ความพร้อมทางด้านกฎหมายของประเทศไทยในการเป็นภาคีอนุสัญญา ขององค์การยูเนสโก ว่าด้วยการคุ้มครองและการส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม ค.ศ. 2005

Legal Considerations for Thailand in Becoming a Party of The 2005 UNESCO Convention on the Protection and Promotion of the Diversity of Cultural Expressions

Authors

  • ตรีชฎา อุ่นเรือน

Keywords:

อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองและการส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม, ความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม, อนุสัญญาขององค์การยูเนสโก ค.ศ. 2005, The Convention on the Protection and Promotion of the Diversity of Cultural Expressions, the Diversity of Cultural Expressions, The 2005 UNESCO Convention

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มุ่งที่จะศึกษาความพร้อมทางกฎหมายภายในประเทศไทยสำหรับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาขององค์การยูเนสโกว่าด้วยการคุ้มครองและการส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม ค.ศ. 2005 โดยตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางการแสดงออกทางวัฒนธรรม รวมถึงศึกษาเจตนารมณ์ หลักการ มาตรการและกลไกของอนุสัญญาฯ ที่จะมีผลต่อการเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ตลอดจนปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมเป็นภาคีและอนุวัติพันธกรณีตามอนุสัญญาฯ โดยเน้นการสร้างสมดุลระหว่างประโยชน์ของความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม รวมถึงการอนุรักษ์ความหลากหลายในการแสดงออกทางวัฒนธรรมกับภาพรวมและผลกระทบทางวัฒนธรรม สังคม กฎหมาย เศรษฐกิจ การเมือง และอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นกับสังคมไทยในอนาคต ตลอดจนความเป็นไปได้และแนวทางการนำไปปรับใช้กับบริบทของประเทศไทยได้อย่างเหมาะสม โดยที่ประเทศไทยได้แสดงเจตจำนงทางการเมืองในเชิงนโยบายที่จะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ผ่านการรับรองอนุสัญญาฯ ดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2548 การศึกษาพบว่าประเทศไทยมีความพร้อมทางกฎหมายที่จะรองรับการปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญาฯระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดี เนื่องจาก อนุสัญญาฯ ไม่ได้มีสภาพบังคับอย่างเข้มงวด ในทางตรงกันข้าม อนุสัญญาฯ มีความยืดหยุ่นและให้สิทธิอธิปไตยแห่งตน (Sovereign right) แก่รัฐภาคีค่อนข้างสูง สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องมีการพิจารณาเพื่ออนุวัติการกฎหมายภายในประเทศเพื่อให้ประเทศไทยสามารถดำเนินการเพื่อให้เกิดการคุ้มครองและการส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรมในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ 1. การปรับปรุงกฎหมายที่กำหนดคำนิยามที่เกี่ยวข้องให้มีความชัดเจนและครอบคลุม เช่น ความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม และสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม 2. การปรับปรุงหรืออนุวัติการกฎหมายภายในประเทศในประเด็นที่เกี่ยวข้องสำคัญ ได้แก่ ด้านวัฒนธรรม ขยายความครอบคลุมให้รวมไปถึงประเด็นความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่สามารถเชื่อมโยงกับการค้า 3. ด้านการค้าและทรัพย์สินทางปัญญา  การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้เอื้อต่อการเกิดผู้ประกอบการรายใหม่และรายย่อยที่เป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม รวมถึงผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 4. ด้านสื่อสารมวลชนและสภาพแวดล้อมดิจิทัล ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการผลิตสื่อแบบเดิมและสมัยใหม่ โดยลดข้อจำกัดและการผูกขาดในการผลิตสื่อ 5. ด้านสิทธิและความเสมอภาค ปรับปรุงกลไกทางกฎหมายให้สามารถขจัดการเลือกปฏิบัติหรือลดผลกระทบจากการกระทำดังกล่าวให้น้อยที่สุด และ 6. ข้อเสนอให้ประเทศไทยอาจพิจารณาการจัดทำกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรมเป็นการเฉพาะ โดยกฎหมายดังกล่าวต้องมีความครอบคลุมประเด็นที่เกี่ยวข้องที่กล่าวมาแล้ว  This study aims to examine the legal considerations for Thailand in becoming a party of the 2005 UNESCO Convention on the Protection and Promotion of the Diversity of Cultural Expressions. It was conducted by inspecting the laws related to the diversity of cultural expressions, studying the intentions, principles, measures, and mechanisms of the Convention that will affect the process of becoming the party to the Convention as well as other factors involved in ratification and implementation of obligations under the Convention. This research paper also emphasizes balancing the benefits of cooperation and cultural exchange, protection of the diversity of cultural expressions with an overview and impacts on culture, society, law, economy, politics, and others to Thai society in the future, as well as possibilities and guidelines for appropriate adaptation to the context of Thailand. Additionally, Thailand has shown its political intention to become the party of the Convention which was adopted on 20 October 2005. The study found that Thailand’s legal readiness could accommodate some of its obligations under the Convention. Nonetheless, the Convention is flexible and grants relatively high sovereign rights to States Parties. Consequently, this reflects the need for Thailand to consider the implementation of its national laws so as to effectively protect and promote the diversity of cultural expressions, which are as follows: 1. improve relevant legal terms to be clear and comprehensive, such as the diversity of cultural expressions and cultural goods and services,  2. improve or implement the national laws on relevant and important issues, namely cultural areas by comprehensive inclusion of the diversity of cultural expressions linked to trade, 3. trade and intellectual property areas, amend and improve the laws to facilitate the emergence of new and small entrepreneurs who produce cultural goods and services, involving entrepreneurs in the cultural and creative industries. 4. improve laws related to traditional and modern media production by reducing restrictions and monopolies in media production and rights and equality in mass communication and the digital environment, 5. rights and equality areas, improve legal mechanisms to eliminate discrimination or minimize the impact of such actions, and 6. suggest Thailand particularly consider legislating the Protection and Promotion of the Diversity of Cultural Expressions that must cover the relevant issues mentioned above.

