ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี

The Trainees’ Satisfaction Towards Department of Skill Development 3, Chonburi

Authors

  • สิทธิชัย โพธิ์ทอง
  • โชติสา ขาวสนิท
  • วิเชียร ตันศิริคงคล
  • สรชัย ศรีนิศานต์สกุล

Keywords:

ระดับความพึงพอใจ, การฝึกอบรม, สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานที่ 3 ชลบุรี, Satisfaction level, Training, Department of Skill Development 3 Chonburi

Abstract

การวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ส่วนตัวต่อเดือน สถานภาพสมรสม และประสบการณ์ในการฝึกอาชีพ ใน 5 ด้านได้แก่ ด้านหลักสูตรการฝึกอบรม ด้านวิธีการฝึกอบรม ด้านวิทยากรหรือครูฝึก ด้านสถานที่และสภาพแวดล้อม และด้านการประชาสัมพันธ์  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test และ One-way ANOVA เพื่อทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปร โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD ผลการศึกษาพบว่า ระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความพึงพอใจด้านวิทยากรฝึกอบรมมากที่สุด ส่วนด้านอื่น ๆ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในระดับมาก  ผลการศึกษาเปรียบเทียบโดยจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้  พบว่า ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี ที่มีอายุ สถานภาพสมรส และประสบการณ์ในการฝึกอาชีพที่แตกต่างกัน มีระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรีไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้  The research aimed to investigate and analyze trainees' satisfaction with Department of Skill Development 3, Chonburi, and compare these satisfaction levels based on various demographic factors such as gender, age, educational background, profession, monthly income, marital status, and previous training experience. This study focused on five critical areas: the training curriculum, method of training, the competence of trainers, venue and surroundings, and communication or public relations. Statistical methods used for data analysis included the calculation of frequency, percentage, mean, and standard deviation. To test the hypotheses, t-tests and One Way ANOVA were employed, maintaining a statistical significance level of 0.05, with pairwise comparisons made using LSD. The results indicated a high overall level of satisfaction among trainees towards the Department of Skill Development 3, Chonburi. Specifically, trainees expressed the highest satisfaction with the trainers, while the other aspects like training curriculum, method, public relations, and location and environment were also rated highly. Comparison of satisfaction levels revealed significant differences based on gender, educational background, profession, and monthly income, substantiating the proposed hypothesis with a statistical significance of 0.05. In contrast, when comparing satisfaction levels in relation to age, marital status, and previous training experience, no significant differences were observed, leading to the rejection of the hypothesis for these variables with a statistical significance of 0.05.

References

กรมส่งเสริมอาชีพ สำนักงานพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร. (2546). สรุปผลการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ 2546. กรุงเทพฯ: กองส่งเสริมอาชีพ.

คัมภีร์ พิศดาร. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมหลักสูตรวิชาชีพ วิชาแกะสลักและงานใบตองดอกไม้ กรณีศึกษาศูนย์ฝึกอาชีพ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง, สิริกร กาญจนสุนทร และมาตรินี รักษ์ตานนท์ชัย. (2560). ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอาชีพระยะสั้น เทศบาลนครปากเกร็ด. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน (หน้า 2132 - 2139). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางแสน.

ชาตรี คำเอก และอุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์. (2560). ความพึงพอใจของเกษตรกรที่เข้าร่วมฝึกอบรมการใช้แอปพลิเคชันบนมือถือเว็บไซต์ในโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและลดผลกระทบทางด่านสิ่งแวดล้อมของระบบการผลิตข้าวในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีโดยใช้เทคนิคเกษตรแม่นยำสูง.เพชรบุรี: คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี.

ถาวร ภูษา. (2562). รายงานความพึงพอใจของผู้เข้าร่วม โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการวิจัยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นริศรา บุญเที่ยง. (2562). ศึกษาความพร้อมในการฝึกอบรม กระบวนการฝึกอบรม และความพึงพอใจในการฝึกอบรมที่มีผลต่อ แรงจูงใจในการนำการฝึกอบรมไปพัฒนาในการทำงานของพัฒนาในการทำงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ในโซนถนน รัชดาภิเษก. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจ, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปิยะธิดา สีหะวัฒนกุล, รุ่งฤทัย รำพึงจิต, วิไล สุทธิจิตรทิวา และชนัญชิดา สุจิตจูล. (2562). การศึกษาแนวทางการประชาสัมพันธ์และการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพ ระยะสั้น. คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

พิชฌาย์วีร์ สินสวัสดิ์. (2564). ความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษาต่อการบริหารหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี ปีการศึกษา 2564. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพยาบาล, คณะพยาบาลศาสตร์, สถาบันพระบรมราชชนก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี.

เมทิกา พ่วงแสง. (2560). ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรด้านการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร

วารุณี ภาชนนท์. (2551). ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร, มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ศราวนี แดงไสว. (2556). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสินเชื่อ ธนาคารออมสินในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการการตลาด, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยสยาม.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.), (2564). โครงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ จังหวัดชลบุรี. วันที่ค้นข้อมูล 2 เมษายน 2565, เข้าถึงได้จาก https://abcd-esrith-indoors.hub.argis.com/

โสพิณ ปั้นกาญจนโต. (2550). การศึกษาการดำเนินงานกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียนบ้านเหล่ากกหุ่งสว่างตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

โสภาคย์ กาแว่น. (2560). ความพึงพอใจของสมัครเข้ารับการอบรมต่อโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่งรับรองในจังหวัดชลบุรี. วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

อิสรา จุมมาลี. (2562). ความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชายา และผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาคริสเตียน, 27(2), 31-45.

Downloads

Published

2024-01-26