แนวทางการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐภายใต้กรอบของกฎหมาย ศึกษากรณี มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

The Guidelines of the Government Officials Discretion within the Framework of Law: The Case Study of the Entrepreneurs Assistance Measures in the Epidemic Situation of the Coronavirus Disease 2019

Authors

  • กาญจณา สุขาบูรณ์

Keywords:

ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่, ผู้ประกอบการ, การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, Government Officials Discretion, The Entrepreneurs, The Epidemic of the Coronavirus Disease 2019

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษามาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ (2) ศึกษาปัญหาการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ และ (3) เสนอแนวทางการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐภายใต้กรอบของกฎหมายตามมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการวิจัยเอกสารเป็นหลัก ทั้งนี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการเพื่อการบริหารจัดการด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคม ประกาศเคอร์ฟิว ภายใต้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จากสถานการณ์แพร่ระบาดเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการและกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ได้รับผลกระทบทุกภาคส่วน รัฐบาลได้กำหนดมาตรการเยียวยา เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนออกมาเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ มาตรการพักต้นเงินลดดอกเบี้ยและขยายระยะเวลาชำระหนี้ โครงการเราชนะ โครงการ ม.33 เรารักกัน มาตรการกำหนดอัตราค่าปรับตาม พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 เป็นต้น ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การปรับใช้มาตรการต่าง ๆ ยังคงประสบปัญหา เนื่องจากพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นกฎหมายรักษาความมั่นคงของรัฐแต่ถูกหยิบยกมาใช้บังคับกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อที่เป็นภัยด้านสาธารณสุข ส่งผลให้เกิดความไม่ชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมาย อีกทั้งยังมีบทบัญญัติยกเว้นอำนาจการพิจารณาคดีของศาลปกครอง ส่งผลให้ศาลไม่สามารถเข้าควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายบริหารได้ รวมถึงปัญหาการไม่ใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเนื่องมาจากขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้ดุลพินิจ ความล่าช้าในการใช้อำนาจดุลพินิจเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ ทั้ง ๆ ที่มีกฎหมายได้กำหนดให้อำนาจไว้ ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางให้รัฐได้ทบทวนมาตรการ เมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เสนอการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายอื่นที่จะนำมาใช้เมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อ แยกระบบกลไกการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขออกจากระบบสถานการณ์ฉุกเฉินที่เป็นเรื่องความมั่นคงของชาติให้ชัดเจนและยกระดับความสำคัญการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนและภาคธุรกิจให้มากขึ้น รวมทั้งต้องมีการวางแผนรองรับในระยะยาว เพื่อกำหนดมาตรการเยียวยาให้ครอบคลุมธุรกิจต่าง ๆ ที่ต้องปิดกิจการอันเนื่องมาจากมาตรการปิดเมือง  The purpose of this research was (1) to study the Entrepreneurs Assistance Measures.; (2) to study the problem of the Government Officials Discretion.; and (3) to offer the guidelines for the Government Officials Discretion within framework of law according to the Entrepreneurs Assistance Measures in the Epidemic Situation of the Coronavirus Disease 2019. This is documentary research. From this situation, the government has issued the measures for public health management, economy and society. A curfew has been announced under the Royal Decree on Public Administration in Emergency Situations B.E. 2548. From the spread of the virus, the entrepreneurs and various business groups are affected in all sectors. The government has imposed remedial measures in order to alleviate suffering from time to time continuously such as; the low-interest credit measures, the suspending on principal debt with reduce interest rates and extending the repayment period measures, the Rao-Chana Project, the section 33: We Love Each Other project and the measures of determine fine rates according to the Government Procurement and Supplies Management Act, B.E. 2560, etc. The research results found that the implements in various measures to remedy the situation still encounter the problem of adoption. Due to conduct of the Emergency Decree on Public Administration in Emergency Situations B.E. 2548, which is the law on maintaining state security but used to apply with the epidemic of communicable diseases situation, which is the public health threat. This Law was not set up to solve the problems of contagious diseases. These was not only cause to effect in unclear law enforcement of the authorities, but also contained the provisions excluding the jurisdiction of the Administrative Court. As a result, the Administrative Court was unable to control and inspect the exercise of the executive's discretion. For including problems, the authorities were not using the discretion due to lack of knowledge and understanding in discretion. Furthermore, as the reason at delay in exercising discretionary powers for assisting entrepreneurs despite that empowered by law. The researcher has recommendations that the Government should be reviewed the measures if there are infectious disease outbreak situation that will occur in the future.; Propose to amend the other laws that will be applied when the epidemic situation of a communicable disease occurs.; Separate the public health emergency management mechanism from the normal national security emergency system in clearly.; Raise the importance of mitigating impacts that damage on people and businesses. Besides this, the Government should plan for long-term support in order to formulate remedial measures to cover various businesses that must be closed their business due to the lockdown measures.

