative research was conducted by studying relevant documents, in-depth interview, observation, and field survey to investigate the problem of fossil preservation in 39 dig sites in the study area. The study uses content analysis and interpretative analysis to evaluate the data. According to this study, it is found that the main law that provides protection of various fields of Paleontology is the Fossil Protection Act, B.E. 2551. This Act also imposes laws relating to the promotion, study, and research of fossils in accordance with academic principles. The issues relating to the preservation of fossils are the knowledge of the preservation of fossils, management of fossils and dig sites, lack of participation and cooperation, shortage of Paleontological personnel, inability to budget for standard and modern equipment, law enforcement issues, and lack of consciousness with regards to the value and benefits of fossils. The factors that influence these problems are personal factors, exposure to information, understanding of fossil preservation laws, attitude and consciousness of fossils, policies, plans and laws in relation to the preservation of fossils, fossils management, and the cooperation from the public. Solutions to these problems include creation of a fossil database, building awareness and cultivating consciousness, encouraging all sectors to effectively conserve and protect fossils, modernizing the Museum of Paleontology, promoting and supporting personnel that are involved in Paleontology, allocating a budget and developing a Paleontological research network, strictly enforcing laws, reviewing and revising laws to be more consistant in accordance to circumstances and society. In addition to this, dig site areas should be developed as geological tourist sites to promote employment and generate income for local people leading to sustainable development succession.

References

กรมทรัพยากรธรณี. (2559). รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์แผนแม่บทการสำรวจศึกษาและวิจัยซากดึกดำบรรพ์ของประเทศไทย (พ.ศ. 2560 – 2569). กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กิตติพงษ์ สำเภา. (2555). ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2540). นโยบายและแผนปฏิบัติการระดับชาติเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนสำหรับประเทศไทย: โครงการดำเนินการเพื่ออนุวัติตามแผนปฏิบัติการ 21 การจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม.

ณรงค์ ใจหาญ. (2541). บทบาทของประชาชนในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม. เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติ การ “สิ่งแวดล้อมในรัฐธรรมนูญ แปลงแนวคิดสู่การปฏิบัติ”. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.

วัฒนา ตันเสถียร. (ม.ป.ป.). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์. เอกสารประกอบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาและส่งเสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย กรมทรัพยากรธรณี. กรุงเทพฯ: สำนักคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์.

ประเทือง จินตสกุล. (2551). หนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารสิริธร ณ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. นครราชสีมา: ห้างหุ้นส่วนจำกัด โคราชมาร์ เก็ตติ้ง แอนด์ โปรดักชั่น.

อดิชาติ สุรินทร์คำ. (2543). การสำรวจไม้กลายเป็นหิน โดยการหยั่งลึกด้วยสัญญาณเรดาร์บ้านโกรกเดือนห้า จังหวัดนครราชสีมา. กรุงเทพฯ: กองเศรษฐธรณีวิทยา.

Downloads

Published

2023-01-23