การปฏิบัติงานและคุณค่าของ “วิจัยการแสดง” สำหรับนักวิชาการด้านการละคร/การแสดง ในมหาวิทยาลัย

Authors

  • พรรัตน์ ดำรุง

Keywords:

การวิจัยสร้างสรรค์, วิจัยการแสดง, วิจัยแบบปฏิบัติการ, การแสดง

Abstract

          บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อตอบข้อสงสัยกังวลของคณาจารย์ในสาขาการละคร ดนตรีและการแสดง หลังจาก มีการประชุมรายงานก้าวหน้าของโครงการวิจัยชื่อ วิจัยการแสดง : สร้างสรรค์งานวิจัยใน สาขาศิลปะการแสดงไทยร่วมสมัย ในปีแรก (สิงหาคม 2559-กรกฏาคม 2560) ซึ่งผู้เขียนได้รับทุนจาก ฝ่ายวิชาการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว) โครงการทั้ง 8 โครงการภายใต้ชื่อ โครงการวิจัยการแสดง นี้มีลักษณะร่วมกันคือ เป็นงานวิจัยแบบปฏิบัติการ (Practice as Research) ที่ต้องมีการลงมือปฏิบัติ สร้างผลงานสร้างสรรค์ และมีการเก็บบันทึกการปฏิบัติงานที่ละเอียด ด้วยหลากหลายกลวิธี          ผู้เขียนพัฒนาบทความนี้เพื่ออธิบายถึง โจทย์วิจัย และระเบียบวิธีวิจัยของการทำงานวิจัยลักษณะนี้ ที่ศิลปิน-ผู้ทำวิจัยต้องตั้งโจทย์วิจัย และออกแบบ-วางแผนกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน ที่ช่วยให้สามารถ สร้างสรรค์ ผลงานการแสดง เพื่อตอบโจทย์วิจัยของตนได้ การวิจัยแบบปฏิบัติยังการต้องการการออกแบบ กระบวนการบันทึกข้อมูล ระหว่างการปฏิบัติการในห้องซ้อมที่เป็นระบบระเบียบ ผู้วิจัยต้องออกแบบคู่ขนาน ไปกับระเบียบวิธีวิจัย          การเขียนวิเคราะห์ สังเคราะห์ กระบวนการทำงานผู้เขียนควรเลือกอภิปรายเฉพาะช่วงที่เกิดการ ปัญหา และการปรับเปลี่ยนกระบวนการ หรือเป็นช่วงที่สำคัญทำให้เกิดการเรียนรู้นำสู่การตอบโจทย์วิจัย หรือ การเรียนรู้อื่นที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงานวิจัย ผลงานวิจัยของการวิจัยแบบปฏิบัติการ มี 3 รูปแบบ ได้แก่ ผลงานการแสดงที่เป็นการแสดงสด หรือคลิปการแสดงสารคดีภาพหรือคลิปขั้นตอนการพัฒนางานวิจัย และ บทความวิจัยขนาดยาว น่าจะช่วยสื่อสาร บันทึกองค์ความรู้ที่เกิดขึ้น ในระหว่างการสร้างสรรค์          ผู้เขียนคาดหวังว่า ผลงานวิจัยของครู-ศิลปินที่เป็นนักวิจัยในโครงการนี้จะช่วยให้ เกิดความเข้าใจ ในการค้นหา ค้นพบความรู้ใหม่ที่เป็นพื้นฐานทางการแสดง และเป็นรากฐานสำคัญในการต่อยอดการทำวิจัย ลักษณะนี้ในอนาคตได้ต่อไป           This article examines background concerns and issues that are important to understanding Performance Research. These concerns arose at our annual seminar to discuss the progress of our research project called “Doing Creative Research in Thai Contemporary Theatre” which was funded by Thailand Research Fund. The eight projects sponsored under this performance research program all use the ideas of “practice as research” to focus on doing creative performance as a form of research -- collecting data through different methods to analyze the work they do in designing, rehearsing and performing their creative performance work.          The article explains “practice as research” as a systematic way for performing artists to analyze the creative work that they do in order to gain new insights about their working process, along with the goals and results of their work. Before beginning any performance project, the artist-researchers need to pose a question that they aim to answer through analyzing the process they use to create their performance. They then need to link their question to a set of research methods and materials which they will use to answer this question as they create their performance. Analyzing the creative process they use to create the performing is the way that that will answer their research question. During the process of creating the performance, the researchers are asked to pay close attention to the process by recording each phase of its evolution in detail and collect data on the different stages of the creative process. They should pay special attention to the reasons that the performance evolves in the way that it does and how it is performed. Beyond these activities, the artist’s research also needs to design the collective methods of data in the studio, rehearsals, and other stages in the design and creative process. By analyzing the data and information derived from the creative process in making the performance and in relationship to the research question, the artist researcher will not the important moments that the performance changed, adjustments that affected the development of the piece, all in a way to help answer the basic research question. The research results may take various forms. So in our case one took the form of a clip of the live performance, another as a documentary of how to develop the process and research performance, and a third as a longer research article that reflects the new knowledge and insights that the artist research er has learned.          The goal of this type of research is to provide diverse examples of how artists can turn their creative work into important pieces of research on performance. This will allow the artists to become researchers and to discover new knowledge based on doing performance research.

Downloads