พระอัจฉริยภาพด้านการวิจารณ์นาฏกรรมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Authors

  • อภิรักษ์ ชัยปัญหา
  • สุรพล วิรุฬห์รักษ์

Keywords:

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, รัชกาลที่ 5, การวิจารณ์, นาฏกรรมไทย, นาฏยศิลป์

Abstract

          วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการการวิจารณ์นาฏกรรมในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาพระอัจฉริยภาพด้านการวิจารณ์นาฏกรรมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพิจารณาการวิจารณ์นาฏกรรมทั้งที่เป็นบทวิจารณ์และการสร้างสรรค์นาฏกรรมในฐานะการวิจารณ์ ภายใต้กรอบแนวคิดประวัติศาสตร์นิยมใหม่ ผลการศึกษาพบว่า พัฒนาการการวิจารณ์นาฏกรรมในประเทศไทยในสมัยรัตนโกสินทร์พบว่า เดิมการวิจารณ์ของไทยปรากฏในการสร้างสรรค์นาฏกรรมเพื่อวิพากษ์วิจารณ์บุคคลและปรากฏการณ์ทางสังคมหรือผลงานสร้างสรรค์ของผู้อื่น มักใช้ลีลายั่วล้อ ต่อมาการปฏิรูปการศึกษาของไทยทำให้คนไทยรู้จักการวิจารณ์ในวัฒนธรรมลายลักษณ์โดยได้รับอิทธิพลจากตะวันตกทำให้เกิดการเขียนบทวิจารณ์นาฏกรรมขึ้น เริ่มจากการสื่อระหว่างบุคคลจนพัฒนาไปสู่การเขียนบทวิจารณ์ในสื่อสาธารณะ ในระยะต้นปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์เป็นหลักและค่อยๆ เสื่อมความนิยมลง ปัจจุบัน การเขียนบทวิจารณ์ปรากฏในสื่อใหม่มากขึ้น นอกจากนั้นลักษณะการวิจารณ์ยังปรากฏในการมอบรางวัลการประกวดแข่งขัน การกำหนดกฎเกณฑ์ในหลักสูตรและการประเมินคุณวุฒิของบุคลากรในวงการศึกษาในด้านพระอัจริยภาพด้านการวิจารณ์นาฏกรรมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรากฏ 2 สถานะ ได้แก่ 1) บทบาทผู้เขียนบทวิจารณ์ 2) บทบาทผู้สร้างสรรค์ผลงานในฐานะการวิจารณ์ พระราชวิจารณ์ของพระองค์อาจเป็นต้นเค้าของการเขียนบทวิจารณ์ในสื่อสาธารณะ มีส่วนช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจนาฏกรรมทั้งของไทยและของเทศแก่พสกนิกร พระองค์ทรงเป็นผู้หนึ่งที่ริเริ่มการสร้างสรรค์ ผลงานแนวใหม่ในลักษณะผสมผสานระหว่างนาฏกรรมแนวเดิมและนาฏกรรมแบบตะวันตก ทรงใช้ผลงานของพระองค์ในการวิพากษ์บุคคล เหตุการณ์สำคัญ มักใช้ลีลายั่วล้อเสียดสีเพื่อสร้างความขบขันและลดความรุนแรงในการวิจารณ์ นับเป็นความพยายามของชนชั้นนำสยามในยุคนั้นที่ประสงค์จะสร้างมาตรฐานใหม่แก่วงการนาฏกรรมไทยที่เน้นการนำเสนอสาระควบคู่กับความบันเทิง บทบาทการวิจารณ์นาฏกรรมของพระองค์นับเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่มีความสำคัญยิ่งต่อทิศทางการสร้างและการเสพนาฏกรรมไทยในระยะต่อมา           This dissertation was conducted with the following objectives: 1) to analyze the development of dramatic criticism in Thailand and 2) to examine King Rama V’s intelligence in performing arts criticism based on critiques and critical dramatic creativity under the concept of new historicism. The findings are as follows. In terms of the development of Performing arts criticism, during Rattanakosin period the criticism was conducted in form of parody with the purpose of criticizing individuals, social phenomena or others’ dramaticworks. Later, educational reform in Thailand derived from the western world allowed Thai people to understand literary criticism and that was the beginning of performing arts criticism. Formerly, it was a matter of interpersonal communication and evolved to criticism published in media mainly in newspaper. Later, it gradually reached its downfall. At the present, criticism is presented through new media platforms. In addition, criticism is for the purpose of awarding and competition. It is also included in educational curricula and in qualification assessment of teaching personnel in educational institutions. The examination of King Rama V’s intelligence showed that his majesty played two roles: 1) a critic and 2) a critical performing arts creator. His critique became the starter of criticism published in public space and it helped boost understanding about Thai and foreign performing arts of the Siamese people. His majesty was an initiator who created new style of performing arts which was the combination of Thai traditional performance and western performance. He criticized individuals and significant social phenomena through his works. He made use of parody style to entertain the audience and lessen the degree of criticism. It can be considered an attempt of the Siamese elite to establish a new style of performing arts which displayed information along with entertainment. His majesty played an important role in the history of Thai performing arts and an influence for later dramatic work creativity and appreciation.

Downloads