อิทธิพลของพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรที่มีต่อประสิทธิภาพการสื่อสารและประสิทธิผลการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา
Effects of Organizational Communication Behavior on Communication Efficiency and Burapha University Lecturers’ Work Effectiveness
Keywords:
ประสิทธิผลการทำงาน, พฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กร, ประสิทธิภาพการสื่อสาร, โมเดลสมการโครงสร้าง, Work effectiveness, Organizational communication behavior, Communication efficiency, Structural equation modelAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรที่มีต่อประสิทธิภาพการสื่อสารและประสิทธิผลการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพากับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 3 ตัวแปร ได้แก่ ประสิทธิผลการทำงาน พฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กร และประสิทธิภาพการสื่อสาร ตัวแปรแฝงทั้งหมดวัดจากตัวแปรสังเกตได้ 10 ตัวแปร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 100 คน จาก 20 หน่วยงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัย พบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรที่มีต่อประสิทธิภาพการสื่อสารและประสิทธิผลการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพาที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2= 23.61, df = 24, p = 0.48, GFI = 0.95, AGFI = 0.90, CFI = 1.00, NFI = 0.91, NNFI = 1.00, RMSEA = 0.00, RMR = 0.02) ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิภาพการสื่อสารและประสิทธิผลการทำงาน ได้ร้อยละ 28 และร้อยละ 76 ตามลำดับ โดยพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพการสื่อสาร พฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลการทำงาน และมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านประสิทธิภาพการสื่อสาร The purpose of this research was to construct and confirm that causal relationship model of organizational communication behavior on communication efficiency, and the work effectiveness of Burapha University lecturers was consistent with the empirical data. The proposed model included three latent variables: work effectiveness, organizational communication behavior, and communication efficiency, which were operationalized through 10 observed variables. The study's participants comprised 100 lecturers spread across 20 faculties. Data collection was performed via questionnaires, and the subsequent analysis employed descriptive statistics, Pearson Product-Moment Correlation Coefficient with statistical software package. Confirmatory factor analysis and structural equation modeling were performed with LISREL 8.72. The results showed that the modified model aligned well with the empirical data. A good model fit was demonstrated by the following statistical values: X2= 23.61, df = 24, p = 0.48, GFI = 0.95, AGFI = 0.90, CFI = 1.00, NFI = 0.91, NNFI = 1.00, RMSEA = 0.00, RMR = 0.02. Within the model, the variables explained 28% of the variance in communication efficiency and 76% of the variance in work effectiveness. The study concluded that organizational communication behavior directly influences communication efficiency and work effectiveness, as well as exerting an indirect effect on work effectiveness through communication efficiency.References
กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2562). พฤติกรรมองค์การและการพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด ยูเคชั่น.
กาญจนา มีศิลปะวิกกัย. (2557). ความรู้เบื้องต้นและทฤษฎีการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
เจษฎา นกน้อย. (2560). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2556). หลักการจัดการองค์การ องค์การและการจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชินีเพ็ญ มะลิสุวรรณ. (2561). หลักนิเทศศาสตร์. ยะลา: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ธรรมนิติ. (2562). ทิศทางการสื่อสารในองค์กร. วันที่ค้นข้อมูล 6 มิถุนายน 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.dst.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=3659:directioncommunicate-organization&catid=29&Itemid=180&lang=en
ธราธร บุ้งทอง, กมล เสวตสมบูรณ์ และละเอียด ศิลาน้อย. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กรกับประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมของบริษัทนำเที่ยวในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 7(22), 73-85.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นภัสสร อุตอามาตย์. (2560). ช่องทางการส่งข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารภายในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการรับ-ส่งข่าวสารของบุคลากรสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2562). “หมออุดม” ชี้กฎหมายตั้ง ก.อุดมฯ มีผลบังคับใช้เร็วๆ นี้ คุย 9 ม.รัฐ ดันออกนอกระบบ. วันที่ค้นข้อมูล 6 พฤศจิกายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.prachachat.net/education/news-317569
ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2565). เทคนิคการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ. วันที่ค้นข้อมูล 28 เมษายน 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.popticles.com/communications/effective-communication-techniques
พรชนก เฉลิมพงษ์ และปรีชาพล สมศักดิ์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารภายในองค์กรและความสำเร็จในการดำเนินงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี.
พิริยา ศิริวรรณ. (2559). การสื่อสารภายในองค์กร (คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล) เรื่องที่ไม่อาจมองข้าม. เวชบันทึกศิริราช, 9(1), 38-43.
