การพัฒนากฎหมายกองทุนการประกอบอาชีพผู้สูงอายุกับการพึ่งพาตนเอง
Legal Development in Elderly Occupational Fund and Self-Reliance
Keywords:
การพัฒนากฎหมาย, กองทุนประกอบอาชีพผู้สูงอายุ, พึ่งพาตนเอง, Legal Development, Elderly Occupational Fund, Self-RelianceAbstract
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายกองทุนการประกอบอาชีพผู้สูงอายุกับการพึ่งพาตนเอง เกี่ยวกับเงื่อนไขการค้ำประกันกู้ยืมเงินกองทุนของผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เข้าถึงการส่งเสริมการประกอบอาชีพ และสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากกฎหมาย หนังสือ บทความวิชาการและเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 มาตรา 11 (3) รัฐให้การส่งเสริม และสนับสนุนผู้สูงอายุในการประกอบอาชีพ และมาตรา 13 ให้จัดตั้งกองทุนผู้สูงอายุ โดยเป็นเงินทุนที่รัฐบาลจัดสรรให้ส่วนหนึ่ง ส่วนประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นที่ให้การสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ พ.ศ. 2549 ข้อ 3 (4) กำหนดให้ผู้สูงอายุขอกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพต้องมีคุณสมบัติ และมีบุคคลที่น่าเชื่อถือตามที่ผู้อำนวยการกำหนดค้ำประกัน สำหรับประกาศในข้อกำหนดสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพ และพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ ว่าด้วยคุณสมบัติผู้กู้ยืม ผู้ค้ำประกัน และหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพประเภทรายบุคคล จากกองทุนผู้สูงอายุ พ.ศ. 2556 ข้อ 5 กำหนดว่าต้องมีผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินโดยมีคุณสมบัติเข้าเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ จึงทำให้ผู้สูงอายุที่กู้ยืมเงินได้รับเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าวเป็นเงื่อนไขและอุปสรรค ต่อการกู้ยืมเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ ส่วนระยะเวลาการคืนเงินกองทุนผู้สูงอายุ ตามประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ให้การสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ 2549 ข้อ 5 (3) ให้ผู้สูงอายุกู้ยืมเพื่อเป็นทุนการประกอบอาชีพเป็นรายบุคคลคนละไม่เกิน 30,000 บาท และให้ผ่อนชำระคืนภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ย ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้วิจัยขอเสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นที่ให้การสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ พ.ศ. 2549 เรื่องการค้ำประกันใน ข้อ 3 (4) และ แก้ไขเพิ่มเติม ระยะเวลาการคืนเงินกองทุนผู้สูงอายุ ข้อ 5 (3) เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 The purpose of the research is to study the law concerning to elderly occupational fund and self-reliance regard in the conditions of guarantors. Relevant regulations provide the way for elderly people borrowing money from the fund. The research uses qualitative research methods with the study from laws, books, articles and documents. The study found that Section 11(3) of the Elderly Act B.E.2003 provides the promotion and support of the elderly in occupation and Section 13 provides for the establishment of an elderly fund. The announcement of the Executive Committee of the Senior Citizen Fund Re: Other criteria and conditions for financial support from the Senior Citizen Fund 2006 Article 3 (4) requires that the elderly applying for an occupational loan must have qualifications and have a credible person as a guarantor approved by the Director. According to the announcements in the regulations of the Office of Child Welfare and Protection On the qualifications of borrowers, guarantors and criteria for considering loans for individual occupational finance from the Senior Citizens Fund B.E. 2013, Clause 5 stipulates that there must be guarantors of loans with qualifications as specified to the elderly who borrows money is eligible to receive money from the Senior Citizen Fund, such requirements are both conditions and obstacles in term of loans from the Senior Citizen Fund , the refund period of the Senior Citizens' Fund, according to the announcement of the Executive Committee of the Senior Citizen Fund Re: Criteria and Conditions for Financial Support from the Elderly Fund 2006, clause 5 (3), the elderly shall be loaned to finance their individual occupation not exceeding 30,000 baht per person and shall be repaid in installments within a period not exceeding 3 years without interest charge. Some suggestions include the amendment of the announcement of the Executive Committee of the Senior Citizen Fund Re: Criteria and Conditions for Financial Support from the Elderly Fund 2006 1) the amendment of guarantees in Article 3(4) and 2) the amendment of the period of refund of the Senior Citizen Fund Article 5 (3) to comply with the Elderly Act B.E.2003 and the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560References
กรมสุขภาพจิต. (2561). มาตรการช่วยเหลือผู้สูงอายุ จากเป็นภาระยกระดับมีคุณค่า. วันที่ค้นข้อมูล 1 พฤษภาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27654
กรมสุขภาพจิต. (2563). 93 วันสู่สังคม “คนชรา” 5 จังหวัด? คนแก่เยอะสุด -น้อยสุด. วันที่ค้นข้อมูล 1 พฤษภาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30453
จิราภรณ์ ชัยก๋า. (2563). การดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุจังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จุไรลักษณ์ เอี้ยวพันธ์. (2558). รายงานการศึกษากองทุนผู้สูงอายุ.วันที่ค้นข้อมูล 1 พฤษภาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parbudget/ewtdl_link.php?nid=98
ฐานเศรษฐกิจ. (2565). สรุป เพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ2565 นาน 6 เดือน อายุ 60-90 ขึ้นไป ได้กี่บาท. วันที่ค้นข้อมูล 1 พฤษภาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.thansettakij.com/economy/522663
ไทยรัฐออนไลน์. (2566). หมัดต่อหมัด 9 พรรคการเมือง กับนโยบายผู้สูงอายุ เบี้ย งาน สิทธิ. วันที่ค้นข้อมูล 1 พฤษภาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/scoop/infographic/2684578
ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ เรื่องหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขอื่นที่ให้การสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2549.
ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ให้การสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552.
ภูมิ โชคเหมาะ และคณะ. (2552). รายงานการวิจัยเรื่องกฎหมายการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของ ผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. (2546, 27 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 131 ก.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). การสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2565. วันที่ค้นข้อมูล 1 พฤษภาคม 2566ม เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1962
อุบล วุฒิพรโสภณ, พระเทพศาสนาภิบาล, สัญญา สดประเสริฐ และสมานใจ ขันทีท้าว. (2562). นโยบายประชารัฐกับการส่งเสริมการพึ่งพาตนเองผู้สูงอายุจังหวัดนครปฐม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 48-54.