รูปแบบการพัฒนาขีด สมรรถนะหลักของแรงงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-curve ในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

A Model for Developing Core Competencies of Labour to Meet the Needs of the Target Industries of S-curve in the Smart Electronics Industry in the Eastern Economic Corridor

Authors

  • ไพรินทร์ ทองภาพ
  • สุรัติ สุพิชญางกูร

Keywords:

ขีดสมรรถนะหลัก, อุตสาหกรรมเป้าหมาย S-curve, อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ, เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, Core Competencies, S-curve Industry, Smart Electronics, Eastern Economic Corridor (EEC)

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาขีดสมรรถนะหลักของแรงงานระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่อุตสาหกรรมเป้าหมาย S-curve ในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart electronics) ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกต้องการ โดยใช้การวิจัยแบบเทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) จำนวนทั้งหมด 3 รอบกับ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่คัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) 3 กลุ่ม จำนวน 17 คน ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล หรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในภาคอุตสาหกรรมอย่างน้อย 4 ปีขึ้นไป ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้บริหาร หรือกลุ่มผู้ใช้นักเรียนอาชีวศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและใช้สถิติค่ามัธยฐาน ฐานนิยม ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าความแตกต่างระหว่างค่ามัธยฐานและฐานนิยมตลอดจนทำการเปรียบเทียบความเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 กลุ่ม ด้วยสถิติทดสอบมาช่วยในการตัดสินใจเลือกฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญแล้วยืนยันผลการวิจัยด้วยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ (Focus group) 3 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้ทรง คุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล หรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในภาคอุตสาหกรรม ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นกลุ่มผู้ใช้นักเรียนอาชีวศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นนักวิชาการที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับอาชีวศึกษา จำนวน 9 คน ผลการวิจัยพบว่า ขีดสมรรถนะหลักของแรงงานระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่อุตสาหกรรมเป้าหมาย S-curve ในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart electronics) ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ต้องการขีดสมรถนะหลักด้านความรู้ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ขีดสมรถนะหลักด้านทักษะ ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ และขีดสมรรถนะหลักด้านคุณลักษณะ ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ  This research was to study the core competencies of the Higher Vocational Certificate that were required by the S-curve industries in the Smart Electronics Industry Group in the Eastern Economic Corridor Zone and to find a model for developing core competencies at the Higher Vocational Certificate (Vocational Certificate) to meet the needs of the target industries of S-curve in the smart electronics industry in the Eastern Economic Corridor. Delphi technique was used to conduct the research. Experts responded to 3 rounds of questionnaires. The 3 groups of key informants, selected with purposive sampling amount 17 person, consisted of experts or eminent people with at least 4 years of experiences in human resource management in the industry, experts who were administrators or users of vocational students, and experts involved in the curriculum setting, and teaching and learning in vocational education. Content analysis was then used to analyze the data and the statistics used in the study consisted of median, mode, interquartile range, and the difference between the median and the mode. The opinions of the three groups of experts were compared with statistics test to help decide on the consensus of the experts and the findings were confirmed with 3 expert groups’ focus group discussion. Focus group consisted of experts with experiences in general human resource management or human resource management in the smart electronics industrial sector, experts who were users of vocational students, and qualified scholars who were knowledgeable expertise about vocational education. The total number of participants of focus group was 9 people. The results of the research revealed that the core competencies of the Higher Vocational Certificate, that were required by the S-curve target industries in the Smart electronics industry in the Eastern Economic Corridor, consisted of 8 elements of Knowledge Core Competencies, 10 elements of Skill Core Competencies, and 9 elements of Attributes Core Competencies.

References

กระทรวงแรงงาน. (2560). รายงานการศึกษาวิเคราะห์ฐานข้อมูลแรงงานและประมาณการความต้องการแรงงาน. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์ แอนด์เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.

กีรติ ยศยิ่งยง. (2549). ขีดความสามารถ: Competency based approach. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อปปี้.

เกรียงไกรยศ พันธุ์ไทย. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการ: กุญแจสู่ความสำเร็จ ความเป็น เลิศ. วารสารพัฒนาบริหารศาสตร์, 51(3), 239-257.

เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว. (2561). การศึกษาแนวโน้มความต้องการกำลังคนโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2547). มารู้ จัก Competency กันเถอะ. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

ดนัย เทียนพุฒ. (2542). การจัดการทรัพยากรบุคคล: ภารกิจที่ท้าทาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บุ๊คแบงค์

ธาดา ราชกิจ. (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human resource development: HRD). วันที่ค้นข้อมูล 19 เมษายน 2565, เข้าถึงได้จาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190423-human-resource development

บุญสืบ โพธิ์ศรี และธีรวัฒน์ จันทึก. (2559). การบริหารหลักสูตรเพื่อสร้างคุณลักษณะแรงงานฝีมืออาชีพใน ระดับอาชีวศึกษา. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(1), 1268-1287.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. (2560). สรุปสาระสำคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 -2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี.

พกานต์ ตันติกรพรรณ และศศิวิมล สุขบท. (2559). คุณสมบัติของแรงงานที่สำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษา อาชีวะเอกชนเพื่อตอบสนองความตอ้งการของภาคอุตสาหกรรมเขตพื้นที่ภาคใต้ประเทศไทย. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 7. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

พิทักษ์ วราฤทธิชัย, พรชัย เทพปัญญา และนรินทร์ สังข์รักษา. (2561). สมรรถนะทรัพยากรมนุษย์ด้าน อุตสาหกรรมไฟเบอร์คอมโพสิทที่พึงประสงค์ของประเทศไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Science and Arts), 11(3), 1002-1022.

พัชรา สร้อยสกุล. (2559). การพัฒนาทักษะแห่งศษตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในเขตพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรรณา ยงพิศาลภพ. (2564). อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์. แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564 - 66. วิจัยกรุงศรี. กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงศรีอยุธยา.

สถาบันดำรงราชานุภาพ. (2553). Competency: เครื่องมือในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ: สำนัก งานปลัดกระทรวงมหาดไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนา กำลังคนของประเทศในช่วงการ ปฏิรูปการศึกษา ในทศวรรษที่สอง พ.ศ. 2552 -2561. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2559). โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะด้านบริหารจัดการสำหรับผู้นำ. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซนเตอร์.

Bogner, A., & Menz, M. (2009). The theory-generating expert interview: Epistemological interest, forms of knowledge, interaction. London: Palgrave Macmillan.

Boyatzis, R. E. (1982). The competent manager: A model for effective performance. New York: Wiley.

Brockhoff, K. (1975). The performance of forecasting groups in computer dialogue and face-to-face discussion. In Turoff M. and Linstone H.A. (Eds.), The Delphi method: Techniques and Applications. London: Addison-Wesley.

Chi-Tung Chen. (2010). Exploring an industry-based basic technological competence indicator system of electrical technology for students at technological institute. World transactions on engineering and technology education, 8(4), 542-551.

Flanders, F. B. (1998). Determining curriculum content for nursery/landscape course work. In vocational agriculture for the 2 1st century: A futures study utilizing the Delphi technique. Doctoral dissertation. University of Georgia.

Harrison, R., & Kessels, J. (2004). Human resource development in a knowledge economy: An organization view. New York: Palgrave Macmillan.

Hay Group. (2003). Using competencies to identify high performers: An overview of the basics. Philadelphia: Hay Group, Inc.

Herzing College. (2018). Top 8 skills you need to become an electrician. Retrived May 12, 2022, from http//patinstitute.ca/top-8-skills-youll-need-to-become-an-electrician-is-this-trade-foryou/

Millie, R. (2017). 10Intangible skills that are in demand for electronics engineers. Retrived May 12, 2022, from https://www.electronicsforu.com/resources/career/10-intangible-skills-demandelectronics-engineers

Okoli, C., & Pawlowski. S. D. (2004). The Delphi method as a research tool: An example, design considerations and applications. Information & Management.

Spencer, L. M., & Spencer, S. M. (1993). Competence at work. New York: Wiley.

Weinberger, L. A. (1998). Commonly held theories of human resource development. Human resource development international, 1(1), 75-94.

Yorks, L. (2005). Strategic human resource development. South Western: Thomson Corporation.

Downloads

Published

2023-01-23