โหมโรงมวยไทยสำหรับวงเครื่องลมทองเหลือง

Thai Boxing Overture for Brass band

Authors

  • พฤฒิรณ นันทโววาทย์
  • ภาธร ศรีกรานนท์

Keywords:

โหมโรงมวยไทย, วงเครื่องลมทองเหลือง, เครื่องดนตรีสังเคราะห์, Thai Boxing Overture, Brass Band, Synthisizer

Abstract

การวิจัยเรื่อง โหมโรงมวยไทยสำหรับวงเครื่องลมทองเหลือง เป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ในศาสตร์การประพันธ์ดนตรีตะวันตก (Music Composition) ซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างสรรค์บทประพันธ์ดนตรีสำหรับวงเครื่องลมทองเหลืองและเครื่องดนตรีสังเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้วิจัยได้สร้างสรรค์บทประพันธ์ดนตรีโหมโรงมวยไทยสำหรับวงเครื่องลมทองเหลืองโดยมีความยาวของบทประพันธ์ดนตรีนี้เป็นเวลาทั้งหมดประมาณ 8 นาที และได้แบ่งท่อนเพลงในบทประพันธ์ออกเป็น 3 ท่อนหลัก ได้แก่ ท่อนนำ ท่อนไหว้ครูร่ายรำมวยไทย และท่อนต่อสู้ บทประพันธ์ดนตรีชิ้นนี้ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีทั้งหมด 21 เครื่อง โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มเครื่องลมทองเหลือง 13 เครื่อง ประกอบไปด้วย ทรัมเป็ต 4 เครื่อง เฟรนช์ฮอร์น 4 เครื่อง ทรอมโบน 2 เครื่อง เบสทรอมโบน 1 เครื่อง ยูโฟเนียม 1 เครื่อง และทูบา 1 เครื่อง กลุ่มเครื่องกระทบ 4 เครื่อง ประกอบไปด้วย กลองสแนร์ กลองใหญ่คอนเสิร์ต ฉาบ และ เครื่องประกอบจังหวะ กลุ่มเครื่องดนตรีสังเคราะห์ 4 เครื่อง ประกอบไปด้วย ลีดซินธิไซเซอร์ เบสซินธิไซเซอร์ อาร์เพจจิเอเตอร์ซินธิไซเซอร์ และ แซมเปิ้ลเพลย์แบคซินธิไซเซอร์ ซึ่งเป็นบทประพันธ์ดนตรีสำหรับกลุ่มเครื่องลมทองเหลืองโดยมิได้คำนึงถึงการจัดรูปแบบวงดนตรีตามหลักลักษณะของวงเครื่องลมทองเหลืองโดยทั่วไป  The research entitled Thai boxing overture for brass band is the qualitative research in Music Composition which is aimed to (1) Compose music for brass band and Electronic Instruments. The research results found that (1) Music composition Thai boxing overture for brass band approximate 8 minutes and combine with 3 Parts 1 Introduction 2 Wai Kru Muay Thai and 3. Fighthing Scence This Music composition performing with 21 music instruments 3 groups included Brass instrument 4 Trumpets 4 French horns 2 Trombones 1 Bass Trombone 1 Euphonium and 1 Tuba Percussion instrument snare drum bass drum cymbal and auxiliaries percussion Electronic instrument Lead Synthesizers Bass Synthesizers Arpeggiator Synthesizers Sampling and playbacks Synthesizers. This is a composition for brass band without consideration of tradition brass band orchestration.

References

โกวิทย์ ขันธศิริ. (2558). ดุริยางคศิลป์ตะวันตก (เบื้องต้น). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขำคม พรประสิทธิ์. (2533). สรหม่า. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาดุริยางคศิลป์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนาเทพ วะสวานนท์. (2555). มวยไทยรัตนโกสินทร์ศาสตร์และศิลปแห่งการต่อสู้ (ฉบับบสมบูรณ์). กรุงเทพมหานคร.

ณัชชา โสคติยานุรักษ์. (2543). ทฤษฎีดนตรี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น. (2558). ดนตรีศตวรรษที่ 20. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีรชาติ เปรมานนท์. (2532). รายงานการวิจัยเรื่องดนตรีไทยแนวใหม่ช่วงปี พ.ศ. 2520 – พ.ศ. 2530. ทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภช, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมนึก แสงอรุณ. (2562). ครูดนตรีไทย. สัมภาษณ์. 21 มีนาคม 2562.

สุรพล สุวรรณ. (2559). ดนตรีไทยในวัฒนธรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อานุภาพ คำมา. (2558). ลาเวนเดอร์แห่งความสงบ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาดนตรี, มหาวิทยาลัยรังสิต.

Dina Santorelli. (2014). “Daft Punk a Trip Inside Pyramid.” New York: St. Martin’s Press.

Joseph Wagner and Peter L. Alexander. (1989). “Electronic Arranging And orchestration.” Califonia: Alexander Publishing.

Jim Aikin. (2004). “Power Tools for Synthesizer Programing.” San Fransisco: Blackbeat Books.

Peter Ilyitch Thcaikovsky. (2005). “Guide to the Practical Study of Harmony” Newyork: Dover Plublication.

Downloads

Published

2022-09-26