การพัฒนาระบบบริหารวิสาหกิจเพื่อเสริมสร้างผู้นำธุรกิจระดับชุมชนบนวิถีการท่องเที่ยวโดยชุมชน

Development on Enterprise Management System to Strengthen Community Business Leader on the Way of Community-Based Tourism

Authors

  • ธีระวัฒน์ จันทึก
  • ปวีณา สปิลเลอร์
  • ธีระ กุลสวัสดิ์
  • ธงชัย ทองมา
  • นงลักษณ์ เหรียญทอง
  • สุปราณี เวชประสิทธิ์
  • ปกรณ์ มณีปกรณ์

Keywords:

ระบบบริหาร, วิสาหกิจชุมชน, ผู้นำธุรกิจระดับชุมชน, การท่องเที่ยวชุมชน, Management System, Community Enterprise, Business Leaders, Community-Based Tourism

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของระบบการจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อเสริมสร้างผู้นำธุรกิจชุมชนบนวิถีการท่องเที่ยวโดยชุมชน และพัฒนาแนวทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยมุ่งเน้นโอกาสทางอาชีพ วิธีการศึกษาประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินบริบทและศักยภาพของชุมชน สำหรับระบบการจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อเสริมสร้างผู้นำธุรกิจชุมชนบนวิถีการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2) การประเมินความเป็นไปได้ของระบบการจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ผู้นำธุรกิจชุมชนบนวิถีการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ 3) การพัฒนาระบบบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อเสริมสร้างผู้นำธุรกิจชุมชนบนวิถีการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาความเป็นไปได้ของการพัตนาระบบบริหารวิสาหกิจเพื่อเสริมสร้างผู้นำธุรกิจระดับชุมชนบนวิถีการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยเน้นการสร้างอาชีพ และได้มีการประมาณการรายได้ รายจ่ายที่อาจจะเกิดขึ้น พบว่า อาชีพที่สามารถสร้างรายได้ได้แล้วในปัจจุบันและมีความเป็นไปได้สูง ได้แก่ อาชีพการต้อนรับการศึกษาดูงาน การจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากนมแพะ ได้แก่ โยเกิร์ต นมแพะ และนมแพะพาสเจอร์ไรส์ ความเป็นไปได้ของวิสาหกิจชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนภายใด้กิจกรรมนี้ พบว่ามีความเป็นไปได้สูงหากชุมชนจะดำเนินการจะคืนทุนภายใน 1 เดือน แนวทางการพัฒนาต่อยอดวิสาหกิจชุมชนสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน โดยเน้นการสร้างอาชีพนั้น พบว่า ระบบบริหารจัดการมีความเป็นไปได้สูง เนื่องจากการดำเนินงานนั้นมีการวางแนวทางที่เอื้อต่อวิถีชีวิตในชุมชนและการให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกขั้นตอนอันประกอบด้วย 1) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน 2) การนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติในชุมชน 3) ระบบการเรียนรู้โดยมีภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นแกนกลาง และ 4) การพัฒนาอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อวิถีชีวิตของชุมชน สำหรับระบบและกลไกในการบริหารวิสาหกิจเพื่อเสริมสร้างผู้นำธุรกิจระดับชุมชนบนวิถีการท่องเที่ยวโดยชุมชนในด้านของปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า การเข้าเป็นสมาชิกของวิสาหกิจชุมชน ทางกลุ่มไม่มีการปิดกั้นสมาชิก แต่จะเป็นการเชิญชวนให้เข้าร่วมด้วยความสมัครใจ สำหรับด้านของกระบวนการ (Process) การบริหารจัดการทางการเงิน ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้มีการวางกติกาไว้ว่าจะไม่ปันผลกลับไปเป็นเงิน แต่จะเป็นการปันผลกลับไปเป็นของใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค รวมถึงด้านของผลผลิต (Output) ที่ได้จากการดำเนินงานนั้นพบว่า มีชาวบ้านจำนวน 18 ครัวเรือนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม โดยคิดเป็นร้อยละ 20.93 สำหรับผลลัพธ์ (Outcome) ที่ได้คือ เกิดการต่อยอดวิสาหกิจชุมชน โดยจะมีการทำชุมชนต้นแบบ โดยใช้หมู่บ้านชาวไทยมุสลิมเป็นชุมชนนำร่องและให้เกษตรกรหมู่อื่น ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งวัตถุดิบให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจำหน่าย นอกจากนี้จะมีการทำผลิตภัณฑ์ที่สามารถเก็บไว้ได้นาน เช่น นมอัดเม็ด นมผงสำหรับไว้ชง เป็นต้น  This research aims to investigate the financial feasibility of a community enterprise management system to strengthen community business leader on the way of community-based tourism, and to develop sustainable tourism guidelines with a focus on career opportunities. The methodology of this study consists of three steps: 1) assessing the context and community's potential for community enterprise management system to strengthen community business leader on the way of community-based tourism, 2) evaluating the feasibility of the community enterprise management system to strengthen community business leader on the way of community based tourism, and 3) developing community enterprise management system to strengthen community business leader on the way of community-based tourism using Participatory Action Research (PAR). The results of the feasibility study revealed that community-based tourism has high potential for career opportunities and generating income. Specifically, the study found that visit research receptionists and selling goat milk products such as yogurt and pasteurized milk are careers with high feasibility. The team also found that there is a high possibility for community-based tourism to be profitable and have a payback period of within 10 months. Regarding the guidelines for sustainable tourism, the study found that the community enterprise management system has high potential because the guidelines match the lifestyle of the community and allow for community participation in every stage. This includes participation in community activities, application of the Sufficiency Economy Concept in the community, learning from local wisdom, and development, conservation, and restoration of the ecosystem and environment that are conducive to the community's lifestyle. The Community Enterprise Management System for Thai Muslim Village Tourism has free membership with voluntary invitation. The financial management process is regulated such that there will be no monetary dividends, but rather consumer goods. 18 households (20.93%) participate in community activities. The development of the community enterprise includes developing a prototype community for community-based tourism and allowing agriculturists from other villages to supply raw materials for the community to produce processed products for sale. The community enterprise will also develop into a cooperative village, and the leader predicts that the village will receive more support from organizations.

