การถ่ายทอดเพลงสระหม่าใหญ่ของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ)
Transmission of Pleng Sarama Yai Kru Peep Konglaithong (National Artist)
Keywords:
การถ่ายทอด, เพลงสระหม่าใหญ่, ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ), Transmission, Sarama yai, Master Peep Konglaithong (National Artist)Abstract
วิทยานิพนธ์เรื่องการถ่ายทอดเพลงสระหม่าใหญ่ของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์โครงสร้างทำนองปี่ชวา หน้าทับสระหม่าใหญ่ และวิธีการถ่ายทอดใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่าเพลงสระหม่าใหญ่มีโครงสร้าง 3 ทำนอง ได้แก่ ทำนองสระหม่า ทำนองโยน ทำนองแปลง ทำนองสระหม่ากับทำนองโยนมีลักษณะพิเศษคือ ไม่มีจังหวะตายตัว สามารถยืดหรือขยายทำนองได้อิสระภายใต้โครงสร้างทำนองเพลง ทำนองแปลงมีลักษณะประโยคเพลงปกติแต่สามารถขยายหรือลดทอนทำนองในบางส่วนลงได้ หน้าทับเพลงสระหม่าใหญ่ประกอบด้วยหน้าทับ 3 ไม้หลักได้แก่ ไม้ต้น ไม้โปรย ไม้แดก ในแต่ละไม้จะมีทำนองโยนมาคั่นและจะมีหน้าทับย่อยลงไป มีลักษณะโครงสร้างเหมือนกับเพลงเชิดคือเป็นการเปลี่ยนหัวไม้และซ้ำท้าย เมื่อบรรเลงครบทุกไม้กลองแล้วจะเข้าสู่หน้าทับแปลงโดยกลองแขกตัวผู้จะตีเรียกทำนอง ตัวเมียก่อนออกแปลง หลังทำนองแปลงจะจบด้วยทำนองที่เรียกว่า หยดน้ำ สำหรับการถ่ายทอดเพลงสระหม่าใหญ่ของครูปี๊บ คงลายทองปรากฏ 2 แบบ แบบแรกต้องทำพิธีการคำนับครู แบบที่สองเป็นการนำดอกไม้ธูปเทียนมาบูชาครู การถ่ายทอดเริ่มที่เพลงสระหม่า โยน แปลง จนกระทั่งจบกระบวนเพลงสระหม่าใหญ่ หลังจากนั้นเป็นการอธิบายข้อปฏิบัติและการนำเพลงไปใช้ ซึ่งพบว่ากฎที่เคร่งครัดของเพลงสระหม่าใหญ่ก็คือห้ามนำไปใช้งานอวมงคลเด็ดขาด และหลังจากการบรรเลงเสร็จเรียบร้อยทุกครั้ง นักดนตรีต้องทำบุญอุทิศบุญกุศลให้แก่ครูดนตรีไทย ซึ่งสิ่งนี้เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น This study deals with musical transmission of the Great Sarama, sarama yai, by Master Peep Konglaithong, the National Artist. It is aimed at investigating musical identities of the pi chawa melodies, sarama yai rhythmic cycles, and transmission methods. This research employed guatitative research methodology. The research findings reveals that the sarama yai melodies consist of three sections: sarama, yon, and plang. Both sarama and plang melodies are special in that both are in free rhythm. The melodies can be extended and shortened based on the framework of its melodic structure. The regular structure of sentences in plang appears to be normal, however, the length of certain parts can be either elongated or shortened. Sarama yai rhythmic cycles consist of three major patterns: mai ton, mai proy, and mai dag. Each pattern is intercepted by yon with the variations of each pattern. The pattern is comparatively similar to the form of Cherd which begins with different melodies and ends with identical melodies. After each pattern is ended, the leading two-headed drum (klong khak tau phu) calls for the second two-headed drum (klong khak tau mia) to response before entering the plang section. After the plang section, the Great sarama then comes to the ending melodies called yod nam. It is found that Master Peep Konglaithong’s transmission methods could be divided into two forms: ritual and non-ritual. The procedure of training begins with learning sarama, yon, and plang until finishing the Great sarama. Verbal instructions of practices, occasions of performances, and strict guidelines are always significantly given to students after practical training. Sarama yai is forbidden to be performed for cultural events associated with misfortune and failure. After each performance of Sarama yai, musicians must make merit and dedicate it to their deceased music teachers. This traditional practice has been passed down generation to generation.References
ธนิต อยู่โพธิ์. (2500). เครื่องดนตรีไทยของธนิต อยู่โพธิ์. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.
ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน. (2559). เครื่องสายปี่ชวา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนตรี ตราโมท. (2540). ปี่พาทย์ไทย ปี่พาทย์มอญ ปี่พาทย์ชวา. หนังสือที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพนายชั้น ดุริยประณีต ณ เมรุวัดสังเวชวิศยาราม วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2497.
รณฤทธิ์ ไหมทอง. (2561). การถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูบุญธรรม คงทรัพย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาดุริยางค์ไทย ภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริ อเนกสิทธิสิน. (2557). อาศรมศึกษา: ครูปี๊บ คงลายทอง. ภาคการศึกษาต้นและภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2557 ตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
Published
2024-07-19
Issue
Section
Articles