หลักสูตรการเรียนการสอนบัลเล่ต์ในค่านิยมปัจจุบันของสังคมไทย

Authors

  • ภัชภรชา แก้วพลอย

Keywords:

หลักสูตรการเรียนการสอน, บัลเล่ต์, ค่านิยม

Abstract

          ปัจจุบันสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลง โดยรับเอารูปแบบวัฒนธรรมตะวันตก เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งใน การดําเนินชีวิต เป็นเหตุให้วิถีชีวิตของคนในสังคมเมืองเกิดมีการแข่งขัน และข้อจํากัดหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการดําเนินชีวิต การสร้างความเป็นปัจเจกบุคคลหรือการเลือกอาชีพ เป็นต้น บัลเล่ต์เป็นรูปแบบนาฏศิลป์ตะวันตกประเภทหนึ่ง ที่เป็นที่ยอมรับและแพร่หลายในสังคมเมืองขนาดใหญ่ทั่วโลก ซึ่งสะท้อนให้ เห็นว่าค่านิยม อาชีพ ทัศนคติหลากหลายมิติเกี่ยวกับศาสตร์แขนงนี้          ปัจจุบันพบว่ามีการนํา หลักสูตรการเรียนการสอนบัลเล่ต์จากต่างประเทศ หลากหลายหลักสูตรมาใช้ในการเรียนการสอน และการสอบวัดประเมินผลตามสถานศึกษาต่างๆทั่วประเทศไทย เช่น หลักสูตรคอมมอนเวลท์ โซไซตี้ ออฟ ทีชเชอร์ ออฟ แดนซิ่ง (C.S.T.D.) หลักสูตร ออสเตรเลียน ทีชเชอร์ ออฟ แดนซิ่ง(A.T.O.D) หลักสูตร รัสเซียน บัลเล่ต์ โซไซตี้ (R.B.S) หลักสูตร ดิ ออสเตรเลียน แดนซ์ แอซโซซิเอชั่น (A.D.A) หลักสูตรบัลเล่ต์ในระดับมหาวิทยาลัย แต่ที่แพร่หลายมายาวนานที่สุดเป็นหลักสูตร โรยัล อคาเดมี ออฟแดนซ์ (R.A.D) จากประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นเสมือนแม่แบบการเรียนการสอนบัลเล่ต์ของไทยตามมาตรฐานสากล และได้รับความนิยมมากขึ้นในผู้ปกครองชาวไทย          ถึงแม้ว่าหลักสูตรบัลเล่ต์ ที่นิยมสอนอย่างแพร่หลายในประเทศไทยนั้น จะมีมาตรฐานระดับสากลทั้งในด้านการพัฒนาสมรรถภาพทางร่างกาย เทคนิคการเต้นรํา ทักษะด้านดนตรี และทักษะด้านการแสดงที่สามารถต่อยอด ถึงระดับอาชีพตลอดจนสามารถผลิตนักเต้น ที่มีคุณภาพต่อสังคมไทยได้ โดยจะเห็นได้ว่าในประเทศไทยนั้น มีผู้เรียนที่จบหลักสูตรบัลเล่ต์ระดับอาชีพหลายต่อหลายคน หากแต่ในเมืองไทยนั้นยังไม่มีคณะบัลเล่ต์ระดับอาชีพ ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน อย่างแท้จริงจึงเป็นผลให้การพัฒนาขีด ความสามารถในอาชีพการเป็นนักแสดง ต้องถูกตัดทอนลงไป ศิลปะการเต้นบัลเล่ต์ก็อาจถูกจํากัดอยู่แค่วงการศึกษาหรือถูกนํา ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในรูปแบบอื่นๆ          บทความชิ้นนี้นําเสนอค่านิยม ของการเรียนการสอนบัลเล่ต์ในประเทศไทย ผู้อ่านจะได้องค์ความรู้ ประวัติพัฒนาการ การเรียนการสอนบัลเล่ต์ในประเทศไทย อีกทั้งมุมมองข้อเสนอแนะในการพัฒนาศิลปะแขนงนี้ในอนาคต ซึ่งสามารถนําไปเปรียบเทียบหรืออ้างถึงศาสตร์ทางการเรียนการสอน และการแสดงแขนงอื่นได้           In the modern day, Thai social has been changed by absorbing the western culture, Because of this reason, the urban people are living under competitive and limited condition, in terms of being individual, choose the career path, etc. Ballet is one of the western dance style that has been accepted and popular in the urban social around the world, likewise, there are varies value, career and attitude about this academic.          In Present ,We have found a lot of the International ballet curriculums which has been teaching in Thailand such as The Commonwealth Society of Teachers of Dancing (C.S.T.D), The Australian Teachers of Dancing (A.T.O.D ) The Russian Ballet Society (R.B.S) The Australian Dance Association (A.D.A) and Ballet curriculums in Universities.          Most of the ballet academy in Thailand focus on teaching with The Royal Academy of Dance curriculum from England (R.A.D) which is the international standard model, such as physical development, Learning art, music and performing art, and the sociability, and it has been more popular among the Thai parents.          Even though, The Ballet curriculum in Thailand has been focused in professional training and most of quality dancers in Thailand has been trained by this curriculum. Although, but there is not any professional dance company which is supported by government and private firm which cause the reduction of the dancer capability, would probably be restricted in the educational system only or It also has been implemented to other courses or subjects.          This article provide the values of learning and teaching ballet, Ballet curriculum in Thailand, including the knowledge, background, evolution of learning and teaching ballet in Thailand. Also the aspect or comments in order to develop this art in the future which can be compare or refer to the other performing arts.

Downloads