การศึกษารูปแบบการจัดการกีฬา เพื่อการออกกำลังกายของประชาชนในท้องถิ่น

A Study of Successful Sports Management for Local Communities

Authors

  • พัชรี ดิษฐสอน
  • ชนิสรา แก้วสวรรค์

Keywords:

รูปแบบการจัดการกีฬา, การออกกำลังกาย, ท้องถิ่น, Sports management, Exercise, Local communities

Abstract

วัตถุประสงค์หลักของการวิจัยคือ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการกีฬาเพื่อการออกกำลังกายของประชาชนในท้องถิ่นที่ประสบผลสำเร็จ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จังหวัดที่มีพื้นที่เป็นต้นแบบเมืองกีฬาที่สำคัญ คือ จังหวัดชลบุรี จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดกระบี่ และกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวนทั้งสิ้น 15 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้กำหนดนโยบายด้านกีฬาเพื่อการออกกำลังกาย 2) กลุ่มผู้นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติด้านกีฬาในระดับจังหวัด และ 3) กลุ่มผู้นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และบริหารจัดการกีฬาในท้องถิ่น ผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า มีองค์ประกอบที่เป็นส่วนสำคัญทั้งสิ้น 6 องค์ประกอบ คือ 1) สร้างการมีส่วนร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2) การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 3) การสนับสนุนให้เป็นเมืองกีฬาที่ครบวงจร 4) มีสถานที่ สนามกีฬาที่ได้มาตรฐานสากล 5) การสร้างแรงจูงใจให้กับประชาชน 6) การกระจายอำนาจ ในภารกิจด้านกีฬา นอกจากนี้ หากท้องถิ่นมีการพัฒนากีฬาเพื่อสุขภาพไปสู่กีฬาอาชีพ และเมืองกีฬาในอนาคตได้ครบทั่วประเทศ ถือเป็นช่องทางการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมการกีฬา เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับประเทศได้ แต่ต้องใช้การบูรณาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดดำเนินการ และมุ่งสู่รูปแบบการจัดการกีฬาทุกประเภทอย่างครบวงจร  This study aimed to identify components contributing to successful sports management for local communities. In-depth interviews were used to collect data from15 key informants from 2 model sports cities-Burirum and Krabi- who were recruited using purposive sampling. The selected informants were then divided into 3 group: those involved in making policy on sports for exercise, those responsible for implementing policy on a provincial level, and those charged with implementing policy and sports management on a local community level. The in-depth interviews revealed 6 principal components. They were 1) participation and involvement from all relevant sectors; 2) continued activity organization; 3) encouragement and support for cities to achieve comprehensive sports status; 4) possession of standard sport facilities, 5) motivation of the public, and 6) decentralization of sports managerial tasks. Aside from the aimed successful sports management, further development of sports for health in local communities into professional sports, and sports cities nationwide will promote the sports industry and bring a growing economy to communities at all levels: local, regional and national. All it takes is integration of involvement by all relevant sectors and comprehensive sports management.

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). วิทยาศาสตร์การกีฬากับการประยุกต์ใช้ในชุมชน. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สบส. เปิดสถิติผู้ออกกำลังกายช่วงโควิด 19. วันที่ค้นข้อมูล 14 กรกฎาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/pr-news/biz2u/279372

การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2564ก). แผนยุทธศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2564 - 2570). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2564ข). การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. วันที่ค้นข้อมูล 14 กรกฎาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/CzZaM

ชนัญธิดา สุวรรณศรี และปิยากร หวังมหาพร. (2563). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนใน กระบวนการจัดทาแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตาบลในจังหวัดปทุมธานี. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 13(1), 379-396.

ชีวิน อ่อนละออ, สุชาติ บางวิเศษ, กานนท์ แสนเภา, สุกิจจา จันทะชุม และวัฒนะ นุตทัศน์. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกีฬา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 10(2), 161-169.

บงกช จันทร์สุขวงค์. (2562). รูปแบบการจัดการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศในโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการกีฬา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปทุมพร ศรีอิสาณ. (2560). รูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกายและเล่นกีฬา เพื่อมวลชนในชุมชน เขตเทศบาลนครอุดรธานี ตามยุทธศาสตร์ที่ 2 แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (2555-2559). อุดรธานี: มหาวิทยาลัยแห่งชาติ วิทยาเขตอุดรธานี.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 1-90.

วิภาพร สิทธิศาสตร์ และสุชาดา สวนนุ่ม. (2550). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน เขตความรับผิดชอบของสถานีอนามัยบ้านเสาหิน ตำบลวัดพริก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัด กระ ทรวงสาธารณสุข.

สมยศ นาวีการ. (2547). การบริหาร: การพัฒนาองค์กร และแรงจูงใจ. กรุงเทพฯ: กรุงธนพัฒนา.

สุภัชญา สุนันต๊ะ. (2561). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 4(1), 98-107.

เสรี เพิ่มชาติ, นงลักษณ์ เพิ่มชาติ และศุภกิจ จงศักดิ์สวัสดิ์. (2560). แนวทางการพัฒนาการจัดการวิ่งเพื่อสุขภาพเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ในเขตภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Michael, B. E., & Katie, R. (2019). Managing sport for health an introduction to the special issue. Sport Management Review, 22(1), 1-4.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parson, M. A. (2002). Health Promotion in Nursing Practice. (4th ed.). Upper Saddle River, N.J.: Prentia Hall.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch, 2(2), 49-60.

Sandra, A. F., Eric, S. M. R., Thomas, G., & Sergio, M. (2020). Benefits of physical activity and physical exercise in the time of pandemic. Psychological Trauma Theory Research Practice and Policy, 12(1), 264-266.

Downloads

Published

2023-08-08