การแสดงในโรงละครคาบาเร่ต์ของเมืองพัทยา

Authors

  • วิชัย สวัสดิ์จีน

Keywords:

การแสดงคาบาเร่ต์, โรงละคร, เมืองพัทยา, Cabaret show

Abstract

          บทความนี้มุ่งเน้นศึกษาการแสดงในโรงละครคาบาเร่ต์ของเมืองพัทยา อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ศึกษาความเป็นมาของโรงละครคาบาเร่ต์ในเมืองพัทยา 2) ศึกษาลักษณะเด่นของการแสดงในโรงละครคาบาเร่ต์ ของเมืองพัทยา ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ โดยเน้นศึกษาจากสถานประกอบการโรงละครคาบาเร่ต์ในเมืองพัทยา 3 แห่ง ได้แก่ 1) บริษัท ทิฟฟานี่โชว์ พัทยา จํากัด 2) บริษัท อัลคาซ่าร์ จํากัด 3) บริษัทโคลอสเซี่ยมโชว์ พัทยา จํากัด          ผลการศึกษาพบว่าโรงละครคาบาเร่ต์ ในเมืองพัทยา เกิดขึ้นจากการแสดงในสถานบันเทิงยามราตรีเฉพาะกลุ่มชายรักเพศเดียวกัน (บาร์เกย์) ในช่วงประมาณพ.ศ. 2518 โดยการแสดงดังกล่าวมีลักษณะเด่นคือ ใช้ผู้แสดงชายทั้งหมดแต่งตัวเป็นผู้หญิง และเลียนแบบการร้องเพลง (ลิปซิงก์) ของศิลปินนักร้องหญิงที่มีชื่อเสียงเรียกนักแสดงเหล่านี้ว่า แดรกควีน (Drag Queen) ต่อมาเมืองพัทยา ซึ่งขณะนั้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอยู่ในช่วงกําลังเจริญเติบโต การแสดงจึงได้พัฒนาเป็นการแสดงในโรงละคร และเริ่มใช้นักแสดงที่เป็นกะเทยโดยให้ความสําคัญกับการแสดงของนักแสดงหญิง หรือที่เรียกว่า “นางโชว์” โดยเฉพาะในตําแหน่งนักแสดงนํา(ตัวร้อง) ซึ่งถือว่ามีสําคัญต่อกิจการเป็นอย่างมาก นิยามในการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการขายคือ“การแสดงของผู้ชายสวย” รูปแบบการแสดงที่สําคัญของนางโชว์ คือการลิปซิงก์ และการออกลีลาท่าทางประกอบท่วงทํานองของเพลงที่ใช้ประกอบ (ส่วนใหญ่เป็นภาษาต่างประเทศเช่น อังกฤษ จีน รัสเซีย เกาหลี อินเดีย) เพื่อสร้างให้ผู้ชมเชื่อว่าผู้แสดงเป็นผู้หญิงที่กําลังขับร้องบทเพลงดังกล่าว อีกทั้งสร้างความตระการตา ด้วยเครื่องแต่งกาย ฉาก และแสง ประกอบการแสดง          การรักษาคุณภาพและมาตรฐานของการแสดงในโรงละครคาบาเร่ต์ ผู้วิจัยเห็นว่าสถานประกอบการควรปลูกจิตสํานึกความรักในวิชาชีพการเป็นนักแสดง เพราะนางโชว์ หรือนักแสดงหญิงในการแสดงคาบาเร่ต์ ถือเป็นหัวใจสําคัญของการแสดง ดังนั้นนางโชว์ที่ดีจึงควรมีครบทั้งความงามของรูปร่างหน้าตา ทักษะด้าน การแสดง และความรักในอาชีพการแสดง จะเป็นการรักษาคุณภาพ และพัฒนาศักยภาพนักแสดงในโรงละครคาบาเร่ต์อย่างยั่งยืน           This research study about the performances at cabaret theater in Pattaya, Banglamung, Chonburi province. The objectives of this research are to study about history of Cabaret theater in Pattaya and the uniqueness of the performances of Cabaret theater in Pattaya. This is a qualitative research. Composed of document researches, interviews and observations. The study focused on 3 cabaret theaters in Pattaya 1) Tiffany Show Pattaya Co., Ltd. 2) Alcazar Co., Ltd. 3) Colosseum Pattaya Co., Ltd.          The research found that the cabaret theater in Pattaya originated from the show at the night time, specifically for gay bars in 1970s. The show characterized by use all male actors get dress up as women and imitate the singing (Lips Sync) of the famous female singer. Actors who performed the show were called as Drag Queen. Afterward, Pattaya City, where the tourism industry was in the period of prosperous. The show has developed into a show in the theater and start using transgender women as actors. They also prioritized to be the main actors and lead the show called “Nang Show” (transgender actress’s role in cabaret theatre). This is very important to the tourism business. The definition of public relations promotion is “Beautiful Man Show”. The major part of the performance are lips syncing and the dancing with gestures that along with melody and rhythm of the music (mainly from foreign music such as English, Chinese, Russian, Korean, Indian). To make the audience believe that the performer is a woman singing the song. They also fascinate the audience with costume, scene and lighting in the performance too.          To maintaining the quality and standards of performances in the cabaret theater. The researcher found that the theatre should cultivate the love in profession as being an actress. Because “Nang Show” (transgender actress’s role in cabaret show) are the most important of the show. If they completed with beauty, good show skills and full of love in their acting career or profession. The cabaret theatre industry will sustainability maintain the good quality and also continuing in development of performer’s potential.

Downloads