มติชนออนไลน์. (2566). อว.เร่งยกเครื่องกฎหมาย มรภ.-มทร. ชูคอนเซ็ปต์คล่องตัวเหมือน ม.นอกระบบ. วันที่ค้นข้อมูล 6 พฤศจิกายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/education/news_3833774
มหาวิทยาลัยบูรพา. (2559). ประวัติความเป็นมา. วันที่ค้นข้อมูล 26 มิถุนายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.buu.ac.th/aboutus/frontend/index
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2559). ทีมงาน: พลังที่สร้างความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ร็อบบินส์, เอส. พี. และเคาล์เตอร์, เอ็ม. (2559). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. แปลจาก Management. แปลโดย วิรัช สงวนวงศ์วาน. กรุงเทพฯ: ท้อป.
ระบบบุคลากร. (2565). รายงานรายชื่อข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัย. วันที่ค้นข้อมูล 24 มิถุนายน 2565, เข้าถึงได้จาก http://person.buu.ac.th/codes/Official/Rpt/Rpt3-2.php?TxtLIW_ID=&TxtHIR E_ID=&TxtCAP_ID=&TxtFAC_ID=&TxtDEP_ID
รัฐสภาไทย. (2555). เอกสารประกอบการพิจารณา เรื่อง มหาวิทยาลัยนอกระบบ. วันที่ค้นข้อมูล 6 พฤศจิกายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/
รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ. (2558). การสื่อสารองค์กร แนวคิดการสร้างชื่อเสียงอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วันชัย มีชาติ. (2556). พฤติกรรมการบริหารองค์การสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิกานดา เกษตรเอี่ยม. (2558). การสร้างทีมงาน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วิเชียร วิทยอุดม. (2558). การจัดการสมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: ธนธัชการพิมพ์.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2558). มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ กับ ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. วันที่ค้นข้อมูล 4 พฤศจิกายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://tdri.or.th/2015/03/voicetv20150321/
สนงาน ใจยาเก๋. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการสื่อสารกับประสิทธิผลของการปฏิบัติงานบริการสุขภาพของบุคลากรสาธารณสุข 5 อำเภอ ชายแดนไทย-เมียนมาร์ จังหวัดตาก. วารสารสุขภาพภาคประชาชน ภาคเหนือ, 27(3), 75-85.
สลาแมนเดอร์. (2558). การบริหารโดยให้พนักงานมีส่วนร่วม. วันที่ค้นข้อมูล 23 มิถุนายน 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.salamanderjewelry.co.th/?page_id=7001
สิทธิกร ศักดิ์แสง. (2561). มหาวิทยาลัยของรัฐที่อยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาฯ. วันที่ค้นข้อมูล 6 พฤศจิกายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://law.sru.ac.th/sittikorn-saksang/
สุภชาติ สิงห์สำโรง. (2562). เทคนิคการสร้างประสิทธิผลของการปฏิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์กับองค์การ. Journal of Modern Learning Development, 4(1), 43-58.
สุวิมล ตั้งประเสริฐ. (2560). มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
หงส์ไทย. (2565). 5 การมีส่วนร่วมของคนในองค์กร ทำให้ธุรกิจก้าวไกล. วันที่ค้นข้อมูล 23 มิถุนายน 2565, เข้าถึงได้จาก https://hongthaipackaging.com/food-packaging-business/5-participation-of-people-in-the-organization
อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี. (2555). พฤติกรรมและการสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bentler, P. M., & Chou, C. (1987). Practical issues in structural equation modeling. Sociological Methods and Research, 16, 78- 117.
Brightside people team. (2563). 3 แนวทางสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน เพื่อพาองค์กรให้เป็นที่ที่อยู่แล้วสุขใจ. วันที่ค้นข้อมูล 23 มิถุนายน 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.brightsidepeople.com/3-แนวทาง-สร้างการมีส่วนร
Chowdhury, A. R. (2022). Improve your communication skills: top 10 ways to communicate in 2022. Retrieved June 29, 2022, from https://iimskills.com/top-10-ways-to-improve-your-communication-skills
Daft, R. L., & Marcic, D. (2013). Management: the new workplace (8th ed.). Australia: South-Western, Cengage Learning.
Fang, K. (2020). Definition of work effectiveness: dimensions, aspects and factors affecting work effectiveness. Retrieved June 29, 2022, from https://issuu.com/kamfang/docs/definition_of_work_effectiveness.docx
Hoy, W. K., Miskel, C. G., & Tarter, C. J. (2013). Educational administration: theory, research, and practice (9th ed). New York: McGraw-Hill Humanities/Social
Hoyle, R. H. (1995). Structural equation modeling: concepts, issues, and applications. Thousand Oaks: Sage Publications.
HR note team. (2562). ความพึงพอใจของพนักงาน. วันที่ค้นข้อมูล 23 มิถุนายน 2565, เข้าถึงได้จาก https://th.hrnote.asia/personnel-management/190724-employee-satifaction
HR note team. (2563). การมีส่วนร่วมและผูกพันของบุคลากรมีความสำคัญอย่างไรกับองค์กร. วันที่ค้นข้อมูล 23 มิถุนายน 2565, เข้าถึงได้จาก https://th.hrnote.asia/personnel-management/190722-employee-engagementeducation/download/article/article_20130320190602.pdf