การทดแทนการตลาดแบบเผชิญหน้าด้วยการตลาดแบบดิจิทัลของอาชีพผู้แทนขายสินค้าด้านการแพทย์

Replacing Medical Sales Representatives’ Face-to-Face Marketing with Digital Marketing

Authors

  • รพีพรรณ เตชะพัฒน์สกุล
  • มะดาโอะ สุหลง
  • สวรรยา เลขมาศ
  • บรรพต วิรุณราช

Keywords:

การตลาดดิจิทัล, ผู้แทนยา, ความสำเร็จ, Balance Scorecard, Digital Marketing, Medical Sales Representative, Success

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการตลาดดิจิทัลของผู้แทนขายด้านการแพทย์ 2) เพื่อศึกษาความสำเร็จแบบ Balance Scorecard ในอาชีพผู้แทนขายด้านการแพทย์ และ 3) เพื่อศึกษาการตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อความสำเร็จแบบ Balance Scorecard ในอาชีพผู้แทนขายด้านการแพทย์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้แทนขายด้านการแพทย์ที่ดูแลในส่วนของโรงพยาบาลขนาด 120 เตียงขึ้นไป จำนวน 385 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Multiple Regression ผลการศึกษา พบว่า การตลาดดิจิทัลของผู้แทนขายด้านการแพทย์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.19 สำหรับความสำเร็จแบบ Balance Scorecard ในอาชีพผู้แทนขายด้านการแพทย์ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.43 และการตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อความสำเร็จแบบ Balance Scorecard ในอาชีพผู้แทนขายด้านการแพทย์ มี 4 ตัวแปร เรียงลำดับความสำคัญมากไปหาน้อย คือ Line Application ของธนาคาร Mobile Banking และ E-commerce ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถทำนายความสำเร็จแบบ Balance Scorecard ในอาชีพผู้แทนขายด้านการแพทย์ ได้ร้อยละ 38.60  The goals of this research were to: 1) examine the amount of digital marketing used by medical sales representatives; 2) evaluate the effectiveness of the balance scorecard form for the career of medical sales representatives; and 3) evaluate how digital marketing affected the effectiveness of the balance scorecard form for a medical sales representative career. Using online surveys as research tools, the study was quantitative in nature. A total of 385 medical salespeople giving services to a 120-bed hospital or a larger facility made up the sample group. Multiple regression statistics were used in the data analysis. Digital marketing as a whole was very effective. Its average was 4.19. The balance scorecard was the most successful, with a mean of 4.43 for the career of a medical sales representative. In addition, the success of the Balance Scorecard in the professional life of the medical sales representative was influenced by four digital marketing variables. The significance of the factors was sorted from highest to lowest. With statistical significance at the.05 level, the bank's online application, mobile banking, and e-commerce were ranked respectively, and these might predict the career success of the medical sales representative's Balance Scorecard by 38.60 percent.

References

กันต์ฐศิษฎ์ เลิศไพรงาม. (2550). E-mail Marketing: การตลาดด้วยอีเมล์. กรุงเทพฯ: ไอเอ็มบุ๊คส์.

ชมภูนุช แตงอ่อน. (2562). อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ เมษายน 2562. กรุงเทพฯ: หน่วยวิเคราะห์เศรษฐกิจภาคการค้า ธนาคารออมสิน.

ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2539). สถิติพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่2). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

ธีรวัฒน์ หังสพฤกษ์. (2565). วิชาหลักการพื้นฐานระบบสารสนเทศ. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

นรินทร์ตันไพบูลย์. (2564). แนวโน้มธุรกิจอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ปี 2563-2565. วันที่ค้นข้อมูล 20 เมษายน 2565, เข้าถึงได้จาก https://healthserv.net/แนวโน้มธุรกิจอุตสาหกรรม-อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์-ปี-25632565-Krungsri-Research-8004

พสุ เดชะรินทร์. (2546). เส้นทางจากกลยุทธ์สู่การปฏิบัติด้วย Balanced Scorecard และ Key Performance Indicators. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพศาล จันทรังษี. (2561). การจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของสถาบันอุดม ศึกษาเอกชนในประเทศ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(Supplement), 22-36.

รุ่งนภา ปฐมชัยอัมพร และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2556). อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานตามแนวคิด Balance Scorecard (BSC). Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 6(2), 75-85.

สมิธ พิทูรพงศ์. (2560). การใช้แอปพลิเคชันไลน์ในกระบวนการทำงาน: กรณีศึกษา บริษัท สหผลิตภัณฑ์ พาณิชย์ จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิตอล, คณะบริหารธุรกิจ,มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อังค์ริสา แสงจำนงค์. (2565). การแยกแยะข่าวจริงข่าวปลอมและการเกิดรับรู้เชิงปฏิบัติการตามข่าวของกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, 1(1), 54-79.

Asiapac Net Media Limited. (2563). ข้อมูลเชิงลึกการตลาดดิจิทัล. วันที่ค้นข้อมูล 20 เมษายน 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.asiapacdigital.com/th/digital-marketing-insight/thailand-digital-marketing-2020

Norris, A. E., & Aroian, K. J. (2008). Assessing reliability and validity of the arabic language version of the post-traumatic diagnostic scale (PDS) symptom items. Psychiatry research, 160(3), 327-334.

Cochran, W.G. (1953). Sampling techniques. New York: John Wiley & Sons.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory(2nded.). New York: McGraw-Hill.

Wertime, K., & Fenwick, I. (2008). Digi Marketing: The essential guide to new media & digital marketing. New York: John Wiley & Sons.

Downloads

Published

2023-01-24