อัตลักษณ์ดนตรีอูรักลาโว้ย
Keywords:
ชาวเล, อูรักลาโว้ย, อัตลักษณ์ทางดนตรี, ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับวิถีชีวิตAbstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์ทางดนตรีอูรักลาโว้ย และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับวิถีชีวิตของอูรักลาโว้ย เป็นวิจัยเชิงคุณภาพทางด้านดนตรีวิทยา การศึกษาเลือกผู้ที่มีความรู้ผู้ปฏิบัติ และผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีประสบการณ์ดนตรีอูรักลาโว้ยเป็นเวลานาน จากคำแนะนำของบุคคลในชุมชนที่บอกต่อๆ กันไป ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับการกล่าวถึงบ่อยที่สุด และเลือกตามเหตุการณ์ หรือสถานที่เฉพาะหน้า ขณะพบผู้รู้โดยบังเอิญในการเก็บข้อมูล เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสำรวจแบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์โดยใช้แนวคิด อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ เลือกพื้นที่ศึกษาได้แก่ บ้านแหลมตุ๊กแก บริเวณหาดราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต บ้านสังกะอู้ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ และเกาะหลีเป๊ะ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ผลจากการศึกษาพบว่า 1) อัตลักษณ์เครื่องดนตรีแบ่งตามแหล่งการกำเนิดเสียงเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ฆีเซะ รือฆู ปาลู และกาเตาะ ในส่วนของลักษณะวงดนตรีแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ บาลัฮรูเงก บาลัฮบรานา บาลัฮฆาโญก และบทเพลงแบ่งตามวัตถุประสงค์การบรรเลง ได้แก่ ลาฆูตาโบะ ลาฆูรามัย ลาฆูบลาวัด และลาฆูตาเบะ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับวิถีชีวิตอูรักลาโว้ยมี 2 ความสัมพันธ์หลัก คือ ดนตรีกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่เหนือธรรมชาติ และดนตรีกับการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม The purposes of this research were to study 1) the musical identity and 2) the relationship between the music and the lifestyle of Urak Lawoi. The study was qualitative research in musicology. The participants were those with expertise, practitioners, and related people with long experience in Urak Lawoi music. Data were collected based on the relayed advice of people in the community, most frequently named people, and the unprecedented events or venues while meeting the expertise by accident. The instruments used to collect data included a survey, an observation form, and interviews. The data were analyzed using ethnic identity concepts. The areas selected were 1) Ban Laem Took-Kae in the area of Rawai beach, Mueang, Phuket, 2) Ban Sangka-u House, Ko Lanta, Krabi, and 3) Ko Lipe, Mueang, Satun. The results of the study showed that 1) the musical identity was based on the principles of sound source which were divided into four types including Khee-Se, Rue-Khu, Pa-Lu, Ka-To, and the appearance of the musical band was divided into three types: Ba-Lad-Ru-Ngeng, Ba-Lad-Bra-Na, Ba-Lad-Kha–Yok and the identity of the song could be categorized according to the purposes of the play, such as La-Khu-Ta-Bo and La-Khu-La-Mai, specific music used in ceremonies, such as La-Khu-Bra-Wad and La-Khu-Ta-Be. 2) The relationships between the music and the Urak Lawoi lifestyle. The relationship between the music and the Urak Lawoi lifestyle could be divided into two main types: music and sacred things which were supernatural and unable to experience and music andthe coexistence of people in the society.Downloads
Issue
Section
Articles