ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับบรรยากาศองค์การของเทศบาลนครในจังหวัดชลบุรี

Relationship Between Leadership of Administrators and Organization Climate of City Municipalities Officers in Chonburi Province

Authors

  • ธัญพิชชา สามารถ

Keywords:

ภาวะผู้นำ, บรรยากาศองค์การ, เทศบาลนคร, Leadership, Organization Climate, City Municipality

Abstract

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารของเทศบาลนคร 2) ศึกษาบรรยากาศองค์การของเทศบาลนคร และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับบรรยากาศองค์การในเทศบาลนคร ในจังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในเทศบาลนครในจังหวัดชลบุรี 2 แห่ง คือ เทศบาลนครแหลมฉบัง และเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ จำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรวัด 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมากทั้งหมด โดยด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และด้านการกระตุ้นทางปัญญา เรียงตามลำดับ และ 2) บรรยากาศองค์การในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมากทั้งหมด โดยด้านการให้ความอบอุ่นและการสนับสนุน ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และด้านการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เรียงตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับบรรยากาศองค์การในเทศบาลนคร ในจังหวัดชลบุรี อยู่ในระดับปานกลาง (r = .615) ที่ระดับนัยสำคัญ .01 โดยคู่ที่มีความสัมพันธ์สูงสุดคือ ภาวะผู้นำด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลกับบรรยากาศองค์การด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (r = .778) รองลงมาคือ ภาวะผู้นำด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลกับบรรยากาศองค์การด้านการให้ความอบอุ่น (r = .586) และการสนับสนุน และภาวะผู้นำด้านการกระตุ้นทางปัญญากับบรรยากาศองค์การด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (r= .560)  The objectives of the research are 1) to study leadership of the executive administrators, 2) to examine the organizational climate in the city municipality offices, and 3) to investigate the relationship between leadership and the organizational climate in the city municipality offices in Chonburi. This study is a quantitative research. The population and sample group consisted of 330 officers working in 2 city municipality offices in Chonburi province, which are Laem Chabang city municipality office and Chaopraya Surasak city municipality office. The research instrument was a 5-level scale questionnaire. The data were analyzed by descriptive statistics with statistic values, numbers, percentage, mean and standard deviation statistical values. The hypothesis was tested by Pearson's correlation statistics. The research results showed that 1) the overall leadership is ranged in the high level, and each aspect is entirely ranged in the high level including ideological influence aspect, Inspiration creating aspect, individuality consideration aspect, and cognitive stimulation respectively; 2) the overall organizational climate is ranged at the high level, and each aspect is all ranged at the high level including warmth giving and support aspect, decision-making participation aspect, and the building of mutual trust aspect respectively; 3) there is a moderate relationship between leadership and the organizational climate in the city municipality offices in Chonburi (r = .615) at .01 significance value. The most closely related pair was leadership in individuality consideration and organizational climate in decision-making participation (r = .778), followed by leadership in individuality consideration and organizational climate in warmth giving and support (r = .586), and leadership in cognitive stimulation and organizational climate in decision-making participation (r = .560).

References

ชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ตาก: บริษัทโพรเจ็คท์ ไฟฟ์-โฟว์ จำกัด.

ภาสกร ภักดิ์ศรีแพง. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับบรรยากาศองค์การของโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสัฆมณฑลจันทบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2545). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง. วารสารการบริหารคน, 23(2), 98-102.

วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภมาศ นุ้ยเล็ก. (2547). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับบรรยากาศองค์การ ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่นนทบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการทั่วไป), มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

สร้อยตระกูล (ติวานนท์) อรรถมานะ. (2541). พฤติกรรมองค์การ: ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุมาลัย หงษา. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับบรรยากาศองค์การของโรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2552). ภาวะผู้นำ. ประมวลสาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 5-8 (พิมพ์ครั้งที่ 9). นนทบุรี: มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Gibson, J. L., Ivancevich, J. M., & Donnelly, J. H. (2000). Organization: Behavior Structure Process (10th ed). Boston: McGraw-Hill.

Hinkle, D. E. (1998). Applied Statistics for the Behavioral Science. Boston: Houghton Mifflin.

Litwin, G., & Stringer, R. (1968). Motivation and Organizational Climate. Massachusetts: Harvard University Press.

Stringer, R. A. (2002). Leadership and organizational climate. Upper Saddle River: Prentice Hall.

Yamane, T. (1967). Statics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

Published

2023-08-08