ปัญหาและอุปสรรคด้านความล่าช้าในการดำเนินการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

Problems and Obstacles Related to Delays in the Implementation of the National Anti-Corruption Commission

Authors

  • ประทีป ทับอัตตานนท์

Keywords:

คณะกรรมการ ป.ป.ช., สำนวนการไต่สวนเบื้องต้น, สำนวนการไต่สวนเพื่อชี้มูล, การพิจารณาล่าช้า, Committee NCC, Preliminary Inquiry, Expression of inquiry to determine the basis, delayed consideration

Abstract

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561มาตรา 28 ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อทำหน้าที่ใน (1) การไต่สวนและมีความเห็นกรณีมีการกล่าวหาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง (2) ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม (3) กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และเจ้าหน้าที่ของรัฐยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตร ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รวมทั้งตรวจสอบและเปิดเผยผลการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของบุคคลดังกล่าว (4) ไต่สวนเพื่อดำเนินคดีในฐานความผิดอื่นที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้กำหนด หรือที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. (5) หน้าที่และอำนาจอื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายอื่น จึงเห็นได้ว่าภาระกิจสำคัญของคณะกรรมการ ป.ป.ช. คือการพิจารณาสำนวนการไต่สวนเบื้องต้นและสำนวนการไต่สวนเพื่อชี้มูลความผิดของผู้กระทำผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม แต่เนื่องจากขณะนี้มีสำนวนคั่งค้างการพิจารณาจำนวนมาก ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 คงเหลือที่อยู่ระหว่างดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง จำนวน 2,759 เรื่อง ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มคดีด้านการจัดซื้อจัดจ้าง กลุ่มคดีด้านจริยธรรมและความประพฤติมิชอบ และกลุ่มคดีด้านกระบวนการยุติธรรมการเมืองและการบริหารราชการ จึงเกิดผลกระทบในการดำเนินการของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จากการวิจัยพบว่า การกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงเบื้องต้น และสำนวนการไต่สวนเพื่อชี้มูลความผิดทุกสำนวน ก่อให้เกิดการคั่งค้างและความล่าช้าของสำนวน อันทำให้การลงโทษผู้กระทำผิดล่าช้า ทำให้สังคมเสื่อมศรัทธาในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ ยังผลให้ผู้กระทำผิดและผู้อื่นไม่เกรงกลัวกฎหมาย  กล้าลงมือกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม อันไม่เป็นไปตามตามแนวคิดของการลงโทษเพื่อข่มขู่หรือปราบปราม (Deterrence) และลงโทษเพื่อการกำจัดหรือควบคุมผู้กระทำผิด ตามนโยบายการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิด (Crime Control Policy) เพื่อมิให้มีโอกาสในการกระทำผิดอีก โดยผู้วิจัยได้นำกฎหมายสาธารณรัฐเกาหลีใต้ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เมื่อเปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 พบว่า มีแต่สาธารณรัฐเกาหลีใต้เท่านั้นที่ใช้ระบบคณะกรรมการในทำนองเดียวกับคณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่มิได้ให้คณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาสำนวนการไต่สวนเช่นเดียวกับประเทศไทย ส่วนสาธารณรัฐสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักรใช้ระบบกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทั่วไปที่ต้องผ่านการพิจารณาของพนักงานอัยการมาใช้ และทั้งสี่ประเทศไม่มีปัญหาเรื่องการคั่งค้างการพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ดังนั้น หากประเทศไทยต้องการให้มีระบบคณะกรรมการในการพิจารณาสำนวนในชั้นไต่สวนข้อเท็จจริงและในชั้นไต่สวนเพื่อชี้มูลความผิด จึงควรแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ในส่วนอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาสำนวนการไต่สวนเบื้องต้นและการไต่สวนเพื่อชี้มูลโดยเฉพาะ และให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นคณะกรรมการที่ยังมีอำนาจในส่วนอื่นตามมาตรา 28(1)(3)(4) และ (5) และให้มีอำนาจในการควบคุม กำกับ ดูแลนโยบายและการดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในลักษณะเป็นคณะกรรมการบริหารสูงสุดเท่านั้น  The Constitutional Anti-Corruption Act B.E. 2561 prescribe in Section 28.  “The NACC has the following duties and powers: (1) Conduct an inquiry and prepare opinion in case there is an allegation that a person holding a political position, a judge of the Constitutional Court, a person holding a position in an independent agency is involved in circumstances of unusual wealth, corruption, or deliberate performance of duties or exercise of powers in contrary to the provisions of the Constitution or laws, or serious violation of or failure to comply with the ethical standards; (2) Conduct an inquiry and decide whether a state official is unusually wealthy, has committed an offence of corruption, or malfeasance in public office or malfeasance in judicial office; (3) Obligate persons holding political positions, judges of the Constitutional Court, persons holding positions in independent agencies and state officials to submit account showing particulars of assets and liabilities of themselves, spouse and children who have not yet become sui juris, and to inspect and disclose the results of the inspection of such accounts; (4) Conduct inquiry in order to take legal action in other offences provided by this Organic Act, or those prescribed by the law to be under the duties and powers of the NACC ( the NACC may undertake by itself, or delegate to other competent agency)  (5) Other duties and powers provided by the Constitution, this Organic Act or other laws. Therefore, it is evident that the important mission of the Board of Directors the NACC is to consider the expression of preliminary inquiry and expression of inquiry to determine the guilt of offenders for dishonesty of duty or offences against official office or offences against the office of justice. As of September 30, 2021, it is divided into procurement cases, ethics and misconduct cases, and justice, politics and public administration cases, the remaining facts are under investigation. 2,759 matters, thus affecting the actions of the Board of Directors. NCC. According to the research, the Board of Directors the NACC has the authority and duty to consider the expression of the preliminary investigation and the expression of inquiry to determine the basis of every offense, causing congestion and delay of expressions, which delays the punishment of the offender. It causes society to lose faith in the criminal justice system in bringing perpetrators to justice. As a result, offenders and others are not afraid of the law, dare to commit offenses of dishonesty or offenses against official positions or offenses against judicial offices, which do not comply with the concept of punishment for intimidation or suppression (Deterrence) according to the Crime Control Policy and punishment for the elimination or control of offenders. The researcher adopted the laws of the Republic of Korea, the Republic of Singapore, and Japan. Compared to the Constitutional Anti-Corruption Act B.E. 2561, only the Republic of Korea uses the same committee system as the Constitutional Assembly Act on Corruption B.E. 2561. However, the committee does not have the same authority and duty to consider the case as Thailand. The Republic of Singapore, Japan and the United Kingdom have adopted a common criminal procedure system that requires prosecutors, and all four countries have no problem with pending trials related to offences of malpractice or offences against official office or offences against judicial office. Therefore, If Thailand wants to have a committee system to consider expressions at the hearing and at the hearing to determine the basis of guilt. the Constitutional Act on Prevention and Suppression of Corruption B.E. 2561 (2018) should be amended in respect of the powers and duties of the Commission. The NCC has appointed a committee to consider the expression of the preliminary inquiry and the inquiry to identify specific information. The NACC is a committee which are other powers under Section 28(1)(3)(4) and (5) and oversees the policies and operations of the Office of the National Anti-Corruption Commission. It is the Supreme Executive Committee only.

