การขับร้องเพลงช้าปี่สำหรับการแสดงโขน “การสื่ออารมณ์และความหมายผ่านกลวิธีการขับร้อง”

Singing “Cha-Pi” Song in Khon Performance: Expressions and Meanings Through Singing Techniques

Authors

  • จันทนา คชประเสริฐ

Keywords:

การขับร้อง, เพลงช้าปี่, การสื่ออารมณ์, กลวิธีการขับร้อง, Thai classical Singing, Cha-Pi, Expressions Quis, Singing Technique

Abstract

การขับร้องเพลงช้าปี่สำหรับการแสดงโขนไม่ได้เป็นเพียงการนำเสนอคำร้อง แต่ยังต้องสามารถสื่อความหมายและอารมณ์ผ่านกลวิธีการขับร้องที่ซับซ้อน เพลงช้าปี่เป็นเพลงเปิดมีความสำคัญและร้องยาก เนื่องจากมีท่วงทีลีลาช้าและงดงาม โดยการขับร้องนี้ต้องประสานกันระหว่างผู้ร้องและผู้แสดงอย่างสอดคล้อง จากการศึกษากลวิธีการขับร้อง พบว่ามีกลวิธีต่าง ๆ ช่วยในการแสดงอารมณ์ของบทเพลง เช่น การปั้นคำร้อง การเอื้อนสามเสียง การกระทบเสียง และการใช้เสียงแข็งแรงและมีพลัง การสื่ออารมณ์และความหมายผ่านการขับร้องนี้ช่วยให้ผู้ฟังรับรู้และเข้าใจถึงเนื้อหาและอารมณ์ของเพลงได้อย่างชัดเจน การขับร้องดีต้องอาศัยทักษะ สมาธิ ในการแสดงออกอย่างเต็มที่  The study examined the vocal techniques used in singing the Cha-Pi song in Khon performances. Singing the Cha-Pi song was not merely about delivering lyrics but also about conveying meaning and emotion through complex vocal techniques. This opening song was significant and challenging to perform due to its slow and graceful nuances. Effective singing required seamless coordination between the singer and the performer. The study of vocal techniques revealed various methods that aided in expressing the song's emotions, such as vocal shaping, triple glissando, Tone impact, and using strong and powerful tones. Conveying emotion and meaning through singing allowed the audience to fully grasp the content and emotion of the song. Therefore, excellent singing relied on skill, concentration, and the courage to express emotions completely and accurately.

References

ดำรงราชานุภาพ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. (2552). เพลงดนตรี และนาฏศิลป์ จากสาส์นสมเด็จ. นครปฐม. วิทยาลัยดุริยศิลป์มหาวิทยาลัยมหิดล.

จารุวรรณ ชลประเสริฐ, ประพจน์ อัศววิรุฬหการ. (2538). ร้องเพลงอย่างไรให้ไพเราะ. หนังสือ “สายเสนาะ” ที่ระลึกงานฉลอง อายุ 80 ปี อาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน. กรุงเทพมหานคร.

เจตชรินทร์ จิรสันติธรรม. (2553). ทฤษฎีการขับร้องเพลงไทย. โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร.

ชัยทัต โสพระขรรค์. (2559). กระบวนทัศน์สำหรับการขับร้องเพลงไทย. กรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ท้วม ประสิทธิกุล. (2529). หลักเกณฑ์คีตศิลป์. กรุงเทพมหานคร. อัมรินทร์ปริ้นติ้งกรุ๊ป.

ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2557). สารานุกรมเพลงไทย. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภานุภัค โมกขศักดิ์. (2558). การขับร้องประกอบการแสดงโขนละคร นาฏยวรรณคดีสโมสร. กรุงเทพมหานคร. คลังความรู้ 80 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สมพงษ์ กาญจนผลิน. (2542). ทักษะการขับร้อง เพลงไทย เพลงรำวง และเพลงประกอบการฟ้อนรำ. กรุงเทพมหานคร. เลิฟแอนด์ลิพเพรส จำกัด.

สุพรรณี เหลือบุญชู. (2541). การขับร้องเพลงไทย. เอกสารคำสอน. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พูนพิศ อมาตยกุล. (2527). ดนตรีวิจักษ์ ความรู้เรื่องดนตรีไทยเพื่อความชื่นชม. กรุงเทพมหานคร. ฝ่ายวิชาการและงานพิมพ์ บริษัทเกียรติธุรกิจ.

อุทิศ นาคสวัสดิ์. (2530). ทฤษฎีและปฏิบัติดนตรีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร. บริษัทศิริวิทย์ จำกัด.

Downloads

Published

2024-07-19