References

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2564). โครงการศึกษาสถานะความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ว่าด้วยการคุ้มครองและการส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม. (รายงานฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.

สุทธินี ยาวะประภาษ. (2552). ปัญหาของไทยในการเข้าร่วมอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองและการส่งเสริมความหลากหลายของการ แสดงออกทางวัฒนธรรม: ประเด็นด้านวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: กระทรวงการต่างประเทศ.

อมรา พงศาพิชญ์. (2564). สิทธิมนุษยชนในมิติวัฒนธรรมและศาสนา. วันที่ค้นข้อมูล 8 มีนาคม 2564,เข้าถึงได้จาก www.nhrc.or.th/getattachment/09e0f216-4ef6-427f-b62d-9a801520afee/.aspx

Donders, Y. M. (2021). Cultural rights in the Convention on the Diversity of Cultural Expressions: included or ignored?. Retrieved March 8, 2564, from https://dare.uva.nl/search?identifier=95888a51-78a6-4c66-b29d-124f0c78347c

Burri, M. (2010). Cultural Diversity as a Concept of Global Law: Origins, Evolution and Prospects. Diversity, 2(8). 1059-1084.

Burri, M. (2013). The UNESCO Convention on Cultural Diversity: An Appraisal Five Years after Its Entry into Force. International Journal of Cultural Property, 20, 357– 380.

Burri, M., & Nenova, C. B. (2008). Trade versus culture in the digital environment: an old conflict in need of a new definition. Journal of International Economic Law, 12(1), 17-62.

Neuwirth, R. J. (2006). “United in Divergency”: A Commentary on the UNESCO Convention on the Protection and Promotion of the Diversity of Cultural Expressions. Heidelberg Journal of International Law (HJIL), 66, pp. 819-862.

Nurse, K. (2008). Expert Report on Preferential Treatment (Article 16). In The UNESCO Convention on the Protections and Promotion of the Diversity of Cultural Expressions, 10 October 2008.

Smith, R. C. (2007). The UNESCO Convention on the Protection and Promotion of Cultural Expressions: Building a New World Information and Communication Order?. International Journal of Communication, 1, 24-55.

Downloads

Published

2024-01-26