การนำนโยบายการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564) ไปปฏิบัติ

The Policy Implementation of the Education Development in Eastern Economic Corridor for 2017-2021

Authors

  • สุภาภรณ์ นฤภัย
  • ไพฑูรย์ โพธิสว่าง

Keywords:

การนำนโยบายไปปฏิบัติ, นโยบายการพัฒนาการศึกษา, พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, The policy implementation, The policy implementation of education development, Eastern Economic Corridor

Abstract

การวิจัยเรื่อง การนำนโยบายการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ไปปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์นโยบายการพัฒนาการศึกษา ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2) เพื่อวิเคราะห์การนำนโยบายไปปฏิบัติ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ และ 4) เพื่อเสนอแนวทางการนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มุ่งเก็บข้อมูลเชิงลึก ซึ่งมี ศึกษาธิการภาค ศึกษาธิการจังหวัด และตัวแทนของหน่วยงานทางการศึกษา 10 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง จำนวน 14 คน เป็นผู้ให้ข้อมูล เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) วิเคราะห์ข้อมูลหาข้อสรุปตามวัตถุประสงค์การวิจัย ผลการวิจัยพบว่า นโยบายการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก เป็นแผนพัฒนาการศึกษาเชิงพื้นที่รองรับการพัฒนามิติทางเศรษฐกิจระยะยาว มีที่มาจากฝ่ายการเมืองที่ต้องการให้เกิดการพัฒนาการศึกษาที่สอดคล้องกับพื้นที่ นโยบายเป็นลักษณะจากบนลงล่าง การนำนโยบายการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกไปปฏิบัติ พบว่า นโยบายมี ความชัดเจนสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ โครงสร้างหน่วยงานไม่เอื้อต่อการดำเนินนโยบาย บุคลากรและงบประมาณไม่เพียงพอต่อการดำเนินนโยบาย มีแผนงานโครงการรองรับ ผู้นำมีความสามารถที่จะจูงใจให้เกิดการทำงานเป็นทีม โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ ปัญหาและอุปสรรคที่พบ คือ ด้านสมรรถนะองค์กร และแผนที่ไม่มีการทบทวนรายปี ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่ ผู้นำ บุคลากร โครงสร้าง และการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น แนวทางการนำนโยบายการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออกไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ ได้แก่ ปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ จัดสรรงบประมาณภายใต้แผนพัฒนาการศึกษา จัดให้มีการทบทวนแผนพัฒนาการศึกษารายปี จัดตั้งศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็น และสร้างกลไกส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน สถานประกอบการ และสถานศึกษาในพื้นที่  The objective of this research was to analyze the policy education development in Eastern Economic Corridor. To analyze the policy implementation of education development in Eastern Economic Corridor. Study the factors affecting the application of the policy implementation of education development in Eastern Economic Corridor and propose a way to the policy implementation of education development in Eastern Economic Corridor. In terms of a qualitative research the key informants are the administrators of the regional provincial Education Offices and Education Offices Consists of the director, deputy director, and the representatives from the 10 Educational agency in Chachoengsao Chonburi Rayong. The sample total is taken from 14 persons. The research instruments were interviewed and content analysis was based on the research objectives. The policy education development in Eastern Economic Corridor is long-term plan it is spatial education development plan to support the development of long-term economic dimensions. It is the need of the political parties to develop education. The policy has a top-Down style. The policy implementation of education development in Eastern Economic Corridor, it was found that the policy was clear and consistent with the national development direction. The agency that adopted the policy there is a structure that is not conducive to policy implementation. Insufficient personnel to perform their duties. And there is no budget to support the implementation of the plan. But the agency is planning to formulate a project plan for supporting the leaders of the educational organization have the ability to motivate great teamwork. With support from related agencies and individuals in participating in various project activities from other government agencies most the study found problems and obstacles. Organizational performance, including personnel, structure and budget and the plans are not reviewed The factors affecting the implementation of the policy implementation of education development in Eastern Economic Corridor were leaders, personnel, structure and receiving support. Guidelines for the successful the policy implementation of education development in Eastern Economic Corridor include the improvement of the structure of the Ministry of Education, recruiting personnel to the full force rate frame. Budget allocation under the educational development plan should provide a review of The policy implementation of education development in Eastern Economic Corridor to be present Establish a center for essential information for the development of education and the creation of mechanisms to promote knowledge and understanding to people in the area Establishments and educational institutions.

References

กฤษณ์ รักชาติเจริญ และคณะ. (2559). ปัจจัยชี้วัดความสำเร็จในการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติสู่การปฏิบัติ. วันที่ค้นข้อมูล 28 สิงหาคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/epaper/ july_dec2016/pdf/ac01.pdf

โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี). (2020). EEC. วันที่ค้นข้อมูล 28 สิงหาคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.eeco.or.th/โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

เนตรร์พัณณา ยาวิราช. (2560). การจัดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์กร. กรุงทพฯ: ทริปเพิ้ลรุ๊ป.

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2560). กลยุทธ์การวางแผนและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

ผู้ชำนาญการด้านการผลิต และพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. (2563, 6 สิงหาคม). สัมภาษณ์.

มยุรี อนุมานราชธน. (2547). นโยบายสาธารณะ: แนวความคิด กระบวนการ และการวิเคราะห์. เชียงใหม่: คนึงนิจการพิมพ์.

วรเดช จันทศร. (2552). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

ไพศาล บรรจุสุวรรณ์. (2558). การนำนโยบายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี. ดุษฎีนิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชานโยบายสาธารณะ, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2550). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์ และอนุรัตน์ อนันธนาธร. (2555). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: เวิลด์เทรด.

สุนทร โคตรบรรเทา. (2560). การบริหารการศึกษาหลักการและทฤษฎี (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพ: ปัญญาชน.

เสาวรักษ์ หงษ์ไทย และไพฑูรย์ โพธิสว่าง. (2561). ภาวะผู้นำที่มีผลต่อประสิทธิผลของงานในตำแหน่งนายก รัฐมนตรีตามเจตคติของประชาชน: กรณีศึกษาพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมคิด บางโม่. (2558). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: จูนพับลิชชิ่ง.

สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2553). พฤติกรรมองค์การ: ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: สำนัก พิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Organisation for Economic Co-operation and Development. (2019). OECD better policies for better lives. Retrieved August 25, 2021, from http://www.oecd.org/education/implementing -education-policies-flyer.pdf

The World Economic Forum. (2016). Retrieved August 26, 2021, from https://www.weforum.org/:http://www.oecd.org/education/ implementing-education-policies-flyer.pdf

Downloads

Published

2023-01-24