ศึกษาการจัดการเรียนรู้ดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย หลักสูตรดนตรีพื้นฐานสำหรับเด็กของโครงการศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

A study of music learning management for children: a case study of music activities for children, music campus for general public, college of music, Mahidol University

Authors

  • ธนกร วิริยาลัย
  • พิมลมาศ พร้อมสุขกุล
  • ชาลินี สุริยนเปล่งแสง
  • ปรีญานันท์ พร้อมสุขกุล

Keywords:

การจัดการเรียนรู้ดนตรี, เด็กปฐมวัย, ดนตรีเด็กเล็ก, Music learning management, Early childhood, Music activities for children

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย หลักสูตรดนตรีพื้นฐานสำหรับเด็กของโครงการศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล ทั้ง 3 สาขา ได้แก่ สาขาศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ สาขาศูนย์การค้าสยามพารากอน และสาขาศูนย์การค้าซีคอนบางแค ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้สอนที่มีประสบการณ์ ด้านการสอนหลักสูตรดนตรีพื้นฐานสำหรับเด็กมากกว่า 5 ปี จำนวน 4 ท่าน ใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนทั้ง 4 ด้าน พบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้หลักสูตรดนตรีพื้นฐานสำหรับเด็ก หลักสูตรได้เปิดโอกาสแก่ผู้สอนในการออกแบบกิจกรรม จากวัตถุประสงค์และเนื้อหาที่ทางหลักสูตรกำหนด โดยการวางแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนจะกำหนดกิจกรรมให้มีความเชื่อมโยงต่อเนื่องกันระหว่างระดับชั้น และเพิ่มเนื้อหาสาระทางดนตรีตามลำดับ 2. ด้านเทคนิคการสอน เป็นการสอนในรูปแบบย้ำทวน เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และปฏิบัติจนเป็นธรรมชาติ 3. ด้านสื่อการสอน ผู้สอนได้นำเพลงเป็นสื่อในการดำเนินกิจกรรมทางดนตรี และ 4. ด้านการประเมิน ผู้สอนใช้การสังเกตพัฒนาการของผู้เรียนในระหว่างปฏิบัติกิจกรรมทั้งการปฏิบัติเดี่ยว และการปฏิบัติกลุ่มตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ มีจดบันทึกรายละเอียดการเรียนการสอนรวมถึงพัฒนาการของผู้เรียนภายหลังการสอน เพื่อนำไปปรับปรุงการสอนให้ดียิ่งขึ้น  This qualitative research aimed to study music learning management for children in early childhood: a case study of Music Activities for Children, Music Campus for General Public (MCGP), College of Music, Mahidol University. The study is done in all three branches of MCGP, namely, Seacon Square Shopping Center Branch, Siam Paragon Shopping Center Branch, and Seacon Bangkae Shopping Center Branch. Main informants were four experienced teachers in basic music learning for children for more than five years. The data collection methods were non-participant observation and semi-structured interview. The collected data was analyzed and presented in a descriptive format. From the data analysis in all four aspects, it indicated that; 1. Management of basic music learning for children – The courses provided an opportunity for teachers to design activities according to specified objectives and contents. By managing learning courses, the teachers can create corresponding activities which are linked between levels, as well as integrating more music contents in each level respectively; 2. Teaching technique - An iterative teaching style is used to let the learners understand and familiarize with music practices; 3. Teaching media – Songs were used as a medium for music teaching activities; 4. Learning assessment – Following the set objectives, the teachers observed learners’ development during activities, both in solo practices and group practices. There is also a detailed record of the teaching and learning activities, including the details of learners’ development after class which will be used to improve the learning management in the future.

References

กมลธรรม เกื้อบุตร. (2554). กระบวนการสอนกีตาร์คลาสสิกของกีรตินันท์ สดประเสริฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ดนตรี) มหาวิทยาลัยมหิดล.

กมลวรรณ ตังธนกานน์. (2559). การวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จเร สำอาง. (2550). สมองดี ดนตรีทำได้. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2544). พฤติกรรมการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2560). วิธีวิทยาการสอนดนตรี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : บริษัทพรรณี พริ้นติ้งเซ็นเตอร์ จำกัด.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). หลักการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรพรรณ แก่นอำพรพันธ์. (2550). ชุดการสอนวิชาดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัยเรื่องระดับเสียงและจังหวะ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี). มหาวิทยาลัยมหิดล.

เมทินี เตชะวิทยากุล. (2545). ความคาดหวังของผู้ปกครองที่ส่งบุตรหลานเข้าเรียนดนตรีตามโครงการศึกษาดนตรีสำหรับ บุคคลทั่วไป วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี). มหาวิทยาลัยมหิดล.

เลิศรัตน์ โตสิงห์. (2559). ความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนดนตรีปฐมวัยต่อครูดนตรีในโรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบ (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี). มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิตต์ธาดา เภาคำ. (2556). การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรีโดยใช้ดนตรีคลาสสิคและดนตรีสมัยนิยทเพื่อพัฒนาทักษะเปียโนของนักเรียนเปียโนระดับชั้นต้น. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศราพงศ์ อิศรศักดิ์ ณ อยุธยา. (2553). การนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัยของครูในโรงเรียนเอกชน (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัชนา สุตมาตร. (2546). การศึกษาหลักสูตรและกระบวนการศึกษาดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัยของสถาบันจินตการดนตรีสถาบันดนตรีมีฟ้าและสถาบันดนตรีเคพีเอ็น (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี). มหาวิทยาลัยมหิดล.

Ney. V. (1975). Music for Young Children. Dubuque, Iowa : William C. Brown.

Downloads

Published

2022-10-28