กลยุทธ์การบริหารจัดการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาให้คงสภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินและรับรองคุณภาพสถานศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก

A Strategic Management of Songkhla Vocational College for Sustainable in Accordance with Standard Criteria of Asia Pacific Accreditation and Certification Commission (APACC)

Authors

  • มนัสฌาน์ ชูเชิด

Keywords:

กลยุทธ์, การบริหารจัดการ, การคงสภาพ, Strategic, Management, Sustainable

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การบริหารจัดการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาให้คงสภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินและรับรองคุณภาพสถานศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก 2) เพื่อสร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาให้คงสภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน การประเมินและรับรองคุณภาพสถานศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาให้คงสภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินและรับรองคุณภาพสถานศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก 4) เพื่อจัดทำคู่มือการใช้กลยุทธ์และดำเนินการตามคู่มือการใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาให้คงสภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน การประเมินและรับรองคุณภาพสถานศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก และ 5) เพื่อประเมินกลยุทธ์การบริหารจัดการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาให้คงสภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินและรับรองคุณภาพสถานศึกษาด้านการอาชีวศึกษา ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการประเมินและรับรอง คุณภาพสถานศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก จำนวน 15 คน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 11 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครูผู้สอน จำนวน 88 คน และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามปลายปิด (แบบมาตรประมาณค่า) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) กลยุทธ์การบริหารจัดการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาให้คงสภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินและรับรองคุณภาพสถานศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ประกอบด้วย 6 ด้าน 2) การสร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาให้คงสภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินและรับรองคุณภาพสถานศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 จำนวน 4 ด้าน และมีค่าดัชนี ความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.93 จำนวน 1 ด้าน และเท่ากับ 0.87 จำนวน 1 ด้าน 3) การพัฒนากลยุทธ์ การบริหารจัดการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาให้คงสภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินและรับรอง คุณภาพสถานศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 ทุกด้าน 4) การจัดทำคู่มือการใช้กลยุทธ์และดำเนินการตามคู่มือการใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาให้คงสภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินและรับรองคุณภาพสถานศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 ทุกด้าน และ 5) ความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อ การใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาให้คงสภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินและรับรองคุณภาพสถานศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก  The purposes of this research were 1) to study a strategic management of Songkhla Vocational College for sustainable in accordance with standard criteria of Asia Pacific Accreditation and Certification Commission (APACC) 2) to create a strategic management of Songkhla Vocational College for sustainable in accordance with standard criteria of Asia Pacific Accreditation and Certification Commission (APACC) 3) to develop a strategic management of Songkhla Vocational College for sustainable in accordance with standard criteria of Asia Pacific Accreditation and Certification Commission (APACC) 4) to prepare a strategic manual and to execute in accordance with a strategic management manual of Songkhla Vocational College for sustainable in accordance with standard criteria of Asia Pacific Accreditation and Certification Commission (APACC) and 5) to assess a strategic management of Songkhla Vocational College for sustainable in accordance with standard criteria of Asia Pacific Accreditation and Certification Commission (APACC). Sample of the research were 15 specialists of educational quality assurance in accordance with standard criteria of Asia Pacific Accreditation and Certification Commission (APACC), 11 experts of educational quality assurance, 4 executives and 88 teachers and 18 educational personnel. The research instruments were documentary analysis form, focus group form, questionnaire, interview form and closed-ended questionnaire (rating scale). The statistics used for analysis were Index of item-Objective Congruence (IOC), percentage, mean and standard deviation. The research results found that 1. A strategic management of Songkhla Vocational College for sustainable in accordance with standard criteria of Asia Pacific Accreditation and Certification Commission (APACC) consists of 6 aspects. 2. The creation of strategic management of Songkhla Vocational College for sustainable in accordance with standard criteria of Asia Pacific Accreditation and Certification Commission (APACC) have an Index of item-Objective Congruence (IOC) at 1.00 for 4 aspects, at 0.93 for 1 aspect and at 0.87 for 1 aspect. 3. The development of strategic management of Songkhla Vocational College for sustainable in accordance with standard criteria of Asia Pacific Accreditation and Certification Commission (APACC) have an Index of item-Objective Congruence (IOC) at 1.00 for all aspects. 4. The preparation of strategic manual and the execution in accordance with a strategic management manual of Songkhla Vocational College for sustainable in accordance with standard criteria of Asia Pacific Accreditation and Certification Commission (APACC) have an Index of item-Objective Congruence (IOC) at 1.00 for all aspects. 5. The satisfaction of executives, teachers and educational personnels towards a strategic management of Songkhla Vocational College for sustainable in accordance with standard criteria of Asia Pacific Accreditation and Certification Commission (APACC) of the overall was at a high level.

