เปรียบเทียบประสิทธิภาพการได้รับบริการสื่อสารด้วยระบบออนไลน์ของบุคลากร สายสนับสนุนวิชาการกับนักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

Comparison of the Efficiency of Non-Academic Staff’s Online Communication Services with Respect to Undergraduate Level Case study: Prince of Songkla University, Hatyai Campus

Authors

  • บรรพต วิรุณราช
  • อรรถพร หวังพูนทรัพย์
  • ปฏิพัทธ์ ปลอดทอง
  • รพีพรรณ เตชะพัฒน์สกุล

Keywords:

ประสิทธิภาพการให้บริการสื่อสารออนไลน์, สายสนับสนุนวิชาการ, ระดับปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, Efficiency of online communication services, Non-academic staff, Undergraduate level, Prince of Songkla University

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการได้รับบริการด้วยการสื่อสารผ่านระบบออนไลน์ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในด้านการบริการต่าง ๆ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรมีจำนวน 20,353 คน โดยเป็นการสุ่มตัวอย่างตามสูตรของ   ทาโร่ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 393 คน วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ การทดสอบค่าที (t-test) ด้วยการวิเคราะห์แบบเปรียบเทียบรวมกลุ่ม (Independent Sample t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพที่กลุ่มตัวอย่างได้รับบริการการสื่อสารผ่านระบบออนไลน์จากบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการอยู่ในระดับมาก และผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศแตกต่างกัน การได้รับบริการผ่านระบบออนไลน์ไม่แตกต่างกัน และระดับชั้นปีที่ 1 ได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพมากกว่าระดับชั้นปีที่ 3 ส่วนปีอื่น ๆ  ไม่แตกต่างกัน และการวิจัยครั้งนี้ มีผลต่อการปรับปรุงการบริการนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น  The goal of this study was to examine the efficiency of the system of various online communication services offered by non-academic staff at the Prince of Songkla University's Hat Yai Campus. The study was quantitative research. The population was 20,353 undergraduates. Taro Yamane's formula was used for random sampling. The sample size was 393 students. For the analysis of statistical data, t-tests, independent sample t-tests, and F-tests were used. The sample group thought that the efficiency of online communication services was very high. From the hypothesis testing, it was found that undergraduates of different genders had no difference in receiving online services. The first-year students perceived that they received more efficient services than the third-year students. In other years, students found no differences in the online services they received. This research is beneficial for improving student services to be more efficient.

References

กองนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผน สำนักอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2564). รายงานสรุปผลการปฏิบัติงานประจำปี พ.ศ. 2563 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

กุลฉัตร กิ้มซ้าย. (2563). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกระบวนการปฏิบัติงานด้านการให้บริการของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

งานกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2565). คำสั่งมอบหมายงาน. สงขลา: มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์

จิตรกันยา ปิมปา. (2563). ประสิทธิภาพการให้บริการกองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 6(6), 213-226.

จุฑามาศ ศตสุข. (2564). นโยบายให้มีการเรียนแบบผสม (Hybrid) ผ่านออนไลน์จากแพลตฟอร์มต่าง ๆ. วันที่ค้นข้อมูล 24 สิงหาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://reg.psu.ac.th/reg/News/regist-2-3-2564.pdf

ฐนกร เขียวสง่า, อิทธิ คำมี, สุนันทา ทับทิมทอง และสุจิตรา ชูหน้า. (2565). ความพึงพอใจในการใช้บริการโรงอาหารของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนพิบูลสงคราม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (หน้า 508-515). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ติน ปรัชญพฤทธิ์ และไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์. (2537). การประเมินการใช้เวลาของนักบริหารในราชการพลเรือน. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิพนธ์ เรืองหิรัญวนิช, วรรณี เนียมหอม และสันติ ศรีสวนแตง. (2560). คุณภาพการให้บริการของกองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปกร. Veridian E-Journal, 10(2), 2677-2689.

นิวัติ แก้วประดับ. (2563). กองบริหารทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วันที่ค้นข้อมูล 24 สิงหาคม 2565, เข้าถึงได้จาก http://www.personnel.psu.ac.th/com/com_461.pdf

เบญญาภา เมธาวราพร. (2565). ศึกษาแนวทางการพัฒนาความพึงพอใจ สื่อสังคมออนไลน์ ในการคุ้มครองผู้บริโภคในความเห็นของเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค. วารสารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, 1(2), 40-58.

พัชรนินทร์ ธนทรัพย์บุรโชติ และศศิธร สำราญจิต. (2559). การวิเคราะห์กระบวนการเก็บข้อมูลด้านวิจัย กรณีศึกษาคฯทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. Mahidol R2R e-Journal, 3(2), 56-69.

ไพโรจน์ เสาน่วม. (2564). 15 พฤติกรรม “ชีวิตวิถีใหม่” อยู่ร่วมกับโควิด-19. กรุงเทพฯ: กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

ภาวิณี ทองแย้ม. (2560). ความสำคัญของคุณภาพการบริการต่อความสำเร็จธุรกิจ. วารสารเกษมบัณฑิต, 18(1), 219-232.

สมศักดิ์ คงเที่ยง. (2542). การบริหารบุคลากรและการพัฒนาทัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

โสพิชา เถกิงเกียรติ และชยาพล ชมชัยยา. (2566). ช่องทางการรับรู้ของคนไทยต่อการจัดแสดง Soft Power ของรัฐบาล ในการประชุม APEC 2022, วารสารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, 2(1), 15-42.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). ETDA เผยมูลค่า e-Commerce ไทย ปี 62 คาดพุ่ง 4.02 ล้านล้านบาท. วันที่ค้นข้อมูล 24 สิงหาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.etda.or.th/th/https/www-etda-or-th/th/newsevents/pr/Value-of-e-Commerce-Survey-in-Thailand-2019.aspx

อภิญญ์พัทร์ กุสิยารังสิทธิ์. (2563). สื่อที่ใช้ในการรณรงค์ของภาครัฐเพื่อป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ของประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 5(2), 77-86

อาจารี ถาวรมาศ. (2563). สิทธิสตรีในไทย เปรียบเทียบกับยุโรป. วันที่ค้นข้อมูล 24 สิงหาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/869589

Cook, C., Heath, F., & Thompson, R. L. (2000). A meta-analysis of response rates in web or internet-based surveys. Educational and Psychological Measurement, 60, 821-836.

Parasuranan, A. P., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A conceptual model of service quality and its implication for future research (SERVQUAL). Journal of Marketing, 49(4), 41-50.

Smith, A. (1983). A conceptual framework for staff evaluation. In A. Smith, New Directions for Community Colleges (pp.3-18). San Francisco: Jossey-Bass.

Downloads

Published

2024-01-26