การพัฒนาทักษะของนักแสดงในการแสดงเดี่ยวเรื่อง เดอะ ไซริงกา ทรี ตามหลักการแสดงของ ม.ล. พันธุ์เทวนพ เทวกุล
Acting Skill Development in the Solo Performance of The Syringa Tree by M.L. Pundhevanop Dhewakul’s Acting Method
Keywords:
หลักการแสดง, พุทธศาสนา , การแสดงเดี่ยวAbstract
ม.ล. พันธุ์เทวนพ เทวกุล มีความเชื่อว่าหากนักแสดงที่มีจิตอิสระ รู้จักวางอัตตา มีสมาธิตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียวทั้งกายและใจก็จะเป็นตัวละครได้โดยง่าย จึงออกแบบแบบฝึกหัดอันฝึกฝนให้กายและจิตของนักแสดงทำงานผสานกันด้วยแนวทางของการเจริญสติ/สมาธิของศาสนาพุทธ ผู้วิจัยทดลองนำหลักการแสดงนี้มาใช้ในการแสดงเดี่ยวเรื่อง เดอะ ไซริงกา ทรี โดยมีสมมติฐานว่าเมื่อนักแสดงใช้หลักการแสดงของ ม.ล. พันธุ์เทวนพ เทวกุลนี้แล้วจะสามารถเข้าถึงบทบาทและสามารถสื่อสารสารหลักของเรื่องได้ดีขึ้น ผู้วิจัยทดลองใช้หลักการแสดงฯ 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) ค้นหาสภาวะภายในของตัวละคร 2) เตรียมพร้อมนักแสดงก่อนการแสดง 3) พัฒนาทักษะโดยรวม ด้วยงานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยแบบปฏิบัติการ ผู้วิจัยจึงเลือกวิธีการเก็บข้อมูลหลากหลายรูปแบบที่นอกเหนือหนังสือและตำรา อันได้แก่ บันทึกการทำงานของผู้วิจัย, บันทึกคำสอน, การสังเกตการณ์, การสัมภาษณ์, แบบสอบถามผู้ชม และวีดิโอบันทึกการแสดงจริง ผลการศึกษาพบว่าการฝึกปฏิบัติด้วยแนวทางดังกล่าวอย่างต่อเนื่องช่วยเสริมความรู้สึกไว้วางใจในศักยภาพของตนเอง ทำให้นักแสดงรู้สึกอิสระที่จะเป็น ทำ หรือรู้สึกโดยไม่กลัวการถูกตัดสิน ทั้งจากผู้อื่นและตนเองเมื่อนักแสดงค้นพบอิสรภาพบนเวทีแล้วการเข้าถึงบทบาทและสื่อสารสารหลักของเรื่องก็เกิดขึ้นได้โดยง่าย M.L. Pundhevanop Dhewakul believes that an actor who can be free from his/her ego, with an empty mind, unwavering focus, and unity of body and mind will easily become a character. With this doctrine, he created exercises to train the body and mind of an actor to work in unity, under Buddhist guiding principles on mindfulness and meditation. The researcher adopted this acting method in a solo performance The Syringa Tree with the assumption that M.L. Pundhevanop Dhewakul’s acting method could enhance the ability to become the characters and convey the message of the play genuinely and effectively. The researcher employed the acting method in three different ways; 1) to explore the inner experience of the characters, 2) to prepare body-mind for a performance, and 3) to improve overall skills of an actor. This study is Practice as Research. The researcher opted to collect data in several other ways in addition to literature reviews such as journals, lecture notes, observation, interviews, questionnaires, and a video recording of the performance. The finding of the study is continued practices of the acting method foster trust in one’s self and empty an actor’s mind, enabling them to be, do, feel without fear of judgment from others or one’s self. Once an actor discovers freedom on stage, becoming a character and conveying a message of a play become spontaneous.References
นพมาส แววหงส์, บรรณาธิการ. (2556). ปริทัศน์ศิลปการละคร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทอสการ์ ซี. และ เอ.. (2559). แค่รู้จัก 3 หลักสมดุลชีวิต สุขภาพกายและจิตดีขึ้นชั่วพริบตา. (พันแสง วีระประเสริฐ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี.
สดใส พันธุมโกมล. ศิลปะของการแสดง (ละครสมัยใหม่). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 31. ม.ป.ท. : ม.ป.พ..
Super User. (2555). พัฒนาการการแสดงในฉบับหม่อมน้อย. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2561, จาก http://www.kad-performingarts.com/ index.php/component/content/article/30-article/56-2012-07-18-02-32-34.
Cole, T. & Chinoy, H. K., Eds. (1970). Actors on acting. 4thed. New York: Crown publisher.