การศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี
A Study of the Guidelines for the Development of Transformational Leadership of the Heads of Government Agencies in the Chonburi Provincial Administrative Organization
Keywords:
แนวทางการพัฒนา, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ภาวะผู้นำ, Development approaches, Transformational leadership, LeadershipAbstract
การวิจัยเรื่อง การศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี 2) ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี และ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed-method design) ระหว่างเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) สำหรับวิธีการเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี จำนวน 208 คน สำหรับวิธีการเชิงคุณภาพ นั้นผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากบุคคลที่สำคัญในองค์กรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี รวมทั้งสิ้น 10 คน ดังนี้ 1) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2) ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 3) รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี 4) หัวหน้าสำนักปลัด 5) เลขานุการองค์การบริหารส่วนจังหวัด 6) ผู้อำนวยการกองการท่องเที่ยวและกีฬา 7) หัวหน้าฝ่ายพัฒนาบุคลากร 8) ผู้อำนวยการกองพัสดุและทรัพย์สิน 9) ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม และ 10) ผู้อำนวยการสำนักช่าง ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี โดยรวมนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.74) จากศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ผู้วิจัยสรุป เป็น 2 ปัจจัยหลักได้แก่ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า บุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ที่มีสถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา ส่วนงานที่สังกัด ประเภทบุคลากร และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ลักษณะภาวะผู้นำ พบว่า ลักษณะภาวะผู้นำที่มุ่งเน้นมิติด้านกิจสัมพันธ์ (มุ่งเน้นงาน) มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความสัมพันธ์กันทางบวก และมีระดับความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ และลักษณะภาวะผู้นำที่มุ่งเน้นมิติด้านมิตรสัมพันธ์ (มุ่งเน้นคน) ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีความสัมพันธ์กันทางบวก และมีระดับความสัมพันธ์อยู่ใน ส่วนแนวทางในการพัฒนาลักษณะภาวะผู้นำของหัวหน้าส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี พบว่า ผู้บริหารทุกระดับขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ควรพัฒนาผู้บริหารองค์กรให้เป็นผู้นำในแบบเล่นเป็นทีม สร้างความสมดุลระหว่าง ผู้ปฏิบัติงานและการทำงาน ส่งเสริมภาวะผู้นำที่มุ่งเน้นมีการเข้าถึงจิตใจของผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้บริหารองค์กรควรมีการกำหนดโครงสร้างของการทำงานให้มีความชัดเจน และจากผลการศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนจังหวัด The research of A study of the guidelines for the development of transformational leadership of the heads of government agencies in the Chonburi Provincial Administrative Organization The objectives were to study 1) the transformational leadership of the heads of government agencies in the Chonburi Provincial Administrative Organization; 2) the factors affecting the transformational leadership of the heads of government agencies in the Chonburi Provincial Administrative Organization, and 3) the guidelines for the development of leadership. Changes of the heads of government agencies in the Chonburi Provincial Administrative Organization. This research is integrated research. (Mixed-method design) between quantitative research and qualitative research. For the quantitative method, the sample group used in this study consisted of 208 officers of the Chonburi Provincial Administrative Organization. For the qualitative method, the researcher collected the data by in-depth interviews from key persons in the organization involved in the leadership development of the heads of government agencies in the Chonburi Provincial Administrative Organization, totaling 10 people. as follows 1) Chief Executive of the PAO 2) Chief Administrator of the PAO 3) Deputy Chief Administrator of the PAO 4) Director of the Office of the Chief Administrator of PAO 5) Director of the PAO Council Affairs Division 6) Director of the Tourism and Sports Division 7)Subdivision Chief of Personnel Development 8) Director of the Supplies and Property Division 9) Director of the Social Welfare Division 10) Director of the Public Works Division The results of the study revealed that most of the personnel in the Chonburi Provincial Administrative Organization who answered the questionnaire had opinions on the leadership change of the heads of government agencies in the Chonburi Provincial Administrative Organization. Overall, the mean was at a high level (average = 3.74). From studying the factors affecting the leadership change of the heads of government agencies in the Chonburi Provincial Administrative Organization, the researcher concluded that 2 main factors were 1) personal factors. It was found that personnel in the Chonburi Provincial Administrative Organization with marital status education level Affiliated segments Personnel type and the average monthly income were different. The opinions on the change leadership of the heads of government agencies in the Chonburi Provincial Administrative Organization were significantly different at the .05 level, and 2) the leadership characteristics. It was found that leadership characteristics that focus on the relationship dimension (Work focus) correlated with opinions on leadership change of heads of government agencies in Chonburi Provincial Administrative Organization. It was statistically significant at the .05 level with a positive correlation and has a low level of correlation and leadership characteristics that focus on friendship dimension (people-oriented) were related to opinions on transformational leadership of heads of government agencies in Chonburi Provincial Administrative Organization, statistically significant at the .05 level, there was a positive correlation. and has a high level of correlation. As for the guidelines for developing leadership characteristics of the heads of government agencies in the Chonburi Provincial Administrative Organization, it was found that executives at all levels of the Chonburi Provincial Administrative Organization executives should be developed to be leaders in a team-based manner. create a balance between operator and work Promote focused leadership with access to the minds of subordinates, and corporate executives should have a clear structure of work. and from the results of the study of the guidelines for the development of transformational leadership of the heads of government agencies in the Provincial Administrative Organization.References
กมลพร ศรีประไพ. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนสิงห์สมุทร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2).