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2562). คู่มือการดำเนินกิจการวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตร.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). รายงานเศรษฐกิจการท่องเที่ยว. วันที่ค้นข้อมูล 12 ตุลาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th.

จินดาภา ลีนิวา อัจฉรา เขมอัครเจตต์ และเบญจวรรณ เบญจกรณ์. (2564). คุณลักษณะภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อ สมรรถนะการบริหารของผู้นำชุมชนท้องถิ่น กรณีศึกษา เทศบาลตำบลนางแล อำเภอเมืองเชียงรายจังหวัดเชียงราย. HRD JOURNAL, 12(2), 41-57.

จินตวีร์ เกษมศุข. (2554). การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2542). ธุรกิจชุมชน: เส้นทางที่เป็นไปได้. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปก ครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า, วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น.

ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. (2543). กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ประชาคม ประชาสังคม. ขอนแก่น: โครงการจัดตั้งมูลนิธิเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ชมรมนักวิชาการสาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). การมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของประชากรผู้สูงอายุที่มีผลต่อการเสริมสร้างศักยภาพความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชนจังหวัดเพชรบุรี. เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์, 12(2).

ธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). การพัฒนาอาชีพชุมชนตามอัตลักษณ์หมู่บ้านมุสลิมด้วยศูนย์บริหารจัดการบ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และมหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีระวัฒน์ จันทึก, ปวีณา สปิลเลอร์, ปภาวิน พชรโชติสุธี และธงชัย ทองมา. (2565). การพัฒนากลยุทธ์การสร้างแบรนด์ท่องเที่ยวเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 9(2), 54-81.

ปราณี ตันประยูร. (2557). การศึกษาการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและรูปแบบการบริหารจัดการการ ท่องเที่ยวอย่างเป็นธรรม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีตลาดโบราณลาดชะโด อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

พิทักษ์ ศิริวงศ์ และคณะ. (2558). การพัฒนาแนวทางบริหารจัดการชุมชน แบบมีส่วนร่วม เพื่อรองรับการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบมีอัตลักษณ์ในพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านมุสลิม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

พิมพ์วิภา ตราชูวณิช และณัฐพงศ์ พันธ์น้อย. (2565). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวคุณภาพในบริบทประเทศไทย. สาระศาสตร์, 3, 497-508.

รัชนี รูปหล่อ, ดุษฎี พรหมทัต และวัลภา ว่องวิวิธกุล. (2556). แนวทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืนและ เจริญเติบโตของวิสาหกิจชุมชน. ใน วารสารวิชาการและการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ฉบับพิเศษ การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5 (158- 171). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

วรวรรษ เทียมสุวรรณ, วัชรพล วิบูลยศริน, ศิโรจน์ ผลพันธิน และเหม ทองชัย. (2562). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 15(2), 219-231.

วันทนา เนาว์วัน ลำยอง ปลั่งกลาง และชุมพล พืชพันธ์ไพศาล. (2557). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สัมผัสภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา: ผลิตภัณฑ์อาหาร วัฒนธรรมมุสลิม ชุมชนเมืองเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สุดถนอม ตันเจริญ. (2561). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 8(2), 32-41.

Key1, C., & Vijayan, K. P. (2006). Community Participation and Tourism Attitudes in Belize. Interamerican Journal of Environment and Tourism, 2(2), 8-15.

Denzin, N. K. (1978). The research act: a theoretical introduction to sociological methods. New York: McGraw-Hill.

Lincoln, Y. S., & Guba, E. G. (1985). Naturalistic Inquiry. Newbury Park, Ca: Sage Publications.

Macmillan, T. T. (1971). The Delphi Technique., Paper Presented at the annual meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development, Monterey, California. (May 1971), 3-5.

Schoderbek, P. P., & Others. (1990). Management System: Conceptual Consideration (4th ed.). Homewood, IL: Richard D. Irwin, Inc.,.

World Tourism Organization. (2022). Best tourism villages of 2022 named by UNWTO. Retrieved October 17, 2022, from https://www.unwto.org/news/best-tourism-villages-of-2022-named-by-unwto

Downloads

Published

2023-08-08