โขน : วิธีการขับร้อง ตอน พระรามตามกวาง

Authors

  • จันทนา คชประเสริฐ

Keywords:

โขน, วิธีการขับร้อง, พระรามตามกวาง

Abstract

          การขับร้องประกอบการแสดงโขน ต้องมีทั้งต้นเสียงและลูกคู่ ต้นเสียงทำหน้าที่ร้องขึ้นต้นบท และร้องเดี่ยวไปจนจบวรรค ส่วนลูกคู่ทำหน้าที่ร้องรับวรรคที่สองต่อไป ต้นเสียงนั้นต้องร้องให้ถูกต้องแม่นยำในบทร้อง ทำนองเพลงและระดับเสียงร้องให้ตรงกับเสียงของเครื่องดนตรีและยังต้องใส่อารมณ์ความรู้สึกลงไปในบทร้องให้สมกับอารมณ์ของตัวแสดงด้วย          ในการขับร้องโขน ตอน พระรามตามกวาง ผู้ขับร้องต้องสื่อความหมายและแสดงอารมณ์ของตัวละครได้แก่ วิธีการขับร้องเพลงแขกไทรผู้ขับร้องต้องร้องเพื่อสื่อความหมายอารมณ์ชมความงามของกวาง และเพลงทะเลบ้า ผู้ขับร้องต้องร้องเพื่อสื่อความหมายอารมณ์รุกเร้าด้วย           Singing toward the Khon performance requirement has both the Ton Siang (Precentor) and the Look Koo (Refrain). Ton Siang performed the vocals on the beginning of the script and solo sang until the end of the phrase. As for the Look Koo, they continue to sing for the second phrase. The Ton Siang must sing accurately in the lyrics and melody. The melody of the vocals that tuned with the sound of the instrument and necessity express the emotions into the words to concordance the emotional inflection of the actors  as well.          The Khon singing from a “Phra Ram Tam Kwang” (Rama followed the deer). The Ton Siang must conduct the meaning and express the emotions of the characters. The singing of “Kaek Sai” song, the singer, must sing to be meaningful the purpose of the deer’s beauty. And the “Ta Lae Ba” song (fanatic sea), the singer must sing to impart meaning and emotion.

Downloads