รูปแบบความสำเร็จของธุรกิจจำหน่ายรถยนต์มือสองในประเทศไทย

Successful Model of Used Car Business in Thailand

Authors

  • สัณหพัฒน ตันติธนาทรัพย์
  • เจตน์สฤษฎิ์ อังศุกาญจนกุล
  • อนันต์ รัศมี

Keywords:

รูปแบบความสำเร็จ, ธุรกิจ, จำหน่ายรถยนต์มือสอง, Successful Model, Business, Used Car

Abstract

การวิจัยเรื่องรูปแบบความสำเร็จของธุรกิจจำหน่ายรถยนต์มือสองในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาระดับความสำเร็จของธุรกิจจำหน่ายรถยนต์มือสองในประเทศไทย และเพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของธุรกิจจำหน่ายรถยนต์มือสองในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าของกิจการ ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ และหัวหน้า ที่ดำเนินธุรกิจรถยนต์มือสองในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 460 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบมีสัดส่วน และกำหนดโดยใช้เกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและแบบจำลองสมการโครงสร้างในงานวิจัยเชิงปริมาณ และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนของแบบจำลองโครงสร้าง (หลังปรับโมเดล) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าค่าไค-สแควร์ (X2) มีค่า 118.94 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value = 1.00 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (X2 /df) = 0.61 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์ (CFI) = 1.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) = 0.98 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) = 0.97 และค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณ (RMSEA) = 0.000  ซึ่งผ่านเกณฑ์ทุกค่า จากผลการวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปร พบว่า ตัวแปรด้านคุณลักษณะของผู้ประกอบการมีอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลรวมที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจจำหน่ายรถยนต์มือสองมากที่สุด  This research on success model of used car business in Thailand aims to study on: success level of used car business in Thailand; causal factors affecting to success of used car business in Thailand. This research on success model of used car business in Thailand. This research was conducted in the form of quantitative research. The sample group consisted of 460 samples including entrepreneurs, managers, assistant managers, and supervisors who were operating used car business in Bangkok. They were obtained by using proportional random sampling under the criteria of 20 times of observed variables. Research tools were questionnaires. Obtained data were analyzed by using descriptive statistics and structural equation model for quantitative research and content analysis for qualitative research. The results of Goodness of Fit Index (GFI) of structural model (after adjusting) revealed that: Chi-square (X2) was 118.94 with statistical satisfaction at p-value = 1.00; relative Chi-square (X2/df) = 0.61; Comparative Fit Index (CFI) = 1.00; Goodness of Fit Index (GFI)= 0.98; Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) = 0.97; and Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) = 0.000. All values passed the criteria. From analyzing on influence of variables, it was found that variables on characteristics of entrepreneurs had direct influence and total influence on success of used car business in the highest level.

References

กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ และคณะ. (2552). การจัดการความเสี่ยงและตราสารอนุพันธ์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชัน อินโดไชน่า,

จักรพันธ์ กิตตินรรัตน์ และจุฑาทิพย์ พหลภาคย์. (2562). คุณภาพบริการกับการสร้างความภักดีของลูกค้า:องค์ประกอบในบริบทของธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 6(1),135-151

จักรวาล วงศ์มณี. (2561). สภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจนำเที่ยวไทยและแนวทางการปรับตัวของธุรกิจนำเที่ยวในสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(2). 66-78.

ณัฐพงษ์ ศรีใจวงศ์ และถนอม คณิตปัญญาเจริญ. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อรถยนต์ผ่านเต็นท์รถมือสอง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง, 9(5), 240-251.

เพ็ญพร ปุกหุต. (2563). ความสำเร็จของผลการดำเนินงาน ภายใต้ทรัพยากรโลจิสติกส์ที่มีความโดดเด่นกับความสามารถของธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ของประเทศไทย. คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

มนูญ พรหมลักษณ์. (2564). การจัดการด้านการตลาดรถยนต์มือสองเพื่อตอบสนองความต้องการและการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(2), 583-595.

วันวิสาข์ โชคพรหมอนันต์ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2558). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการร้านค้า ในตลาดน้ำดอนหวายจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 967-988.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). โควิดดันราคารถมือสองไทยปรับขึ้นชั่วคราว...จับตาสตาร์ทอัพแพลตฟอร์มซื้อขายรถมือสองออนไลน์. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย.

สวลี วงศ์ไชยา และ พีชญาดา พื้นผา. (2561). อิทธิพลของกลยุทธ์ธุรกิจและคุณลักษณะของ ผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(2), 139-152.

สุรพันธ์ ฉันทแดนสุวรรณ. (2560). หลักการบริหารธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บริษัท จุดทอง จำกัด.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1976). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(2), 49-69.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling (3rd Edition). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates Sciences.

Downloads

Published

2024-01-26