กมลวรรณ เภกะนันทน์. (2555). “กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับกลางของโรงเรียน ในเครือคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ในประเทศไทย”, EAU Heritage Journal Social Science and Humanities, 3(2).
กองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น, สกถ. (2562). คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม และการกระทำอัน ต้องห้ามของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด. กรุงเทพฯ: กองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น, สกถ..
กิติพันธ์ รุจิรกุล. (2529). พฤตกรรมผู้นำทางการศึกษา. กรงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
จุฑาทิพย์ สุจริตกุล. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในยุคประเทศไทย 4.0 กรณีศึกษา: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10).
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2557). ภาวะผู้นำร่วมสมัย Contemporary leadership. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
ชุตินันท์ แดงสกล. (2556). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร. ปัญหาพิเศษตามหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธนวิชญ์ เอื้อจำนงค์. (2558). แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มโรงเรียนพบพระวาเล่ย์รวมไทย อำเภอพบพระ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาตาก เขต 2. กำแพงเพชร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ธีระพงษ์ ภูริปาณิก. (2562). การส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐอินโดนีเซียที่มีต่อนักลงทุนไทย. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ, วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิตย์ สัมมาพันธ์. (2549). ภาวะผู้นำพลังขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: อินโนกราฟฟิกส์.
นุชรี กันทะเนตร. (2559). แนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อรองรับการพัฒนาในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2).
พงศ์ หรดาล. (2540). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ยงยุทธ์ เกษสาคร. (2544). ภาวะผู้นําและการจูงใจ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เอสเค บุ๊คเนส.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธิ์.
วิไล วัชฤทธิ์. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. ใน เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์” ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. ระหว่างวันที่ 27-26 จำนาคม 2561.
สมยศ นาวีการ. (2540). การบริหารและพฤติกรรมองค์การเรื่องการจูงใจ: จากแนวความคิดไปสู่การ ประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณกิจ.
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2557). ภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์: แนวคิดและการวิจัย. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมุทร ชำนาญ. (2558). ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้: มุมมองใหม่ของภาวะผู้นำทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมุทร ชำนาญ. (2554). ภาวะผู้นำทางการศึกษา ทฤษฎี และปฏิบัติ. ระยอง: พี.เอส.
สิริรักษ์ นักดนตรี. (2560). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็น ชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 13(3).
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2545). ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ: ส.เอเชียเพรส (1989).
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะผู้นำ ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บุ๊คลิ้งค์.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. (2564). ข้อมูลบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี.
อ้อยฤดี สันทร. (2562). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารเทศบาลนครในเขตจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
อัฉรพันธุ์ คงจันทร์. (2562). ภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารเทศบาลตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 12(2), 107-114.
Bass, B. M. (1981). Stogdill’s Hand Booh of Leadership: A Survey of Theory and Research. New York: The Free Press.
Bass, B. M. (1985). Leadership and performance beyond expectations. New York: The Free Press.
Bass, B. M. & Avolio, B. J. (2004). Multifactor Leadership Questionnaire: Manual Leader form, Rater, and Scoring key for MLQ (Form 5x-Short). Redwood City, CA: Mind Garden.