References

กนกวรา พวงประยงค์. (2564). สถานการณ์ผลกระทบความต้องการช่วยเหลือการปรับตัวของคนวัยทำงานในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19: การศึกษาเชิงประจักษ์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 35(1).

กรกนก จิรสถิตพรพงศ์. (2564). ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อหลักการบริหารกิจการบ้านเมือง และสังคมที่ดีของรัฐบาล กรณีศึกษาสถานการณ์ COVID-19. วารสารธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 40(3), 93-113.

จิดาภา ธัญญรัตนวานิช. (2565). การปรับตัวของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(3), 296-310.

ทำเนียบรัฐบาล. (2564). ชี้แจงประเด็นข้อวิจารณ์มาตรการเยียวยาของรัฐแก้ปัญหาไม่ตรงจุด และข้อเรียกร้องให้ช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19. วันที่ค้นข้อมูล 1 สิงหาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/ministry_details/41585

นุสรา เทิงวิเศษ. (2564). ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ต่อธุรกิจขนส่งสินค้าในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตาก. วันที่ค้นข้อมูล 1 สิงหาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://maesot.kpru.ac.th /wp-content/uploads/2021/03

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539. (2539, 27 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 113 ตอนที่ 60 ก.

พระราชบัญญัติหนี้สาธารณะ 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. (2548, 31 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 112ตอนที่ 12 ก.

พัชรี โพธิหัง. (2550). ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครที่ส่งผลต่อชุมชนตำบลดอนหัวฬ่อ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภูมิพิชญ์ ยาสิทธิ์ และคณะ. (2563). พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563. กลุ่มงานบริหารวิชาการ 2. สำนักวิชาการ.

โภคิน พลกุล. (2546). หลักกฎหมายปกครองไทย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2544). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหน่วยที่ 1-7นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ราชกิจจานุเบกษา. (2564). การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ.2548 (ฉบับที่ 22). ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด.

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2532). การควบคุมการใช้ดุลพินิจทางปกครองโดยองค์กรตุลาการ. วารสารกฎหมายปกครอง เล่มที่ 8. 37-38.

สำนักข่าวอินโฟเควสท์. (2564). ครม.อนุมัติปรับแผนบริหารหนี้สาธารณะปีงบ 2564 เพิ่มวงเงิน 7.4 หมื่นลบ. วันที่ค้นข้อมูล 1 สิงหาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.infoquest.co.th/2021/67470

อัจฉรา แสนบุตรดี และบุฏกา ปัณฑุรอัมพร. (2563). ปัจจัยมาตรการดำเนินงานของรัฐบาลไทยในสถานการณ์ COVID-19 ที่มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วันที่ค้นข้อมูล 1 สิงหาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin-9/6214154051.pdf

Coibion, O., Gorodnichenko, Y., & Weber, M. (2020). Labor Markets During the COVID-19 Crisis: A Preliminary View. NBER Working Paper. No. 27017.

Milieu Insight. (2021). ความคิดเห็นและพฤติกรรมของคนไทยหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศ. วันที่ค้นข้อมูล 1 สิงหาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https:/mili.eu/th/insights-th/th-covid19-thailand-y2021.

Downloads

Published

2024-01-26