การบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการชุมชน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

Cultural Capital Integration for Community Management and Development through Community Participation: A Case Study of Dong Bang Community, Na Dun District, Maha Sarakham Province

Authors

  • กันตา วิลาชัย
  • ธัญญรัตน์ ไชยคราม
  • ขวัญตา เบ็ญจะขันธ์

Keywords:

ทุนทางวัฒนธรรม, การพัฒนาการบริหาร, จัดการชุมชน, การมีส่วนร่วมของชุมชน, Cultural capital, Community development, Community management, Community participation

Abstract

การศึกษาเรื่อง การบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการชุมชนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาและสำรวจตำแหน่งที่ตั้งจุดสนใจ ครัวเรือน และสร้างฐานข้อมูลทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนดงบัง 2) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการและเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการชุมชนโดยการใช้ทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนเป็นฐาน และ 3) เพื่อพัฒนาต่อยอดเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนดงบัง ด้วยการสร้างแผนที่ออนไลน์ การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาและการวิจัยจากเอกสารและการลงสำรวจข้อมูลภาคสนาม ร่วมกับแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ได้แก่ ปราชญ์ชุมชน ผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง และประชากรในชุมชนดงบัง จำนวน 110 คน ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่พื้นที่ของชุมชนดงบังเป็นที่ราบสลับกับป่าโปร่ง มีน้ำขังตลอดปีแต่ไม่เพียงพอกับการใช้ในการเกษตรทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้ง สภาพสังคมและเศรษฐกิจ พบว่า  ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  คือ การทำนา ส่วนการตั้งถิ่นฐานและครัวเรือนจะมีลักษณะเกาะกลุ่มกัน สภาพการบริหารจัดการและเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการชุมชน โดยการใช้ทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนเป็นฐาน พบว่า ชุมชนดงบังมีทุนทางวัฒนธรรมจำนวนมาก นอกเหนือไปจากสิมและฮูปแต้มที่ปรากฏ ณ วัดโพธารามและวัดป่าเลไลย์ และการพัฒนาต่อยอดเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนดงบัง ด้วยการสร้างแผนที่ออนไลน์ ประชาสัมพันธ์ตำแหน่งที่ตั้งแหล่งทุนทางวัฒนธรรม  ซึ่งได้แก่ วัด แหล่งโบราณคดี ครัวเรือนที่ทอผ้าทำการเกษตร แปรรูปอาหาร และงานหัตถกรรม  The study focuses on the integration of cultural capital for community management and development through community participation in the Dong Bang community, Na Dun District, Maha Sarakham Province. The objectives were to 1) investigate locations, households, and develop a cultural capital database for the community, 2) assess the present community management and recommend strategies utilizing the community's cultural capital, and 3) foster economic growth by leveraging the cultural capital of the Dong Bang community via the development of an online map. The research methodology incorporated document analysis and field data collection involving 110 participants including key community informants, leaders, and residents. The study disclosed that the community mainly comprises alternating plains and open forests, with persistent water bodies that are inadequate for agricultural activities in the dry season, leading to water shortages. Most of the community members are involved in agriculture, with settlements being clustered. In terms of social and economic aspects, it was found that the Dong Bang community is rich in cultural capital including symbols like Sim and Hup Taem located at Wat Photharam and Wat Pa Lai Lai, and other assets like textile production, agriculture, food processing, and handicrafts. To harness the cultural capital for economic advancement, an online map was designed to highlight and share information about the locations of these cultural resources such as temples, archaeological sites, textile workshops, agricultural activities, food processing, and handicrafts. This approach aims to promote and capitalize on the diverse cultural assets of the community to achieve enhanced community management and economic development.

References

กัญญารัตน์ แก้วกมล และคณะ. (2564). การใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 76-91.

คัชพล จั่นเพชร และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2560). การบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านชากแง้ว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(1), 111-121.

เรณู เหมือนจันทร์เชย. (2558). ทุนวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำในจังหวัดนครปฐม. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 231-247.

เริงศักดิ์ แก้วเพ็ชร. (2023). การศึกษาอัตลักษณ์การจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม แบบบูรณาการของ ชุมชน ในอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(5), 446-457.

วาสนา อาจสาลิกรณ์ และคณะ. (2563). ทุนทางวัฒนธรรมกับการส่งเสริมศักยภาพชุมชนท่องเที่ยว OTOPนวัตวิถีไทดำ บ้านวังน้ำ ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารพิกุล, 18(2), 269-287.

สุเพชร จิรขจรกุล. (2560). เรียนรู้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วยโปรแกรม ArcGIS Desktop 10.5. ปทุมธานี: ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต.

อัญธิชา มั่นคง. (2560). บทบาทของทุนทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนในตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย, 12(39), 90-100.

Downloads

Published

2024-01-26