การศึกษาเพลงสองไม้เรื่องเต่าทองทางฆ้องวงใหญ่ โดยการถ่ายทอดของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทระ คมขำ

Authors

  • ศุภศิระ ทวิชัย

Keywords:

เพลงสองไม้เรื่องเต่าทอง, เพลงเรื่อง, พิชิต ชัยเสรี, ภัทระ คมขำ

Abstract

          การวิเคราะห์เพลงถือเป็นประเด็นสำคัญในการศึกษาทฤษฎีดนตรีไทย แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของโบราณจารย์ในการสร้างสรรค์ทำนองเพลง ทางที่นำมาวิเคราะห์นั้น เป็นทางของครูพิชิต ชัยเสรี ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นศิลปินที่มีความสามารถทางดนตรีไทยทั้งทางวิชาการและทางปฏิบัติ          เพลงสองไม้เรื่องเต่าทอง หน้าทับสองไม้ สองชั้น ทางครูพิชิต ชัยเสรี โดยการถ่ายทอดของผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทระ คมขำ พบการใช้บันไดเสียงโดหรือทางนอก และบันไดเสียงซอลหรือทางในเป็นหลักมีการเปลี่ยนบันไดเสียงในช่วงต้นของท่อนที่ 6 จากบันไดเสียงซอลหรือทางใน เป็นบันไดเสียงเรหรือทางกลางแหบ ด้านทำนอง พบลักษณะการใช้โน้ตกระโดด ประทุน การสลับตำแหน่งของโน้ต การเคลื่อนที่ในวิถีขึ้นและวิถีลงมาหาลูกตก การลดรูปโน้ต ด้านเทคนิคการบรรเลง มือขวา ประกอบด้วย แหนะ หนะ หนอด โหน่ง และมือซ้าย ประกอบด้วย แตะ ตะ ตี่ ตึ้ง ในท่อนที่ 4 และท่อนที่ 6 ในเพลงสองไม้เรื่องเต่าทอง มีลักษณะเด่นคือ ลูกโยน แสดงถึงการจะจบท่อน ในท่อนที่ 5 มีการเปลี่ยนบันไดเสียง เป็นการแก้ไขปัญหาระดับเสียงที่ไม่ตรงกัน และยืนในบันไดเสียงเดิม ในท่อนที่ 1-4 และ 6-10 ลูกโยนในเพลงสองไม้เรื่องเต่าทอง ท่อนที่ 1-10 นั้น มีลักษณะจังหวะเดียวกัน แต่มีการเปลี่ยนเสียง โดยลูกโยนในท่อนที่ 1-3 มีลักษณะทำนองและบันไดเสียงเดียวกัน ลูกโยนในท่อนที่ 4-10 มีลักษณะทำนองเดียวกันกับท่อนที่ 1-3 แต่มีการเปลี่ยนบันไดเสียง ขั้นคู่ที่พบในทุกท่อน ได้แก่ คู่ 2 คู่ 4 คู่ 5 และคู่ 8 พบการใช้คู่ 8 มากที่สุด และพบคู่ 3 ในท่อนที่ 2-4 และท่อนที่ 9 ท่อนที่มีการสลับตำแหน่งของโน้ต ได้แก่ ท่อนที่ 4            The analysis of Thai traditional songs is the important thing for studying the theory of Thai classical music. Additionally, it shows the Thai music master’s knowledge in melody composition. In this article, the melody of Pleng Song Mai Ruang Tao Tong was analyze by Kru Pichit Chaisaree. He was honored to be a musician and specialist in Thai classical music.          Pleng Song Mai Ruang Tao Tong (Nathab Song Mai and Song Chan Rhythm) in Kong Wong Yai Performance of Kru Pichit Chaisaree, which was transmitted by Assist. Prof.Dr. Pattara Komkum, found that there were mainly C pentatonic scale (Thang Nork) and G pentatonic scale (Thang Nai). There were also scale changes from G pentatonic scale (Thang Nai) to D pentatoinic scale (Tang Glang Habe). at the beginning of 6th movement.          For the melody, the Leave note, Ending bracket, Note’s position shift, Upward and downward movements to the last note in bar, and Diminution were found in this song.           For performing techniques, the right hand was Nhae, Nha, Nhod, Nhong and the left hand was Tae, Ta, Tee, Tung. The distinct feature of 4th movement and 6th movement in Pleng Song Mai Ruang Tao Tong was Luke Yone signaling the ending. There were note changing to help solve unbalanced pitch in 5th movement and the other movements had the same scale.          Luke Yone in all movements had the same rhythm but there were some scale changes. Luke Yone in 1st-3rd movements had the same melody and scale. Luke Yone in 4th-10th movements was quite the same but there were changing in scale.          The Intervals found in all movements are 2nd interval, 4th interval, 5th interval, 8th interval. The 8th interval was found the most.. And The 3rd interval is found in 2nd ,3rd ,4th and 9th movements. The movement containing note’s position shift is 4th movement.

Downloads