วิเคราะห์บทเพลงของลิเกตี : มูซิคาริแชร์คาตา บทเพลงย่อยลำดับที่ 11

Authors

  • นันทกร พงศ์เลิศวุฒิ

Keywords:

วิเคราะห์, ลิเกตี, มูซิคาริแชร์คาตา, ฟิวก์, ระบบแถวโน้ตสิบสองเสียง, ดนตรีโพสต์โทนัล

Abstract

          บทเพลงย่อยลำดับที่ 11 ในเพลงชุดมูซิคาริแชร์คาตาประพันธ์โดยลิเกตีเป็นฟิวก์ที่อยู่บนพื้นฐานของ ระบบแถวโน้ตสิบสองเสียงจึงถือได้ว่าเป็นดนตรีเอโทนัล ไม่เพียงเท่านั้นด้วยการให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ คู่ 5 ซึ่งสามารถเห็นได้ตลอดทั้งบทเพลง ยังถือได้อีกว่าบทเพลงนี้เป็นดนตรีเอโทนัลที่มีองค์ประกอบจากระบบ โทแนลิตีแฝงอยู่อีกด้วย ลิเกตีให้ความสำคัญตั้งแต่การสร้างแถวโน้ตหลัก โดยเลือกใช้กลุ่มโน้ตโครมาติกที่เป็น เซตสมมาตร และมีความสัมพันธ์กันหลายมิติ ส่วนลักษณะการใช้แถวโน้ตลิเกตีใช้แถวโน้ตอย่างตรงไปตรงมา ด้วยการใช้แถวโน้ตให้หมดไปทีละแถวผ่านการนำเสนอทำนองเอก อีกทั้งเขาเลือกใช้แถวโน้ตที่มีความสัมพันธ์ ในเชิงปรับระดับเสียงด้วย T7 หรือคู่ 5 เพอร์เฟก แต่ถึงอย่างไรเขาไม่ได้เคร่งครัดในกฎเกณฑ์ของระบบแถว โน้ตสิบสองเสียงมากนัก ในส่วนของกระบวนการสอดประสานฟิวก์ลิเกตียังคงใช้โครงสร้างแบบดั้งเดิม และ ดำเนินไปอย่างเรียบง่าย           Musica Ricercata XI by Ligeti was composed in the form of Fugue based on twelve-tone system that can be considered as atonal music and with paying attention to the 5th intervals relative overall the piece can be considered that this piece is an atonal music with materials from tonal music disguised inside. Ligeti paid attention since creating the prime row by using groups of chromatic notes which are symmetry sets related in many dimensions. Ligeti used tone row straightforwardly by using row by row through the exposition of subject theme, he mostly used perfect 5th intervals and transposition row such as T7 row. However, he didn’t strictly in the rule of twelve-tone system. In part of fugal counterpoint process proceeded simply, the composer still use traditional structure of fugue to compose this piece.

Downloads