ยกอ้อ ยอคาย : พลวัตทัศนะเกี่ยวกับดนตรีและนาฏศิลป์ชาวอีสาน

Authors

  • ยุทธพงศ์ มาตย์วิเศษ
  • พิมลพรรณ เลิศล้ำ

Keywords:

ยกอ้อ ยอคาย, พิธีไหว้ครู, พลวัต, ทัศนะ, ดนตรี, นาฏศิลป์, อีสาน

Abstract

          การสร้างสรรค์ดนตรีและนาฏศิลป์เพื่อตอบสนองสุนทรียภาพของชีวิตถือได้ว่าเป็นอัจฉริยภาพของมนุษย์ทุกกลุ่มชาติพันธุ์ พัฒนาการของดนตรีและนาฏศิลป์เป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาละและเทศะดนตรีและนาฏศิลป์จึงไม่ใช่สิ่งที่หยุดนิ่งแต่เป็นสิ่งที่เป็นพลวัต เช่นเดียวกับดนตรีและนาฏศิลป์ในดินแดนอีสานพื้นที่ที่มีผู้คนอาศัยอยู่มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และปัจจุบันคนที่อาศัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยถูกเรียกโดยรวมว่าชาวอีสาน การสร้างสรรค์ดนตรีและนาฏศิลป์ของชาวอีสานมีร่องรอยจากหลักฐานทางโบราณคดีเช่นภาพเขียนสีที่เพิงผาหน้าถ้ำหรือชิ้นส่วนของโบราณวัตถุที่มีการขุดค้นพบ สะท้อนให้เห็นว่า ดนตรีและนาฏศิลป์ชาวอีสานมีความสัมพันธ์กับความเชื่อในอํานาจเหนือธรรมชาติ และระบบความเชื่อดังกล่าวได้มีการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยได้รับอิทธิพลจากโลกทัศน์ทางศาสนาของ พุทธ-พราหมณ์-ผี อํานาจเหนือธรรมชาติที่สร้างสรรค์ดนตรีและนาฏศิลป์ของชาวอีสานนี้ถูกยกย่องในฐานะของครู ที่ผู้สืบทอดและทําการแสดงจะต้องทําการไหว้ครูเพื่อระลึกถึงบุญคุณ และขอให้ครูบันดาลให้การแสดงนั้นประสบความสําเร็จ          พิธีกรรมไหว้ครูดนตรีและนาฏศิลป์ชาวอีสานเรียกว่า “ยกอ้อ ยอคาย” เรื่องราวเกี่ยวกับพิธียกอ้อยอคาย จึงเป็นสิ่งที่ให้ภาพสะท้อนถึงโลกทัศน์เกี่ยวกับดนตรีและนาฏศิลป์ของชาวอีสาน ที่มีความเป็นพลวัตกล่าวคือมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เรื่องราวนี้จึงเป็นการถอดรหัสความรู้เพื่อทําความเข้าใจอดีตแล้วเชื่อมโยงมาสู่เรื่องราวของดนตรีและนาฏศิลป์ของชาวอีสานในปัจจุบัน สําหรับนํามาเป็นฐานความรู้ในการสร้างสรรค์สําหรับอนาคต           The creation of music and dramatic arts to responded the aesthetics of life. It shows the intelligence of all Ethnicities. The development of music and dramatic arts changed according to time and occasion. Music and dramatic arts have dynamic all the time. Music and dramatic arts in I-san region, the land that people live since prehistoric age, nowadays the northeastern part of Thailand called “I-san”. The creation of music and dramatic arts of I-san people found the traces from archaeological evidence such as the cave paintings or pieces of antiques that found in I-san region.          The music and dramatic arts of I-san reflected the belief of mysterious power and the belief that transferred from generation to generation. The belief influenced by Buddhism, Brahmanism, ghost and mysterious power that created music and dramatic arts of I-san people, so I-san people praised that as teacher.          The successors and performers must pray respect and be grateful to teacher also asked for blessing to the successful while performing. The praise ceremony of music and dramatic arts of I-san called “York Or Yor Kai.”Therefore the story of York Or Yor Kai reflected the attitude of music and dramatic arts of I-san people that dynamic and changes from the past to present times. This research decoded the knowledge and studies the stories from the past and linked with music and dramatic arts of I-san people in present time, that can use as a source for the future creation.

Downloads