วิเคราะห์บทประพันธ์เพลง “ถวายชัยคีตมหาราชา” ของณัฐ ยนตรรักษ์

Authors

  • พงษ์ทณัฐ กลัดแก้ว
  • วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น

Keywords:

ถวายชัยคีตมหาราชา, ณัฐ ยนตรรักษ์, เพลงพระราชนิพนธ์

Abstract

          งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์บทประพันธ์เพลง ถวายชัยคีตมหาราชา ของณัฐ ยนตรรักษ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาโครงสร้างบทประพันธ์ วิเคราะห์แนวคิดและวิธีนำแนวทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ไปใช้ในการประพันธ์ รวมถึงวิธีการพัฒนาทำนอง ดนตรีบรรยายภาพ และสำเนียงเปียโนดนตรีไทย          จากผลการศึกษาพบว่าบทประพันธ์เพลง ถวายชัยคีตมหาราชา กระบวนเพ็ญพิรุณมี สังคีตลักษณ์โซนาตาแบบดนตรีคลาสสิกที่แตกต่างจากแบบดั้งเดิม วัตถุดิบหลักของบทประพันธ์นี้ คือ ทำนองหลักที่นำมาจากทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ของพระมหากษัตริย์ไทย 3 เพลง ได้แก่ บุหลันลอยเลื่อน (รัชกาลที่ 2) สายฝน และมหาจุฬาลงกรณ์ (รัชกาลที่ 9) โดยทำนองหลักส่วนใหญ่พบว่ามีลักษณะการนำเสนอ อย่างตรงไปตรงมาตามเพลงต้นฉบับ ด้านการพัฒนาทำนองมักจะใช้          การทดเสียงคู่ 8 และเพิ่มเสียงประสานให้หนาแน่นขึ้น นอกจากนี้ยังพบประเด็นที่น่าสนใจอื่น ๆ ได้แก่ ดนตรีบรรยายภาพที่สร้างบรรยากาศของฝนตกในทำนองเพลงสายฝน และสำเนียงการบรรเลงเปียโน ที่เลียนเสียงระนาด           This research is an analysis of Glory to Our Great Kings, composed by Nat Yontararak, with the primary objectives to study the structure of the musical composition and analyze the concept and methods of incorporating the song in public relations, as well as the techniques used in the development of melody, program music, and piano accents of Thai classical music.          According to the results, it is evident that the musical composition of Glory to Our Great Kings resembles the sonata form, with a classical music style that differs from the traditional style of music. The main element of this composition is its primary melody that was taken from three musical compositions of the Kings of Thailand, consisting of Bulan Loy Luen (Rama II), Falling Rain, and Maha Chulalongkorn (Rama IX). The primary melodies were generally presented in a straightforward manner, in correspondence to the original songs. Melodic development uses octave and adds harmony sound in order to make the sound fullier.          In addition, other interesting elements are also apparent, including the program music that evokes the rainy atmosphere in accordance with the song, Falling Rain, and the piano accents that replicate the accent of ranad.

Downloads