กลวิธีการเดี่ยวฆ้องวงใหญ่ของครูสอน วงฆ้อง กรณีเพลงแขกมอญสามชั้น
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์วิเคราะห์กลวิธีการเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงแขกมอญสามชั้น บรรเลงโดยครูสอนวงฆ้อง โดยเจาะจงศึกษาจากแถบบันทึกเสียงซึ่งบรรเลงโดยครูสอน วงฆ้อง ณ ห้องบันทึกเสียงนวลน้อยในโครงการบันทึกฝีมือครูอาวุโสของกรมศิลปากร ทำการบันทึกและตรวจสอบโน้ต เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการบรรเลงตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย ฆ้องวงใหญ่ (2553) ทำการศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2561-2563 ได้ผลการวิจัยดังนี้ ทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงแขกมอญสามชั้นทั้งหมด 18 จังหวะหน้าทับหรือ 72 บรรทัด พบกลวิธีการบรรเลงฆ้องวงใหญ่ที่โดดเด่น คือ กลุ่มการตีประคบมือ ครูสอนใช้มือขวาตีเสียงโหน่งมากที่สุดและใช้เสียงหนอดน้อยที่สุด ส่วนมือซ้ายใช้การประคมมือเสียงติงมากที่สุดและใช้เสียงติดกับเสียงตีดน้อยที่สุด นอกจากนี้ พบว่าการตีสะบัดจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือ การกรอ การไขว้และการกวาด ตามลำดับ ส่วนการตีกระทบคู่พบว่าใช้คู่ 8 มากที่สุดและใช้คู่ 9 คู่ 10 คู่ 11 จำนวนหนึ่ง ทั้งนี้จุดเด่นของเพลงแขกมอญสามชั้นมีลักษณะทำนองที่เหมือนกันในท้ายแต่ละท่อน ส่งผลให้การประดิษฐ์ทางเดี่ยวที่แตกต่างกันออกไป This paper aims to analyze Gongwongyai solo technique of Gakmon Samchan by Son Wonggong, in which it was recorded and played by Son Wonggong at the Nuannoi Voice Recording Room of the senior teacher skill project of the Fine Arts Department. Transcription In order to analyze the strategy of playing according to the standard criteria of Thai music Gongwongyai (2010). Conducting the study between the years A.D.2018-2020, the results analyzed as follows. Gongwongyai solo in Gakmon Samchan, all 18 rhythmic temples or 72 lines. Found Gongwongyai solo technique that is outstanding Prakrbmuua hit group Son Wonggong used his right hand to hit Nong the most and Nod was the least. The left hand uses the most polished Ting and the least Te sound with Ted. In addition, it found that Sabud hit the most, followed by Gro, Kwai and Kwad respectively. As for Kratob-Ku, it was found that the pairs used Ku 8 the most and used Ku 9, 10, 11 less. However, Gakmon Samchan has the same melody at the end of each part of the song, resulting in a different solo creation.References
กฤษฎา ด่านประดิษฐ์. (2545). แนวการบรรเลงระนาดทุ้มเพลงแขกมอญ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
เชาว์ การวิชา. (16 กุมภาพันธ์ 2563). ลูกศิษย์สายครูสอน วงฆ้อง. มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. สัมภาษณ์.
ทวีศักดิ์ ศรีผ่อง. (2545). การศึกษามือฆ้องหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ทำนองหลักเพลงไทย ตามเกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชาและวิชาชีพขั้น 4 ด้านปี่พาทย์. วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นพดล คลำทั่ง. (2551). วิเคราะห์เดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงทยอยเดี่ยว ทางครูสอน วงฆ้อง. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทย ภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/14258/1/noppadon_kl.pdf
นิกร จันทศร. (2540). ศึกษาเพลงเดี่ยวกราวในทางฆ้องวงใหญ่. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม.(มานุษยดุริยางควิทยา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญช่วย โสวัตร. (2531). ลักษณะพิเศษของเพลงเดี่ยว. ใน สูจิบัตรงานมหกรรมเดี่ยวเพลงไทยชัยมงคล. โดยกรมศิลปากรและสมาคมนักแต่งเพลงประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุญธรรม ตราโมท. (2545). คำบรรยายวิชาดุริยางคศาสตร์ กรมศิลปากร. กรุงเทพมหานคร: ชวนพิมพ์.
ประดิษฐ์ อินทนิล. (2537). ดนตรีไทยและนาฏศิลป์. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.
พิชิต ชัยเสรี. (10 กุมภาพันธ์ 2562). ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์.
พูนพิศ อมาตยกุล, พิชิต ชัยเสรี, อารดา กีระนันทน์ และคนอื่นๆ .(2532). งานวิจัยเรื่อง นามานุกรมศิลปิน เพลงไทยในรอบ 200 ปีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์. สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2736
มนตรี ตราโมท และวิเชียร กุลตัณฑ์. (2523). ฟังและเข้าใจเพลงไทย. กรุงเทพมหานคร: ไทยเขษม.
มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), ศูนย์. (2562). จารึกในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2562, จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/251.
ราชบัณฑิตยสถาน (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
สุรัตน์ชัย สิริรัตน์ชัยกุล. (2549). วิเคราะห์เดี่ยวระนาดทุ้มเพลงสารถี 3 ชั้น ทางครูสมภพ ขำประเสริฐ. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทย ภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา. (2553). เกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย พุทธศักราช 2553. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
อัศนีย์ เปลี่ยนศรี. (2561). อัตลักษณ์ในเพลงเดี่ยวฆ้องวงใหญ่ทางหลวงบำรุง จิตรเจริญ (ธูป สาตนวิลัย). Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 11(3), 459-476.