การปรับเปลี่ยนโลกทัศน์และชีวทัศน์ด้วยกระบวนการละครเพื่อการเรียนรู้

Transformation of Learners’ Worldview through a Drama Process for Learning.

Authors

  • ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ

Keywords:

กระบวนการละครเพื่อการเรียนรู้, การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง, มิติความเป็นมนุษย์

Abstract

บทความวิจัยนี้เขียนขึ้นมาจากการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างเสริมลักษณะนิสัยของเยาวชนในมิติความเป็นมนุษย์ด้วยกระบวนการละครเพื่อการเรียนรู้ งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดกระบวน การละครเพื่อการเรียนรู้สำหรับสร้างเสริมลักษณะนิสัยของเยาวชนในมิติความเป็นมนุษย์ และ 2) ศึกษาผลการใช้กระบวนการละครเพื่อการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมลักษณะนิสัยของเยาวชนในมิติความเป็นมนุษย์ บทความนี้ผู้เขียนนำเสนอเฉพาะบทเรียนการพัฒนาชุดกระบวนการละครเพื่อการเรียนรู้สำหรับสร้างเสริมลักษณะนิสัยของเยาวชนในมิติความเป็นมนุษย์ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) กระบวนการละครเพื่อการเรียนรู้แบบละครร่วมสร้างบนฐานชุมชนบางปะกง และ 2) ชุดการเรียนรู้มิติความเป็นมนุษย์ผ่านบทละคร เรื่องบางปะกงสายน้ำแห่งมังกร แต่ละรูปแบบประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนการเรียนรู้ ออกแบบด้วยการบูรณาการความรู้ด้านละครเพื่อการเรียนรู้กับแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและการเรียนรู้บนฐานชุมชนหลักการสำคัญคือละครจะต้องเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้โลกทัศน์ภายในผ่านการจัดประสบการณ์ที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ผู้ออกแบบการเรียนรู้ต้องออกแบบกิจกรรมให้ผู้เข้าร่วมได้ทำงานกับความเชื่อและมุมมองการใช้ชีวิตตั้งคำถามกับชุดประสบการณ์เดิมที่มี ทั้งนี้การเรียนรู้ต้องไม่ใช่แค่การรู้คิดแต่ต้องรู้สึกผ่านประสบการณ์ตรงเพื่อยกฐานชีวิตด้วยความรู้สึกอันนำไปสู่การสร้างเสริมลักษณะนิสัยในมิติความเป็นมนุษย์  This research article is written from action research on Enhancing the characteristics of youth in the Humanistic Dimension through Drama Process for Learning. This research has two objectives: 1) to develop a Drama Process for Learning to enhancing youth traits in the humanistic dimension and 2) to study the effect of using Drama Process for Learning to  enhance youth traits in the humanistic dimension. In this article, the authors present only lessons on the development of a Drama process for Learning to enhancing the character of youth in the humanistic dimension in 2 forms: 1) the Drama Process for Learning, Devised Theatre form on the Bang Pakong community base and 2) A series of learning the humanistic dimension through the drama script of Bang Pakong, River of Dragons. Each model consists of 4 learning phases. Designed by integrating drama for learning with concepts of Transformative Learning and Community-based learning. The core principle is that drama must be a tool for learning the inner worldview through community-based experiences. The learning designer must design activities that allow participants to work with their beliefs and life perspective. Questioning the existing set of experiences. And learning must be not just thinking, but having to feel through direct experience. To raise the base of life with feelings leading to enhancing youth traits in the Humanistic Dimension.

References

ชลลดา ทองทวี จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร ธีรพล เต็มอุดม พงษธร ตันติฤทธิศักดิ์ และสรยุทธ รัตนพจนารถ. (2551). จิตตปัญญาพฤกษา : การสำรวจและสังเคราะห์ความรู้จิตตปัญญาศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยและจัดการความรู้จิตตปัญญาศึกษาสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธนา นิลชัยโกวิทย์. การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและจิตตปัญญาศึกษา. ใน ศูนย์จิตตปัญญาศึกษามหาวิทยลัยมหิดล. จิตตปัญญาศึกษา: การศึกษาเพื่อการพัฒนานุษย์. การประชุมวิชาการประจำปี 2551 เรื่องจิตตปัญญาศึกษา: การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ (น. 3-31). โครงการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

เบลลันกา เจมส์ และแบรนต์ รอน. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 (วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์, แปล). กรุงเทพฯ: openworlds.

พรรัตน์ ดำรุง, (2547). การละครสำหรับเยาวชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ. (2562). ละครเพื่อการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงตัวตนภายใน. วารสารดนตรีและการแสดง, 5 (2), 106-122.

ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ. (2559). หาดวอนนภา ชีวิตวัฒนธรรมชุมชนชายทะเล : การวิจัยผ่านกระบวนการศิลปะการละคร. วารสารศิลปกรรมบูรพา, 19 (1), 73-91

รูดี้ ลิสเชา, (2551). รูดอล์ฟ สไตเนอร์ มนุษยปรัชญา [Rudolf Steiner : A Teacher from the West] (รวีมาศ ปรมศิริ, แปล). กรุงเทพฯ: แปลนพริ้นติ้ง.

สมสิทธิ์ อัสดรนิธี, (ผู้เขียนบรรณานิทัศน์). (2552). Learning as Transformation: Critical Perspectives on a Theory in Progress ของ Jack Mezirow and Associates. ใน นวล วรรณ ธุวรุงเรือง, (บรรณาธิการ), 80 เล่มที่คุณต้องอ่าน หนังสือจิตตปัญญาศึกษา (หน้า 20-21). กรุงเทพฯ: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

ออตโต ชาร์เมอร์. (2563). หัวใจทฤษฎีตัวยู : หลักการและการประยุกต์ใช้สู่การตื่นรู้และการสร้างขบวนการทางสังคม (สมสิทธิ์ อัสดรนิธี, แปล). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

Downloads

Published

2022-10-27