ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: “ด้วยพระบารมี”คอนแชร์โตสำหรับเปียโน และวงดุริยางค์เครื่องลม
Abstract
ผลงานการสร้างสรรค์ดุษฎีนิพนธ์บทประพันธ์เพลง “ด้วยพระบารมี” คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงดุริยางค์เครื่องลม เป็นบทประพันธ์เพลงที่จัดอยู่ในรูปแบบดนตรีพรรณนาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์บทเพลงประเภทคอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงดุริยางค์เครื่องลม โดยใช้ทำนองหลักจากบทเพลงไทยแบบแผนมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ มีความยาวของบทเพลงประมาณ 30 นาที บทประพันธ์เพลงนี้แบ่งออกเป็นกระบวนต่าง ๆ 3 กระบวน ผู้ประพันธ์เพลงได้ใช้เทคนิคการคัดทำนอง โดยการนำแนวทำนอง 8 ห้องแรกจากบทเพลง นารายณ์แปลงรูปสองชั้น มาใช้เป็นวัตถุดิบการประพันธ์เพลงที่สำคัญ ผู้ประพันธ์เพลงได้ใช้เทคนิคการแปลงชื่อบุคคลโดยนำพระนามแรก (Bhumibol) และพระนามหลัง (Adulyadej) ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ มาแปลงตัวโน้ตเป็น กลุ่มโน้ตพระนาม “ภูมิพล” และ กลุ่มโน้ตพระนาม “อดุลยเดช” จากนั้นได้สังเคราะห์และสร้าง “กลุ่มโน้ตพระบารมี” ขึ้นมาอีกหนึ่งกลุ่ม และนำไปใช้ในกระบวนต่างๆ ตลอดทั้งบทประพันธ์เพลง ในส่วนกระบวนที่ 3 มีการสร้างกลุ่มโน้ตเพิ่มอีกหนึ่งกลุ่ม คือ “กลุ่มโน้ตสวรรคต” เพื่อให้สอดคล้องความหมายกับเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น และใช้ทฤษฎีทางด้านดนตรีตะวันตกมาใช้สำหรับการประพันธ์ เช่น แนวคิด การใช้หน่วยทำนองเพลงไทย แนวคิดการคัดทำนองเพลงไทย เทคนิคไซคลิก การนำทำนองเพลงไทยมาเรียบเรียงเสียงประสานด้วยวิธีการของดนตรีตะวันตก “Phra Paramita” concerto for piano and wind instruments is a creative work in the program music style which organized in a descriptive music format. The main thematic material is derived from Thai Classical Music. It is the main inspiration for this composition. The duration of this piece is approximately 30 minutes. This composition is divided into three movements. The composer uses the material of the first eight measures from the Narai Plangeroop Songchan (The transformation of Narai) as a main material for this composition. The main pitch material devided to 4 groups. The first and second groups are called “Bhumibol” and “Adulyadej” which is His Majesty King Bhumibol the Great’s name. The third group is called the “Phra Paramita”. The forth group is called “Ascended to Heaven” which presented in the last movement to response to the great mourning period when His Majesty the King Bhumibol the Great passed away. There are various theories and techniques in this composition, such as the influence of Thai melodic style, the influence of Thai song melodies, the cyclic techniques, and the combination of Thai melodies and Western harmony as an example.References
ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2557). สารานุกรมเพลงไทย. นครปฐม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.
ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. (2552). การประพันธ์เพลงร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร..(2553). อรรถาธิบายและบทวิเคราะห์: บทประพันธ์ที่ประพันธ์โดย ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. (2558). เปียโนคอนแชร์โตแห่งกรุงสยาม. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที เอส บี โปรดักส์.
ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2553). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์ ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เกศกะรัต.
ปัญญา วิจินธนสาร และเกวลี แพ่งต่าย. (2552). ภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ รัชกาลที่ 9. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
มนตรีตราโมท และวิเชียร กุลตัณฑ์. (2523). ฟังและเข้าใจเพลงไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยเขษม.
วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น. (2558). ดนตรีในศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น. (2559). มิติแห่งอากาศธาตุ บทประพันธ์เพลง 20 บท สำหรับเปียโน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธนาเพลส.
วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น. (2561). ทฤษฎีดนตรีตะวันตก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
วีรชาติ เปรมานนท์. (2532). รายงานการวิจัยเรื่อง ดนตรีไทยแนวใหม่ช่วงปี พ.ศ. 2520-2530. ทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภช, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศานติ ภักดีคำ. (2556). ครุฑ เทพพาหนะสัญลักษณ์แห่งพระนารายณ์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.