การวิเคราะห์รูปแบบการแสดงลิเกลูกบทคณะวิโรจน์ หลานหอมหวล เรื่องจันทโครพ

Authors

  • นภัสรัญชน์ มิตรธีรโรจน์
  • ชนัย วรรณะลี
  • พิมณภัทร์ ถมังรักษ์สัตว์

Abstract

บทความวิจัยเรื่องการวิเคราะห์รูปแบบการแสดงลิเกลูกบทคณะวิโรจน์ หลานหอมหวลเรื่องจันทโครพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเป็นมาของการแสดงลิเกของครูวิโรจน์ วีระวัฒนานนท์ ศึกษารูปแบบและองค์ประกอบในการแสดงลิเกลูกบทของครูวิโรจน์ วีระวัฒนานนท์ ตลอดจนวิเคราะห์รูปแบบและองค์ประกอบในการแสดงลิเกลูกบทของครูวิโรจน์ วีระวัฒนานนท์ โดยกำหนดขอบเขตการศึกษาการแสดงลิเกลูกบท เรื่องจันทโครพ ของครูวิโรจน์ วีระวัฒนานนท์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัย ตามกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า การแสดงลิเกลูกบทของครูวิโรจน์ ได้รับถ่ายทอดมาจากครูหอมหวล นาคศิริ ซึ่งเป็นคุณตา เมื่อตอนอายุ 12 ปี พร้อมกับเด็กรุ่นราวคราวเดียวกัน โดยมีครูน้อม รักตประจิต ครูละครวังสวนกุหลาบฝึกหัดพื้นฐานการร่ายรำเพลงช้า เพลงเร็ว เพลงแม่บท และเพลงหน้าพาทย์ให้ เมื่อฝึกหัดจนชำนาญและสามารถแสดงได้แล้ว ครูหอมหวลจึงตั้งเป็นคณะ “หอมหวลรุ่นพิเศษ” ซึ่งคำว่ารุ่นพิเศษ คือ รุ่นสุดท้ายครูหอมหวลจะฝึกหัดลิเกให้รับการแสดงลิเกจนมีชื่อเสียงโด่งดัง ต่อมาครูวิโรจน์ได้ตั้งคณะลิเกเป็นของตนเองโดยใช้ชื่อคณะว่า “คณะวิโรจน์ หลานหอมหวล” โดยมีผู้แสดงเป็นผู้ที่เคยแสดงร่วมกันมาตั้งแต่แสดงอยู่คณะหอมหวลรุ่นพิเศษ แสดงในรูปแบบลิเกลูกบทของครูหอมหวล นาคศิริ คือ เพลงราชนิเกลิง เพลงหงส์ทอง และเพลงไทยอัตราจังหวะสองชั้นประเภทเพลงเกร็ด และใช้เพลงหน้าพาทย์ประกอบอิริยาบทต่างๆ ในการแสดง ผู้แสดงตัวพระแต่งกายด้วยเสื้อคอกลมสวมทับด้วยเสื้อกั๊ก นุ่งผ้าโจงกระเบนในลักษณะการนุ่งผ้าแบบลูกบท เคียนศีรษะ คาดหน้าด้วยเพชร ตัวนางนุ่งผ้าจีบหน้านาง ห่มสไบ ใช้วงปี่พาทย์บรรเลง ประกอบการแสดง ขั้นตอนการแสดงเริ่มจาก การโหมโรงบูชาครู การออกแขก แล้วจึงจับเรื่องแสดง ในส่วนของการแสดงลิเกลูกบทเรื่องจันทโครพ ดำเนินเรื่องตามบทลิเกของครูวิโรจน์ที่ประพันธ์ไว้ โดยเปิดเรื่องด้วยตัวจันทโครพกล่าวจะขึ้นไปลาพระฤษีกลับบ้านเมือง หลังจากนั้นดำเนินเรื่องตามวรรณกรรม และปิดเรื่องด้วยฉากนางโมรายื่นพระขรรค์ให้โจร  This research article, “The Analysis of Viroj Larn Homhuan’s Lookbot Li-ke Troupe’s Performing Style in Jantakorop Story” aims to study the origin of Master Viroj Veerawattananon’s Li-ke performance. The study covers performing characteristics and elements of Master Viroj Veerawattnanon’s Li-ke Lookbot as well as the analysis of performing characteristics and elements of Master Vifoj Veerawattnanon. The research boundary lies within Master Viroj Veerawattananon’s Li-ke performance based on the story “Jantakorop” whereas the research approach follows quantitative research discipline. The research result reveals that Master Viroj’s Li-ke Lookbot performance was passed on to him by Master Homhuan Nagasiri, his grandfather, when he was 12 years old, at the same time as others in the similar ages. Meanwhile, Mistress Nom Raktaprajit, a Thai classical dance performer from Suankularb Palace, trained them the basic dances such as Pleng Cha, Pleng Raew, Pleng Maebot and Pleng Napat dances. Once they had been properly trained to the level that they can perform, Master Homhuan subsequently established the “Homhuan Special Class” for them, by which special class means the last team which he trained them to perform Li-ke. The troupe was duly hired to perform around until it became well known. Sometimes after, Master Viroj  decided to establish his own Li-ke troupe by the name, “Viroj Larn Homhuan”, in which performers were recruited from those who used to perform together with him in Homhuan Special Class team. The performance is conducted in Li-ke Lookbot style, invented by Master Homhuan Nagasiri, which utilises the singing of; Rajniklerng, Hongtong, other mid-tempo and miscellaneous Thai classical songs whereas using Napat songs to demonstrate various actions in performances. Those who performs the role of men adorn round neck shirt that under a vest, meanwhile, wearing a loincloth in Lookbot style and wrap around their heads with headband decorated with artificial diamonds. The female performers adorn a cloth in “Nanang” skirt style and wrap their torsos with torso wrapping clothes. Pipat band accompanies the performance and the performing procedure starts from teacher homage paying orchestrating to Ork Khaek (introductory solo performance) before beginning with story. Regarding the performing of Li-ke lookbot of Jantakorop story, the performance  follows that composed by Master Viroj which starts from Jantakorop bidding farewell to his rishi master before returning to his city. After that, the story follows the literature and ended with the scene when Mora presented the sword to the villain.

References

ฐิติพันธ์ ประสมทรัพย์. 2558.กลยุทธ์การสืบทอดธุรกิจภายในครอบครัวของผู้ประกอบธุรกิจค้าขายปลาทะเลในพื้นที่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง.ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชลาลัย บุญสุวรรณ และฉัตรวรัญช์ องคสิงห.2560. การวิเคราะห์สภาพปัญหาและอุปสรรคในการปรับตัวของลิเกในสังคมไทย. โครงการวิจัย วิทยาลัยนวัตกรรมและสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต.

ธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัย. มปป.หนังสือประกอบการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีไทย.

ธันยาภรณ์ โพธิกาวิน. 2560. การสืบทอดและการดำรงอยู่ของวงดนตรีแก้วบูชาในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. โครงการวิจัยและสร้างสรรค์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

พิมพ์ชนก นุชเนตร.2560. การเรียนรู้โดยผ่านการสังเกต และพฤติกรรมการเลียนแบบจากรายการเซเลบบล็อก. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์.2538. ลิเก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

สมถวิล วิเศษสมบัติ. 2527. วรรณคดีการละคร. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดอักษรบัณฑิต.

Downloads

Published

2022-10-27