การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวภายใต้หลักประโยชน์สูงสุดของเด็กในระบบกฎหมายไทย

The Protection of Welfare of the Child Subjected to Domestic Violence Under The Best Interest of The Child Principle in Thailand’s Legal System

Authors

  • ศุภกร ชมศิริ

Keywords:

เด็ก, ประโยชน์สูงสุดของเด็ก, ความรุนแรงในครอบครัว, การฟื้นฟูผู้กระทำผิด, Child, Best Interest of the Child, Domestic Violence, Rehabilitation of the offender

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 ในการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวภายใต้หลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความรุนแรงในครอบครัวโดยให้โอกาสผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวมีโอกาสกลับตัวและป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ ทั้งนี้ตามมาตรา 22 ของกฎหมายได้กำหนดให้มีการดำเนินการในการคุ้มครองสวัสดิภาพเพื่อทำให้คนในครอบครัวปลอดภัย มีความ สัมพันธ์อันดีในครอบครัว อีกทั้งในมาตรา 29 ได้กำหนดให้มีมาตรการที่ใช้สำหรับการยับยั้งความรุนแรงในครอบครัว และให้มีการบำบัดฟื้นฟูอาการเสพติดต่างๆ และมีการ เข้ารับคำปรึกษาทางจิตวิทยาแก่ผู้กระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวไม่ให้ทำผิดซ้ำ อย่างไรก็ดี การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว มาตรา 27 ตามกฎหมายนี้ให้ยึดหลักประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ โดยหลักเกณฑ์การนำหลักการข้างต้นไปใช้ต้องให้ความสำคัญกับเด็กมากที่สุดและให้ความสำคัญกับเด็กเป็นลำดับแรก ในขณะเดียวกันหลักการที่มีเป้าหมายให้เด็กทุกคนรวมทั้งเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวได้รับสิทธิเด็ก ดังนั้น บทความนี้จึงได้ทำการศึกษาใน 4 ประเด็นหลักประกอบด้วย 1. หลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก 2. พัฒนาการเด็ก 3. ความรุนแรงในครอบครัวที่กระทำต่อเด็ก และ 4. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว จากการศึกษาพบว่า การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวภายใต้หลักประโยชน์สูงสุดของเด็กต้องคำนึงถึงสิทธิเด็กก่อนวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ต้องการให้แก้ไขผู้กระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวเพื่อความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว นอกจากนี้ ความเข้าใจว่าเรื่องพัฒนาการเด็กและตัวชี้วัดพัฒนาการเด็กที่เป็นรูปธรรม การจำแนกบุคลในครอบครัวด้วยความสำคัญของบุคคลดังกล่าวต่อพัฒนาการเด็กทำให้การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น  This article aims to study the effectiveness of Promotion of Development and Protection of Family Institution Act, B.E. 2562 (2019) on protecting the welfare of the child subjected to domestic violence under the best interests of child. The purpose of this law is to reduce domestic violence by giving domestic violence offender the opportunity to undergo rehabilitation process to preventing repeat the same offences. In addition, the law suggests that the welfare protections under Article 22 will be taken to keep family members safe and promote a good relationship in the family. Moreover, Article 29 provides external control measures to deterioration of domestic violence and self-control measures for domestic violence offenders to undergo rehabilitation for various addiction symptoms and to receive psychological counseling to restore domestic violence offenders to be mental healthy person. On the other hand, Article 27 of the same law states that protecting the welfare of the subjected to domestic violence must apply the best interests of the child principle thus the paramount consideration and A primacy consideration is adopted when apply the principle. What is more, the rights of the child must be delivered to all children including children subjected to domestic violence. As a result, these four main points are examined: 1. The best interest of the child principle 2. Child development 3. Domestic violence against children and 4. The laws related to protection of welfare of the child subjected to domestic violence in Thailand. The finding of this article suggested protecting children’s welfare subjected to domestic violence under the best interests of the child principle must consider the rights of the child before the objectives of the law which gives domestic violence offender the opportunity to accessing rehabilitation process to preventing repeat the same prohibition. In addition, the understanding of child development including its concrete indicators and classifying different relationship between the child and family members base on necessity to child development will result in increasing effectiveness of the law.

References

ซูซาน ฟอร์เวิร์ด. (2565). มูฟออนชีวิต ถอนพิษพ่อแม่เผด็จการ = Toxic Parents. กรุงเทพฯ: นาฬิกาทราย.

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2560). เลี้ยงลูกให้ได้ดี 1-100 ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: มูฟวี่ส์ แม็ทเทอร์.

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2561). หมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เล่าเรื่องตอน เลี้ยงลูกให้สมองดีด้วย EF 1/40 ตอน. กรุงเทพฯ: บริษัทไอดี ออล ดิจิตอล พริ้นต์ จำกัด.

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2562ก). เลี้ยงลูกให้ได้ดี 1-100 ฉบับสมบูรณ์ (เล่ม 2). กรุงเทพฯ: มูฟวี่ส์ แม็ทเทอร์.

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์.(2562ข). สร้างเด็กภูมิดีด้วย EF. กรุงเทพฯ: แพรวเพื่อนเด็ก อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2563). รู้ไว้บำบัดใจ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถานบันครอบครัว พ.ศ. 2562. (2562, 22 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 67 ก. หน้า 171-190.

มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล. (2562ก). งานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง หลักการคุ้มครองสิทธิเด็กภายใต้หลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก. กรุงเทพฯ: บริษัทโรงพิมพ์เดือนตุลา จำกัด.

มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล. (2562ข). การคุ้มครองสิทธิเด็กภายใต้หลักประโยชน์สูงสุดของเด็กในกฎหมาย ไทย. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 48(4), 621-653.

รินทร์ลภัส ขาวสิทธิวงษ์. (2559). การคุ้มครองเด็กภายใต้หลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก: ศึกษากรณีการแยกเด็กออกจากครอบครัว.วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

วนิดา อินทรอำนวย. (2562). กฎหมายว่าด้วยส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว. วันที่ค้น ข้อมูล 10 สิงหาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/ elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=2394

ศรัณย์ศิริ คัมภิรานนท์. (2563). ความรุนแรงในครอบครัวของสังคมไทย. วันที่ค้นข้อมูล 10 สิงหาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.senate.go.th/document/Ext23112/23112774_0002.PDF

สมภาร พรมทา.(2018). นิติปรัชญา: ความเรียงว่าด้วยกฎหมาย ศีลธรรม และความยุติธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วารสารปัญญา.

Beshir, F. H. (2012). Article 3 of the Convention on the Right of Child: the Best Interest of the Child. UNICEF Innocenti Research Centre. Retrieved August 10, 2022, from https://dppcr.files.wordpress.com/2012/09/best-interest-of-the-child-fatma-beshir-cairo1.pdf

Convention on the Right of the Child (1989).

Cori, J. L. (2017). The emotionally absent mother: how to recognize and heal the invisible effects of childhood emotional neglect.(2nd edition). New York: Experiment.

Declaration of the Rights of the Child (1924).

Jones, D. E., Greenberg, M., & Crowley, M. (2015). Early social-emotional functioning and public Health. The American Journal of Public Health(AJPH), 105(11), 2283-2290.

Weeks, M. (2014). Heads Up Psychology. London: Dorling Kindersley Limited.

Downloads

Published

2023-01-24