การพัฒนาการบริหารภาครัฐที่เหมาะสมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
Public Administration Development Appropriate in the Eastern Economic Corridor
Keywords:
การพัฒนา, การบริหารภาครัฐ, เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, Development, Public Administration, Appropriate in the Eastern Economic CorridorAbstract
จากสภาพปัญหาและข้อจำกัดทางโครงสร้างของการพัฒนาการบริหารภาครัฐในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่พบจากการวิจัย พบปัญหาด้านกฎหมาย ปัญหาด้านการบริหารจัดการภาครัฐ และปัญหาเรื่องการพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคล ผู้วิจัยได้เสนอรูปแบบการพัฒนาการบริหารภาครัฐที่เหมาะสมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยสามารถแบ่งโครงสร้างที่มุ่งหวังของการพัฒนาบริหารภาครัฐที่เหมาะสม ประกอบด้วย ด้านที่ 1 การพัฒนากฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารภาครัฐให้เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพบริบทของพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมต่อการพัฒนาประเทศไป พร้อมกับการยอมรับและการอยู่ร่วมกันของประชาชนในพื้นที่ ควรมีการปรับแก้กฎหมายให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ให้อำนาจประชาชนในพื้นที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการดูแลในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ EEC และไม่ควรรวมศูนย์อำนาจกฎหมายที่คณะกรรมการแบบเบ็ดเสร็จมากเกินไปเพราะทำให้หน่วยงานราชการเชิงพื้นที่ทำงานได้ไม่คล่องตัวแก้ไขปัญหาในพื้นที่ผิดพลาดไม่รวดเร็ว ลดอำนาจเบ็ดเสร็จตามกฎหมายของคณะกรรมการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกให้น้อยลง เพิ่มอำนาจกฎหมายโดยให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพิ่มมากขึ้น และหน่วยงานภาครัฐที่อยู่ในพื้นที่เพราะรู้ปัญหามากที่สุดและรักษาผลประโยชน์ของจังหวัดทำให้การพัฒนาควบคู่ไปกับการอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพิงเอื้อประโยชน์ต่อกันและกัน “ลดอำนาจรัฐส่วนกลาง กระจายอำนาจทางกฎหมายให้กับประชาชนและหน่วยงานในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาร่วมกันในฐานะเจ้าของพื้นที่บ้านเกิด รวมถึงการเพิ่มอำนาจทางกฎหมายให้ประชาชนสามารถตรวจสอบและถ่วงดุลคณะกรรมการบริหารพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพราะมิได้หมายความว่าการบริหารจัดการที่รวดเร็ว ฉับไว จะกระทำการให้ผลประโยชน์ของสาธารณะจะเสียหายอย่างไรก็ได้ ควรต้องมีการตรวจสอบถ่วงดุลเพื่อรักษาไว้ซึ่งความมี“ประสิทธิภาพต่อการบริหารจัดการ” ควรเป็น “สะดวก เข้าใจง่าย เข้าถึง ฉับไว พร้อมตรวจสอบ” เพราะเมื่อเกิดความเสียหายแล้วกระบวนการเยียวยาอาจไม่ทันท่วงทีหรืออาจไม่คุ้มค่าต่อทรัพยากรที่พื้นที่ต้องเสียหายไป From the problems and structural limitations of the development of public administration in the Eastern Special Development Zone Research found Encountered legal problems Problems in public administration and problems with the development of human resource management systems The researcher proposed a suitable government development model in the Eastern Special Development Zone. It can divide the structure that aims to develop appropriate public administration, including area 1, law development. Regulations related to public administration to keep up with the changes in the context of the area appropriately for the national development along with the acceptance and coexistence of the people of the area. The law should be amended in accordance with the way of life of the people in the area, empowering the people in the area to be part of the supervisory committee in the EEC special development zone, and the legal center should not be centralized by the comprehensive committee. Too, because the spatial government agency can not work smoothly, solve the problem in the fault area not quickly Reduce the legal authority of the Eastern Special Development Zone Commission. Increase the power of law by increasing public participation processes. And government agencies in the area because they know the most problems and protect the interests of the province, allowing development in tandem with a coexistence of mutual benefit. "Reduce the central state power Decentralizing the legal power to more people and local authorities to determine the common development direction as the owner of the hometown. As well as increasing the legal power for people to inspect and balance the Eastern Special Development Zone Executive Board It does not mean that the speedy management will harm the public interest in any way. There should be a check and balance in order to maintain “Efficiency for Management” should be “convenient, understandable, accessible, prompt and inspected” because once the damage occurs, the remedial process may not be timely or may not be worthwhile for the damaged resources.References
จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2547). การวิจัยและพัฒนากระบวนการสร้างความดีมีคุณธรรม (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม).
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2543). วาทกรรมการพัฒนา: อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์และความเป็นอื่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิภาษา.
นพดล วิยาภรณ์ และเอกพร รักความสุข. (2562). การบริหารการพัฒนาโครงการพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษศึกษากรณี : พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(2), 95-109.
บุญร่วม เทียมจันทร์. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) พร้อมหัวข้อเรื่องทุกมาตรา ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: The Law Group.
สำนักคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
อาภาพร น่วมถนอม. (2562). การบริหารจัดการเมืองเศรษฐกิจชายแดน: เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดสระแก้ว. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 11(1), 209-230.
Denzin, N. K. (1978). Triangulation: A Case for Methodological Evaluation and Combination. In Sociological Methods. New York: McGraw-Hill.