M>A=D: การนําเสนอ “เกย์วัยกลางคน” ผ่านละครแนวดีไวสซิ่ง

Authors

  • อภิรักษ์ ชัยปัญหา

Keywords:

เกย์วัยกลางคน, การแสดงร่วมสมัย, ละครแนวดีไวชิ่ง

Abstract

          M>A=D เป็นการแสดงร่วมสมัย ที่นําเสนอเรื่องของเกย์วัยกลางคน 4 คน ซึ่งมีสถานะทางสังคมแตกต่างกันแต่กําลังประสบวิกฤติในชีวิตในช่วงเวลาเดียวกัน ตัวละครทั้งหมดต้องมาเผชิญหน้ากันในช่วงเวลามิติพิเศษ ณ ห้องพิเศษแห่งหนึ่ง การแสดงครั้งนี้ใช้ “นกขมิ้น” ซึ่งเป็นนกที่มีวิถีชีวิตเร่ร่อนเดินทางไปเรื่อยๆ มาเป็นสัญลักษณ์สําคัญแทนชีวิตของตัวละครทั้งสี่ ตัวละครต้องมาพบกันโดย “คนที่คุณก็รู้ว่าใคร” และกําหนดให้พวกเขาต้องเล่นเกมต่าง ๆ เพื่อให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตแบบปกติได้ โดยลําดับของเกมนั้นจะลําดับตามอักษรภาษาอังกฤษของชื่อเรื่อง กล่าวคือ M- Monument ในเกมฉันคือใคร A – Andropause ในเกม วิก มหัศจรรย์ และ D – Deformity ในเกมห้องแห่งความลับ สําหรับบทความนี้ต้องการอธิบายถึงกระบวนการสร้างสรรค์การแสดงร่วมสมัยด้วยกระบวนการดีไวสซิ่งเรื่องนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่านักแสดงและทีมงานต่างร่วมแสดงความเห็นและมีส่วนร่วมในการสร้างบทละครต้นฉบับ นอกจากนั้นยังอธิบายถึงการสร้างการแสดงที่ประกอบสร้างไปด้วยฉากย่อย ๆ ที่ไม่ต่อเนื่องกัน มีลักษณะเหมือนภาพปะติด ใช้รูปแบบการแสดงที่หลากหลายทั้งละครพูด การขับร้องเพลงไทย กวีนิพนธ์ การรําไทย ศิลปะจัดวาง ฉาก เครื่องแต่งกายการออกแบบดนตรี กระบวนการสร้างสรรค์ข้างต้น ต่างร่วมกันนําเสนอถึงความล่องลอย เคว้งคว้างตามอารมณ์และภาวะของตัวละครซึ่งเป็น “เกย์วัยกลางคน” การสร้างสรรค์ครั้งนี้ ต้องการให้ผู้ชมตระหนักถึงชะตากรรมของตัวละครในฐานะเพื่อนมนุษย์ไม่ใช่การเรียกร้องสิทธิของเพศที่สาม และชี้ชวนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลกับเวลาที่เป็นปัจจุบัน           M>A=D is a contemporary theater, which discusses about four Gay men who face the middle age crisis. Each character has a different status in Thai Society but they will meet in a special room existing in a new dimension. The show features ‘Nok Kha Min (Canary)’ as the representative figure of a gay man. In the story, one of the four gay men will be in charge of each game, which he or she sets a rule. For examples, the rule of game is to follow the title of show in an alphabetical order as M to be a ‘Monument’ to ask a question such as who am I?, A to be an ‘Andropause’ to talk about the magic wig, and D as a ‘Deformity’ to discuss the secret room. In this paper, I will write how I used the divising technique as a theater director for its creative process, where all actors and staffs discussed and shared their opinions first to develop the script that gives a collective storytelling. I also discuss about how I created a non-linear narrative for each scene with different performances including a dialogue play, Thai classical singing and dance, reading poetry and creating an installation art through the play. In addition, I will discuss how the stage set, costumes and music helped to create an anxious atmosphere and feelings of a middle-age gay man throughout the play. In conclusion, I will write about my own objective that is to share the fate of each character with the audiences in order to raise questions such as how to connect one’s self during such a crisis and how to connect with other people in the present.

Downloads