ละครเพลง : กระบวนการเพื่อการพัฒนาทักษะการแสดงนักศึกษาศิลปะการแสดง

Authors

  • วรภพ เจริญมโนพร

Keywords:

ละครเพลง, การพัฒนาทักษะการแสดง, หลักสูตร

Abstract

          สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต ทำการเปิดหลักสูตรขึ้นในปีการศึกษา 2558 เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถและส่งเสริมให้ นักศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์จริงตามนโยบายของทางมหาวิทยาลัย บทความนี้จึงนำเสนอประสบการณ์ ทางด้านกระบวนการละครเพื่อการพัฒนาในรูปแบบ “ละครเพลง” เพื่อพัฒนาทักษะทางการแสดงของนักศึกษา สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี มีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน โดยนำแนวคิดของละครที่เรียกว่า ละครในการศึกษา หรือ Drama in Education – DIE ที่นำ กระบวนการละครมาพัฒนากลุ่มผู้เรียนในชั้นเรียน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และให้ความสำคัญ กับการพัฒนากลุ่มผู้เรียนมากกว่าผลผลิตละคร (พรรัตน์ ดำรุง, 2557) รวมถึงการนำแนวการใช้ สื่อละครเพื่อการพัฒนา 3H กำหนดเป้าหมายของกิจกรรมเพื่อมุ่งพัฒนานักศึกษาผู้เข้าร่วม 3 ด้านได้แก่ 1) พัฒนาความรู้ (Head) 2) พัฒนาทักษะ (Hand) 3) พัฒนาความรู้สึก (Heart) (กาญจนา แก้วเทพ, 2552) โดยออกแบบกระบวนการเป็นขั้นตอนในการทำกิจกรรม ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 หลักการและวิธีคิด เป็นขั้นตอน การพัฒนาทักษะความรู้เน้นเรื่องบทละครเพลงที่นำมาใช้ การเล่าเรื่อง ประเด็นและแก่นของเรื่อง ขั้นตอนที่ 2 สร้างเครื่องมือและพัฒนาทักษะ แบ่งออกเป็นตามลักษณะของรูปแบบละครเพลง คือ ทักษะการร้อง ทักษะการเต้น และทักษะการแสดง และขั้นตอนที่ 3 แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อเปิดรับมุมมองของนักศึกษา ผู้เข้าร่วมได้ทบทวนตนเอง และแบ่งปันความรู้สึกหรือสิ่งที่ได้รับให้กับคนอื่น ๆ โดยจัดเป็นกิจกรรมสะท้อน ความคิดและความรู้สึก จากนั้นเป็นการรวบรวมข้อมูลสรุปจากเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบไปด้วย สมุดบันทึกของอาจารย์และนักศึกษาภาพวาด ข้อเขียนต่าง ๆ และผลงานการแสดงละครเพลง จากนั้นนำข้อมูล มาวิเคราะห์ทักษะทางศิลปะการแสดงทั้ง 3H ดังกล่าวข้างต้น          ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะทางศิลปะการแสดง โดยละครเพลง ตลอดระยะเวลา 16 สัปดาห์ เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะของตนเองจากประสบการณ์ตรงในการเข้าพัฒนาทักษะ การร้อง การเต้น และการแสดง นักศึกษาพบเจอปัญหาในการแสดง และสามารถเรียนรู้แนวทางการแก้ปัญหา ของตนเองได้จากประสบการณ์ เริ่มทำความเข้าใจกับความรู้ที่เป็นทั้งทฤษฎีและแนวปฏิบัติจากการสะท้อน ความคิดซึ่งกันและกัน รวมไปถึงประสบการณ์ใหม่ในการออกแสดงจริงสู่สายตาสาธารณชน           Bachelor of Fine and Applied Arts Program in Performing Arts (Performing Arts), School of Com-munication Arts, Sripatum University Chonburi Campus was first launched in 2015, aiming to de-velop the abilities and to support the students learn from the real experience according to the University’s policy. This article demonstrates an experience of drama processes for the devel-opment, using musical theatre in order to enhance performing skills of the students of Perform-ing Arts Program, School of Communication Arts, Sripatum University Chonburi Campus. There are 30 students participating in this activity. A concept of Drama in Education (DIE) where drama is brought to develop the students’ skills in the class is applied. The purposes are expanding at-tendees in activity, and focusing on student development rather than drama production (, 2014). Moreover, drama is applied for 3H development. The objectives are set to improve participants in 3 aspects which are 1) Knowledge (Head), 2) Skills (Hand), and 3) Feeling (Heart) (, 2009). The processes are created step by step for doing activities. Step 1 is the principles and thinking methods which is the development of musical knowledge, story telling, issue, and core. Step 2, tools are created and skills are improved which are divided according to musical theatre con-cepts: singing skills, dancing skills, and performing skills. Lastly, step 3 is experience exchanging where the participants share their idea and review themselves. In this step, the feeling and expe-rience are shared to the others through self reflection activity. After that, the data is collected and summarized from data collecting tools which are the lecturers’ and students’ notebooks, paintings, articles writing, and musical theatre performance. The data is analyzed in terms of per-forming arts in a concept of 3H that is mentioned above          The result shows the students participating in performing arts development activity using musical theatre in 16 weeks have learnt and developed own skills which are singing, dancing, and performing through direct experience. When the troubles occur, the students are able to solve the problems according to their experience. The students understand knowledge in both theory and practice from self reflection activity, including gain new experience through the actual performance in a public.

Downloads