การถ่ายทอดดนตรีพื้นเมืองล้านนาของเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่
Transmission of Lanna Traditional Music by Prince Sunthorn Na Chiangmai
Keywords:
การสืบทอด, ดนตรีพื้นเมืองล้านนา, เจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่, Transmission, Lanna Traditional Music, Prince Sunthorn Na ChlangmaiAbstract
งานวิจัยเรื่อง การถ่ายทอดดนตรีพื้นเมืองล้านนาของเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชีวประวัติและผลงาน การพัฒนาและการถ่ายทอดดนตรีพื้นเมืองล้านนาของเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า เจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ เกิดและเติบโตในตระกูลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ จึงได้เรียนดนตรีพื้นเมืองล้านนาและเรียนเครื่องสายไทยในคุ้มหลวงมาแต่เยาว์วัย เมื่อได้รับเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีพื้นเมืองล้านนา ของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ จึงนำระเบียบวิธีการบรรเลงของวงดนตรีไทยมาใช้กับวงสะล้อ ซึง ทั้งการพัฒนารูปแบบการจัดวงการพัฒนารูปแบบการประสมวง พัฒนาขนาดและระดับเสียงของสะล้อและซึง ส่งผลให้วงสะล้อ ซึง มีแบบแผนการบรรเลงที่มีมาตรฐาน รวมทั้งการบันทึกโน้ตเพลงพื้นเมืองล้านนา และนำลูกบิดกีตาร์มาใช้กับซึง ทำให้ระดับเสียงไม่ลดระหว่างบรรเลง เจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ ถ่ายทอดความรู้ดนตรีพื้นเมืองล้านนา ให้กับนักเรียนวิชาเอกดนตรีไทย วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่และลูกศิษย์ในกลุ่มช่างสร้างเครื่องดนตรี การถ่ายทอดเริ่มจากการสาธิตให้ดูและการนอยเสียง แล้วจึงถ่ายทอดเพลงในกลุ่มเพลงพื้นฐาน กลุ่มเพลงชั้นกลางและกลุ่มเพลงชั้นสูง การถ่ายทอดการบรรเลงรวมวง รวมถึงการถ่ายทอดกลวิธีในการบรรเลงแบบดั้งเดิมของดนตรีพื้นเมืองล้านนาและนำกลวิธีพิเศษของดนตรีไทยมาใช้กับการบรรเลง แบบแผนการบรรเลงสะล้อและซึงของเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีสายการสืบทอดสำคัญ คือ ลูกศิษย์ในวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ เนื่องจากส่วนใหญ่ประกอบอาชีพครูดนตรีไทย ทั้งในวิทยาลัยนาฏศิลปและในโรงเรียนเขตภาคเหนือ The article titled “Transmission of Lanna Traditional Music by Prince Sunthorn Na Chiangmai” examines 1. the life history and work of Prince Sunthorn Na Chiangmai, 2. the development of traditional Lanna Music and 3. the transmission and the inheritance of Lanna traditional music of Prince Sunthorn Na Chiangmai. This research employed guatitative research methodology. The results showed that Prince Sunthorn Na Chiangmai was born to and raised by the ruling family of Chiang Mai. He received Lanna and Thai traditional music training at an early age from the khum luang palace. After receiving an invitation from the Chiang Mai College of Dramatic Arts to serve as a Lanna traditional music specialist, Prince Sunthorn incorporated Thai traditional music practices to the teaching of salo ensemble. There he standardized instrument organization, ensemble setup, the sizes and tuning system of salo and sueng. This resulted in a theorization of the salo and sueng ensemble in terms of performance practices, instrumentation, ensemble setup and the notation of Lanna Traditional Music. He also initiated the installation of guitar tuning pegs into a sueng for a better tolerance of string tension. Prince Sunthorn Na Chiangmai taught Lanna traditional music to students majoring in Thai classical music and music instrument making. His teaching methods included juxtaposing between playing instruments and singing (noi siang) at a rudimentary level before proceeding to teaching basic, intermediate, and advanced pieces accordingly. He was noted for combining the Lanna traditional playing techniques with those of the Thai traditional music. The pedagogy conceived by Prince Sunthorn Na Chiangmai is still used today. The most prominent musical lineage of Prince Sunthorn Na Chiangmai consists of the Chiang Mai College of Dramatic Arts alumni who have become teachers in various campuses of the College of Dramatic Arts as well as in the local schools across Northern Thailand.References
ธีรยุทธ ยวงศรี. (2540). การดนตรี การขับ การฟ้อนล้านนา. เชียงใหม่: สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์.
ปรเมศวร์ สรรพศรี. (2555). เจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ การสืบทอดภูมิปัญญาการสร้างสะล้อและซึง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. วัฒนธรรมและการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
พูนพิศ อมาตยกุล. (2530). เอื้องเงิน ที่ระลึกในงานบรรจุอัฐิเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: รักษ์สิปป์
Downloads
Published
2024-07-19
Issue
Section
Articles