ลักษณะเฉพาะของวงปี่จุม : ช่างปี่ ช่างซอ และสล่าปี่เมืองลำพูน

Authors

  • นิตยา อุตระธานี
  • มนัส แก้วบูชา

Keywords:

ปี่จุม, ช่างปี่, ช่างซอ, สล่าปี่

Abstract

         การวิจัยเรื่องคุณลักษณะเฉพาะวงปี่จุม ช่างปี่ ช่างซอและสล่าปี่เมืองลำพูน มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ 1. เพื่อศึกษาภูมิสังคมวัฒนธรรม วิถีชีวิตของชาวเมืองลำพูน 2. เพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะของวงปี่จุมและบริบททางวัฒนธรรมดนตรีของเมืองลำพูน 3. เพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพและระบบเสียงปี่จุมของสล่าปี่เมืองลำพูน การวิจัยครั้งนี้ได้สำรวจบันทึก จำแนก วิเคราะห์จากวงปี่จุมทั้งสองคณะได้แก่ คณะร่วมมิตรสามัคคี ที่บ้านปางส้าน ตำบลดงดำ อำเภอลี้และคณะลูกแม่ลี้สามัคคี บ้านทุ่งข้าวหาง อำเภอทุ่งหัวช้าง ซึ่งนำระเบียบวิธีดำเนินการวิจัย คือหลักการบริหารมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมีคุณภาพ มาประยุกต์ใช้กับผลการวิจัย ผลการวิจัยสรุปว่าภูมิสังคมและวัฒนธรรมการดนตรีเมืองลำพูนพบว่า เมืองลำพูนเป็นเมืองเก่า ยุคทวารวดี มีเมืองหริภุญไชยเป็นราชธานี ซึ่งปรากฏหลักฐานทางโบราณคดี วิถีชีวิตการอยู่อาศัยเป็นแบบเรียบง่ายมีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุด ในภาคเหนือตอนบน มีความแข็งแกร่งทางด้านวัฒนธรรม ดนตรีพื้นเมืองของล้านนามีลักษณะเป็นดนตรีแบบพื้นถิ่นที่ประกอบด้วยท่วงทำนองและการขับร้องอย่างมีเอกลักษณ์แบบพื้นเมืองเหนือ เครื่องดนตรีของล้านนาที่ประดิษฐ์ขึ้นจากวัสดุในท้องถิ่นมักทำกันเองแบบง่ายๆ โดยผู้เล่น เพื่อทำให้เกิดเสียงและใช้ในการบรรเลงร่วมกันในหมู่บ้านซึ่งเป็นสังคม ผู้วิจัยสำรวจวงปี่จุมคณะร่วมมิตรสามัคคี ที่บ้านปางส้าน ตำบลดงดำ อำเภอลี้และคณะลูกแม่ลี้สามัคคี บ้านทุ่งข้าวหาง อำเภอทุ่งหัวช้าง พบว่าทั้งสองคณะมีเพลงที่เป็นของแท้ดั้งเดิมคือ 1) เพลงตั้งเชียงใหม่ มี 10 ท่อน พร้อมคำร้องที่มีเนื้อหาเป็นบทปฐมฤฏษ์ 2) เพลงจะปุ มี 2 ท่อน พร้อมคำร้องที่เป็นนิทาน เล่าเรื่อง 3) เพลงละหม้าย มี 2 ท่อน พร้อมคำร้องที่เป็นนิทานและเรื่องเล่าที่ครึกครื้นสนุกสนาน 4) เพลงอื่อ มีท่อนเดียว คำร้องเป็นบทอำลา ส่วนเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบเพลงได้บันทึกโน้ตไทย ประกอบด้วย ปี่ 3 เล่ม คือ ปี่กลาง ปี่ก้อย ปี่เล็กและซึง ไม่มีกลองเมืองกำกับจังหวะ คณะร่วมมิตรสามัคคีขับซอ โดย แม่บัวผัน ทิวงศ์ษา ส่วนคณะลูกแม่ลี้สามัคคีขับซอโดย แม่ปราณี จันต๊ะ ส่วนสล่าทำปี่พบเพียงคณะเดียว คือคณะร่วมมิตรสามัคคี ประดิษฐ์โดยพ่อสมฤทธิ์ เป็งดอย ซึ่งมีแนวตั้งเสียงที่เก่าแก่คือ ปี่ก้อยมีฐานเสียงซอลต่ำ- ซอลสูง ปรากฏระยะชิดที่ 1-2 และ 6-7 ปี่กลางมีฐานเสียง โดต่ำ-โดสูง ปรากฏระยะชิดที่ 4-5 ปี่เล็กมีฐานเสียง โดต่ำ-โดสูง ปรากฏระยะชิดที่ 1-2 ตามลำดับ ชาวบ้านยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ไม่ค่อยเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรมความเป็นอยู่มากนัก จึงเป็นเหตุผลให้วงปี่จุมในจังหวัดลำพูน มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เป็นของดั้งเดิมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ยังคงรักษาบทบาทหน้าที่ในการให้ความบันเทิงและเผยแพร่โดยการให้ความรู้แก่ชุมชนต่อไปในอนาคต           The important purpose of the characteristic of PEE JUM ensemble: musician, vocalist and musical making on Lamphun province research had 3 objects, as follows, 1) to study the socio-cultural background and lifestyle of Lamphun’s people 2) to study the characristics of PEE JUM ensamble and their music cultural contexts. 3) to analyze the characteristics and sound system of the instrument. This research was carried out to survey, recording, classifieds and analyzing the data from the Ruammit Samakkee band, Dong-Dam sub-district, Li district, and Look Mae Li Samakkee band, Thung Kaw Hang sub-district, Thung Hua Chang district. The research methodology was applied from these theorise, Heritage Quality concept from the Fine Arts Deprotment, Authenticity and Rarity Value from Nara Documents, Knowledge Management, Value from Nara Documents, Knowledge Management, and Cultural Significances Values.          The study indicated indicated that Lamphun is an ancient city of the Dvaravati period, and the capital is Haripunchai, as archaeological evidence. Both PEE JUM bands of this research had the authenticity and rarity music as follows, 1) 10 parts with welcome lyrics of Tang Chiangmai song 2) 2 parts with tale and telling stoly lyrics of Japu song 3) 2 parts with fanny tale and telling story lyrics of Lamai song ang 4) a part with farewell Lyric of Auh song. The instruments of PEE JUM band consisted Pee Klang, Pee Koi, Pee Lek and Seung,without folk drums. Mae Buaphan Thiwongsa was a vocalist. Somlit Pengdoi was a musician and expert musical making. The traditional sound of Pee Jum divided into low-high G Close distance 1-2 and 6-7 of Pee Koi, low-high C Close distance 4-5 of Pee Klang and low-high C Close distance 1-2 of Pee Lek.

Downloads