References

การควบคุมการใช้อำนาจรัฐ. (ม.ป.ป.). วันที่ค้นข้อมูล 8 กรกฎาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.law.cmu.ac.th/law2011/journal/e1581298156.pdf

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (ม.ป.ป.). ทฤษฎีการลงโทษ. วันที่ค้นข้อมูล 2 กรกฎาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.stou.ac.th/schools/slw/upload/41716_6.pdf

ไทยโพสต์. (2564). ป.ป.ช.เปิดตัวเลขคำร้อง-มูลค่าเสียหาย สถานการณ์คอร์รัปชันไทยยัง'หนัก'. วันที่ค้นข้อมูล 2 กรกฎาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.thaipost.net/main/detail/88705

รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2564). วันที่ค้นข้อมูล 17 กรกฎาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.nacc.go.th/files/article/attachments/ 27056785733e693d2287f94c8cd83d850a5482b.pdf

อิงครัต ดลเจิม. (2564). หลักการแนวคิดทฤษฎีและการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรมทางอาญาหลักการแนวคิดทฤษฎีและการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต 2(1), 69-85.

Bowden, T., Burlingame, R. A., Mazur, M. L., Stroud, T., & Kaur, S. (2022). The Anti-Bribery and Anti-Corruption Review: United Kingdom-England & Wales. Retrieved May 20, 2023, from https://thelawreviews.co.uk/title/the-anti-bribery-and-anti-corruption-review/united-kingdom-england--wales

Due process. (n.d.). Retrieved July 8, 2023, from https://en.wikipedia.org/wiki/Due_process

IMPROPER SOLICITATION AND GRAFT ACT. (2019). Retrieved May 20, 2023, from https://elaw.klri.re.kr/eng_service/lawView.do?hseq=41954&lang=ENG

Iwashita, S. (n.d.). Enforcement Practice Against Corruption in Japan. Retrieved May 20, 2023, from https://sso.agc.gov.sg/Act/PCA1960

Koh Teck Hin. (n.d.). Corruption Control in Singapore. Retrieved July 2, 2023, from https://www.unafei.or.jp/publications/pdf/RS_No83/No83_17VE_Koh1.pdf

Quick guide to the Money Laundering Regulations. (2017). Retrieved May 20, 2023, from https://www.lawsociety.org.uk/topics/anti-money-laundering/quick-guide-to-the-mlrs

Takamiya, Y., Tanaka, A., & Miyoda, A. (2022). in The Anti-Bribery and Anti-Corruption Review:Japan. Retrieved May 20, 2023, from https://thelawreviews.co.uk/title/the-anti-bribery-and-anti-corruption-review/japan

Tillen, J. G., & Moushey, L. (2021). Anti-Corruption Regulation. In Singapore by Wilson Ang,Jeremy Lua,Lan Cheong and Marianne Chew. Retrieved May 20, 2023, from https://www.nortonrosefulbright.com/-/media/files/nrf/nrfweb/knowledge-pdfs/anti-corruption-regulation-singapore-2021.pdf?revision=43308fe9-e748-4590-acfa-40f10224ea86

Downloads

Published

2024-01-26