พลวัตของดนตรีแจ๊สในวัฒนธรรมไทย
Abstract
การวิจัยเรื่องแจ๊สในประเทศไทย: บริบททางประวัติศาสตร์และการพัฒนา เป็นการศึกษาทางด้านดนตรีวิทยา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ เพื่อศึกษาพัฒนาการและพลวัตของดนตรีแจ๊สในกระแสวัฒนธรรมไทย ผลการวิจัยพบว่า พลวัตของดนตรีแจ๊สในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็น 2 ช่วงคือ 1) ช่วงการแพร่กระจาย การยอมรับ และการผสมผสาน มีปัจจัยด้านบุคคลที่อยู่ในหน่วยงานราชการได้แก่ กรมโฆษณาการ และกองดุริยางค์กองทัพบกเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเพื่อทำหน้าที่ให้ความบันเทิงในภาวะสงครามและอีกปัจจัยคือพระราชนิยมในดนตรีแจ๊สของรัชกาลที่ 9 ส่งผลให้สามารถถ่ายทอดเพลงแจ๊สสู่ชาวไทยได้บางส่วน 2) ช่วงการพัฒนาและการขับเคลื่อน มีปัจจัยด้านบุคคลทั้งในหน่วยงานรัฐบาล กลุ่มเอกชน สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นส่วนขับเคลื่อนดนตรีแจ๊ส มีการเปิดหลักสูตรดนตรีแจ๊สในระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เป็นต้น โดยหน่วยงานต่างๆ ได้หมุนเวียนการจัดกิจกรรม เช่น การประกวดแข่งขันดนตรีแจ๊ส การประชุมวิชาการ และการจัดอบรมค่ายเพลงดนตรีให้แก่เยาวชนที่สนใจ This research study about the dynamics of Jazz music in Thai culture, using qualitative research methods. The objective is to study the development and dynamics of jazz music in Thai culture. The results revealed that the dynamics of jazz in Thailand occur in two phases. Phase one were diffusion, acceptance and eclecticism. There are personal factors in government agencies, including the government public relations department and Royal Thai army music division those were a major driving with support from the government to serve as entertainment in the state of war. The last factor is the favor in jazz music of King Rama IX, which resulted in the transmission of jazz music to some Thai people. Phrase two were development and driving, there are individual factors in government agencies, private groups, and higher education institutions that drive jazz music. Undergraduate jazz courses are offered at various universities including Mahidol University, Silpakorn University, Rangsit University, Burapha University and Songkhla Rajabhat University, etc., which have circulated activities such as Jazz competition, Jazz music conference and Jazz music camp for interested people.References
กมลธรรม เกื้อบุตร. (2557). ดนตรีเต้นรำในสังคมและวัฒนธรรมไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา. (ม.ป.ป.). หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาดนตรีสากล. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2561, จากเว็บไซต์: https://www.mupabuu.com/music
คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (ม.ป.ป.). หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2561, จากเว็บไซต์: https://www.music.su.ac.th/wp-content/uploads/2019 /05/JAZZ-STUDIES-PROGRAM.pdf
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. (ม.ป.ป.). หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาดนตรีแจ๊ส. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2561, จากเว็บไซต์: https://skruart.skru.ac.th/2017/files/ course/sagonbook.pdf
งามพิศ สัตย์สงวน. (2537). การวิจัยทางมานุษยวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ช้างต้น กุญชร ณ อยุธยา. (6 ธันวาคม 2561). สัมภาษณ์
เด่น อยู่ประเสริฐ. (6 ธันวาคม 2561). สัมภาษณ์
พลวิทย์ โอภาพันธุ์ และคณะ. (2558). โครงการศึกษาวิจัยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมดนตรีแจ๊สในประเทศไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย, กระทรวงวัฒนธรรม.
พูนพิศ อมาตยกุล และคณะ. (2550). จดหมายเหตุดนตรี 5 รัชกาล เล่ม 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
พูนพิศ อมาตยกุล และคณะ..(2554). การก่อเกิดเพลงไทยสากล: แนวคิดด้านดนตรีวิทยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์. (2549). วัฒนธรรมบันเทิงในชาติไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.
ภาธร ศรีกรานนท์. (2559). บทเพลงพระราชนิพนธ์: การวิเคราะห์และสังเคราะห์ทางดนตรีศึกษา. กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักส์จำกัด.
ยุวรี โชคสวนทรัพย์. (2554). กิจการสถานบันเทิงในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2488 – 2545 (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิทยา ภู่บัว. (2542). อิทธิพลดนตรีอเมริกันที่มีต่อเพลงไทยสมัยนิยม (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต. (ม.ป.ป.). หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต แขนงดนตรีแจ๊สศึกษา. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2561, จากเว็บไซต์: https://www.rsu.ac.th/music/download/Curriculum File1_Bachelor-of-Music-Program-Draft.pdf
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (ม.ป.ป.). หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2561, จากเว็บไซต์ https://www.music.mahidol.ac.th/th/bachelors-program/
สมาน นภายน. (2536). ประวัติดนตรีไทยสากล. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.
อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงสุขุมนัยประดิษฐ. (2510). สืบค้น 14 เมษายน 2561, จาก http://pradub-sukhum.com/Luang%20 Sukhum%20Site/Luang%20Sukhum %20Book/Book%201/BB.%20Working.html