ปัญหา ข้อจำกัด และแนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลขนาดใหญ่ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมภาคตะวันออกของประเทศไทย

The Problem, Limitation and Development Guidelines of Solid Waste Management of Large Municipalities in Industrial Areas in the Eastern Region of Thailand

Authors

  • ภูษิต แจ่มศรี
  • อนุรัตน์ อนันทนาธร

Keywords:

ปัญหาและข้อจำกัด, แนวทางในการจัดการขยะมูลฝอย, เทศบาลขนาดใหญ่, เขตพื้นที่อุตสาหกรรม, Problems and limitations of solid waste management, Solid waste management, Large municipalities in industrial areas

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัญหาและข้อจำกัด และ 2) แนวทางการพัฒนาในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลขนาดใหญ่ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมภาคตะวันออกของประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่บุคลากรภาครัฐ ผู้บริหารหรือตัวแทนข้าราชการประจำของหน่วยงานภาครัฐส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ ตัวแทนประชาชน องค์กรภาคประชาสังคม และนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะ จำนวน 19 คน มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาข้อมูลในปรากฏการณ์ หรือรูปธรรม และวิเคราะห์ตีความข้อมูลแบบสามเส้าระเบียบวิธีวิทยา ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาและข้อจำกัดของการจัดการขยะมูลฝอยมี 7 ปัญหาสำคัญ ได้แก่ 1) ด้านรูปแบบการจัดการ 2) ความชัดเจนของนโยบายแผนชาติและยุทธศาสตร์ยากต่อการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ 3) ด้านทรัพยากรทางการบริหาร 4) ด้านจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมของประชาชน 5) การตอบรับของสังคม 6) ด้านกฎหมายและกฎระเบียบ และ 7) ทางการเมือง และ 2. แนวทางในการพัฒนาในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลขนาดใหญ่ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมภาคตะวันออกของประเทศไทย มี 4 ประเด็น ได้แก่ การยกระดับนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการขยะมูลฝอย การพัฒนาความพร้อมของทรัพยากรทางการบริหารจัดการ สร้างความตระหนักคิดและการบูรณาการการทำงานอย่างส่วนร่วม และพัฒนาและปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการ และกฎหมาย  The aim for this research was:1) To study problems and limitations and 2) To study development guidelines for solid waste management of large municipalities in industrial areas in the eastern region of Thailand. This study was a qualitative research by collecting data from document and in-depth interviews. The Key Informant of research were 19 Executives or representatives of government officials from provincial and local government who involved in waste management, People's Representative civil society organization. The instrument used in this study was a semi-structured interview. The data analysis composed of describing the data in phenomena or concrete and analyzing the data in a methodological triangle. The results of study were that: 1. There are 7 major problems and limitations of solid waste management, namely 1) problems in management style 2) problems on the clarity of policies, national plans, strategies that are difficult to implement policies 3) limitations on administrative resources 4) constraints on public consciousness and participation; 5) social response problems; 6) laws and regulations; and 7) political problems. And 2. The development guidelines for solid waste management of large municipalities in industrial areas in the eastern region of Thailand consist of 4 issues: Approach 1: Upgrading innovation and technology in solid waste management; Approach 2: Developing readiness of administrative resources. Approach 3: Create awareness and integration of co-operative work, and Approach 4: Develop and improve the Strategic Plan. Management and Law.

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2562). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561. วันที่ค้นข้อมูล 16 เมษายน พ.ศ. 2562, เข้าถึงได้จาก https://www.pcd.go.th/publication/ 4175/

กรมควบคุมมลพิษ. (2561). รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย.

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2565). ข้อมูลโรงงานในเขตการนิคมแห่งประเทศไทย.(ออนไลน์). วันที่ค้นข้อมูล 16 กันยายน พ.ศ. 2564, เข้าถึงได้จาก http://userdb.diw.go.th/ factory/ieat.asp

ณิชชา บูรณสิงห์. (2558). การบริหารจัดการขยะ: กรณีจังหวัดสงขลาและกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ กับ SDGs. วันที่ค้นข้อมูล 16เมษายน พ.ศ. 2562, เข้าถึงได้จาก https://sdgs.nesdc.go.th/ยุทธศาสตร์ชาติ กับ SDGs

อนิณ อรุณเรืองสวัสดิ์. (2558). ขยะกำลังจะล้นโลก (ตอนที่ 1). จุลสารจับกระแสเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy Watch), 1(1), 2558.

Denhardt, R. B., & Denhardt, V. J. (2007). The New Public Service: Serving, Not Steering. NewYork: M.E. Sharpe, Inc.

Denhardt, R. B., & Denhardt, V. J. (2000). The New Public Service: Serving Rather than Steering. Public Administration Review, 6(60), 549-559.

Hoornweg, D., & Bhada-Tata, P. (2012). What a Waste: A Global Review of Solid Waste Management. Urban development series; knowledge papers no. 15., Washington, DC: World Bank.

Osborne, D., & Gaebler, T. (1992). Reinventing Government New York, NY. Journal of Leisure Research, 27(3), 302-304.

Downloads

Published

2023-08-08