การสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ระบำโบราณคดีของกรมศิลปากร

The Creation of archaeological dance performance of the Fine Arts Department

Authors

  • นพพล จำเริญทอง

Keywords:

ระบำโบราณคดี, หลักฐานทางประวัติศาสตร์, การสร้างสรรค์, Archaeological dance, Historical evidence, Creative

Abstract

การสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์รูปแบบระบำจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 จากแนวคิดของ นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ได้สร้างระบำโบราณคดีขึ้น 5 ชุดการแสดง คือ ระบำทวารวดี ระบำศรีวิชัย ระบำลพบุรี ระบำเชียงแสนและระบำสุโขทัย ซึ่งได้พบภาพเขียน ภาพปั้น และภาพจำหลักตามโบราณ สถาน และโบราณวัตถุสมัยต่างๆ ทั้งที่พบในประเทศไทย และประเทศใกล้เคียง จึงได้นำมาประกอบแนวคิดประดิษฐ์การแสดงขึ้น ระบำโบราณคดี ที่สร้างขึ้นผ่านขั้นตอนกระบวนการสร้างสรรค์ด้วยความประณีต มีลักษณะทางศิลปะที่มีความลงตัว มีการค้นคว้าข้อมูลทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์มาใช้อ้างอิงผสมผสานกับจินตนาการของผู้สร้างสรรค์ แบ่งออกเป็น 4 ด้านได้ดังนี้ 1.ข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ตำรา การลงพื้นที่หาข้อมูล 2. การออกแบบท่ารำ รูปแบบของระบำ สร้างท่าขึ้นใหม่ 3. การออกแบบ เครื่องแต่งกาย สร้างเอกลักษณ์แต่ละชุดให้มีความพิเศษตามยุคสมัย 4. การออกแบบดนตรี ประพันธ์ทำนองและสร้างเครื่องดนตรีให้เหมาะสมตามข้อมูล ปัจจัยทั้งสี่ประการเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์รูปแบบระบำจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และถือเป็นต้นแบบงานสร้างสรรค์ต่อมา  The creation of traditional dance from the historical evidence called archaeological dance was created in 1967 by Mr. Thanit Yupho, a former director-general Fine Arts Department who created 5-performances of archaeological dances consists of Dvaravati dance, Srivijaya dance, Lopburi dance, Chiang Saen dance, and Sukhothai dance which were inspired by the historical evidence such as paintings, sculptures, and bas-relief from the archaeological sites, antiques from various periods which found in Thailand and neighbor countries. Therefore, the dances were created. The archaeological dances were created through the elaborate process with a flawless artistic style. It used the information of archaeological and historical research with the imagination of the creator. It was divided into 4 parts including 1) Historical evidence, archaeological site, antiquities, textbook, and field research. 2) The newly created dance posture and dance design patterns 3) Costume design for creating a unique style of each era 4) Musical composition and creation of musical instruments according to the information. Thus, these were important factors used in the creation of traditional dance from the historical evidence in the following time as a model.

References

กรมศิลปากร. (2550). ทะเบียนข้อมูล : วิพิธทัศนา ชุดระบำรำฟ้อน เล่ม 2 : ไทภูมิ พับลิชชิ่ง

ฉันทนา เอี่ยมสกุล. (2554). ศิลปะการออกแบบท่ารำ : บริษัทบพิธการพิมพ์ ถนนราชบพิธ เขตพระนครกรุงเทพฯ

พัชรินทร์ สันติอัชวรรณ. (2561). วารสารจันทรเกษม ปีที่ 24 ฉบับที่ 46 มกราคม - มิถุนายน 2561. หน้า 17-29

ไพโรจน์ ทองคำสุก. สัมภาษณ์ วันที่ 31 กันยายน พ.ศ. 2564

ภัทระ คมขำ. (2561). เพลงระบำ. พิมพ์ครั้งที่ 1 : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 254 ถ.พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพ ฯ

บันทึกการแสดงระบำโบราณคดี กรมศิลปากร. สืบค้นวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2564 จาก https://www.youtube.com/watch?v=P8r3yBWtgdo&ab_channel=tingtongmakma

หนังสือที่ระลึกอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนางใบศรี แสงอนันต์. (2553). : ไทภูมิ พับลิชชิ่ง

Downloads

Published

2022-09-26