References

กันยารัตน์ จันทร์สว่าง และสุภาวดี พรหมบุตร (2562). ทุนมนุษย์กับการเปลี่ยนแปลง: กระบวนทัศน์ใหม่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารวิทยาการจัดการ, 6(2), 209-222.

กัมปนาท ศรีเชื้อ, สานิตย์ โลหะ, เบ็ญจมาศ มณเทียร, มณฑารพ กาศเกษม, เจนพนธ์ จันทร์เชื้อ, กัลยา สุรีย์, และ บูรชาติ ศิริเป็ง. (2561). การบริหารจัดการโรงเรียนสุขภาวะโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2556). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพ. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ท.

จิราภรณ์ จันทา, ธิดารัตน์ จันทะหิน และจิณณวัตร ปะโคทัง. (2564). กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 9(5), 1964-1980.

จันทร เพชรบูรณ์. (2556). กลยุทธ์การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากําแพงเพชร เขต 1 และเขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(1), 70-80.

จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. นนทบุรี: บุ๊คพอยท์.

จันทิมา บุญอนันต์วงศ์. (2561). รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ชลธิชา ร่มโพธิ์รี. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์กับการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฏฐ์ธนัน ระวิพงษ์. (2557). กลยุทธ์การบริหารการคงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร.

นรเศรษฐ์ ชุมวงศ์. (2563). รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์โรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชพฤกษ์, 6(3), 91-108.

ประชุม รอดประเสริฐ. (2547). นโยบายและการวางแผน: หลักการและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.ปียานันท์ บุญธิมา. (2561). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนวัดห้วยม้าโก้งด้วยแนวคิดแบบไคเซ็น, วันที่ค้นข้อมูล 12 ธันวาคม 2565, เข้าถึงได้จาก http://www. ska2.go.th/reis/data/ research/25620912_103243_7886.pdf

วันทิตา โพธิสาร, สมคิด สร้อยน้ำ และเรวณี ชัยเขาวรัตน์. (2563). การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาสู่ความเป็นเลิศ : การศึกษาทฤษฎีฐานราก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 14(1), 127-138.

ศิริลักษณ์ ทิพม่อม. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารราชพฤกษ์, (3), 72-79.

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2543). กลยุทธ์การแข่งขันของธุรกิจ. กรุงเทพฯ : มติชน.

เสนาะ ติเยาว์. (2546). การบริหารกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2559). คู่มือการประเมินและรับรองคุณภาพสถานศึกษาด้านการอาชีวศึกษา ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2547). การบริหารเชิงกลยุทธ์แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

สุภาภรณ์ มั่นเกตุวิทย์. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนที่จัดการศึกษาร่วมกัน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุรัสวดี จินดาเนตร. (2553). การพัฒนาคู่มือการสอนโครงงานคณิตศาสตร์สำหรับครูในช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Fayol, H. (1949). General and industrial administration. London: Sir lsaac Pitman & Sons.

Martinez, M., & Wolverton, M. (2009). Innovative Strategy Making in Higher Education. Charlotte, North Carolina: Information Age Publishing.

Downloads

Published

2023-08-08