ระเบียบวิธีการบรรเลงวงปี่พาทย์มอญ คณะพาทยโกศล ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
Performance methods of wong piphat mon by the pattayakosol pipat ensemble at the royal cremation ceremony for his majesty king bhumibol adulyadej
Keywords:
ปี่พาทย์มอญ, พาทยโกศล, ระเบียบวิธีการบรรเลง, พระราชพิธีถวายพระเพลิง, Piphat Mon, Pattayakosol, Regulations and Methods of Performance, The Royal Cremation CeremonyAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องกับวงปี่พาทย์มอญ คณะพาทยโกศล และศึกษาระเบียบวิธี การบรรเลงวงปี่พาทย์มอญ คณะพาทยโกศลที่ใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ทายาท ลูกศิษย์ สมาชิกในวงปี่พาทย์มอญ คณะพาทยโกศลและบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ผลการวิจัยพบว่า ตระกูลพาทยโกศล นับทายาทได้ 8 รุ่น ผู้มีบทบาทสำคัญ คือ หลวงกัลยาณมิตตาวาส (ทับ) และจางวางทั่ว พาทยโกศล วงปี่พาทย์มอญ บ้านพาทยโกศล สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในสมัยจางวางทั่ว เครื่องมอญเก่าแก่ที่สุดที่สร้างไว้เอง คือ ฆ้องโพธิ์ เอกลักษณ์ของวงปี่พาทย์มอญ คือชุดเครื่องมุกที่ประดับตราประจำตระกูล “พศ” และฆ้องกระแต ปรากฏในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2551 ระเบียบวิธีการบรรเลง พบว่าเพลงที่ใช้และรูปแบบการบรรเลงเป็นเอกลักษณ์ของบ้านพาทยโกศล ได้แก่ นาคบริพัตรทางมอญ ช้างประสานงาทางมอญ พม่าเห่ทางมอญ ซึ่งเป็นเพลงที่ครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล ประพันธ์ไว้ พบเพลงในการบรรเลงประโคมทั้งสิ้น 13 เพลง ได้แก่ ประจำบ้าน ยกศพ พญาขวัญ พญาโศก สองไม้เต่าทอง สองไม้สี่เกลอ ประจำวัดเสียงล่าง นาคบริพัตรทางมอญ พม่าเห่ทางมอญ ช้างประสานงาทางมอญ เขมรทม จะเด็ด และมอบเรือ This research aims to investigate contexts of the Piphat Mon Ensemble of Ban Pattayakosol as well as regulating methods of the Piphat Mon of Ban Pattayakosol Ensemble performance at the Royal Cremation Ceremony for His Majesty King Bhumibol Adulyadej. The research findings show that the descendants of Pattayakosol music family can be traced back up to 8 generations. Two of them that took important roles were Luang Kallayanamittavas (Tub) and Jangwang Tua Pattayakosol. It was assumed that the Piphat Mon Ensemble of Ban Pattayakosol was set up during the time of Jangwang Tua. The first Mon instrument belonging to the family is the oldest Kong Mon (Mon vertical circular gong), namely Kong Pho. The Piphat Mon Ensemble identity can be differentiated by a pearl inlaid set decorated with “PS”, the Family initials, and Kong Kratae. Both gongs first re-appeared at the Royal Cremation Ceremony For Her Royal Highness Princess Galyani Vadhana, the Princess of Naradhiwas in 2551 B.E. The repertoire and traditional methods of performance of Ban Pattayakosol are Nakboriphat Thang Mon, Chang Prasarn - nga Thang Mon and Phama - Hae Thang Mon which were composed by Master Dhevaprasith. All 13 tunes were discovered as following: Prajum Ban, Yok Sop, Phya Kwan, Phya Soke, Song Mai Tao Thong, Song Mai Si Kloe, Prajum Wat Siang Larng, Nakboriphat Thang Mon, Phama - Hae Thang Mon, Chang Prasarn - nga Thang Mon, Khamen Thom, Ja - ded and Mob Rua.References
คมกริช การินทร์. (2555). มือฆ้องวงใหญ่บ้านพาทยโกศล. วิทยานิพนธ์ (ปร.ด.) ดนตรี, มหาวิทยาลัยมหิดล.
นพพลน์ น้อยเศรษฐี. ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย. (3 พฤศจิกายน 2562). สัมภาษณ์.
นพวรรณ พาทยโกศล โปรียานนท์. ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย. (15 พฤศจิกายน 2562). สัมภาษณ์.
นิวัติ คงรำพึง. ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย. (31 ตุลาคม 2562). สัมภาษณ์.
ภัทระ คมขำ. (2561). ดนตรีในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร. บทความทางวิชาการ : งานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 43 วันที่ 20 - 22 มกราคม 2561, มหาวิทยาลัยพะเยา.
มานิดา จั่นสุวรรณ์. (2552). ต้นแบบการจัดทำคลังข้อมูลเครื่องดนตรีไทยสำนักดนตรีบ้านพาทยโกศล. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) ดนตรี, มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมศักดิ์ ไตรวาสน์. ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย. (31 ตุลาคม 2562). สัมภาษณ์.
อัศนีย์ เปลี่ยนศรี. (2558). ดนตรีในพระราชพิธีสมัยรัตนโกสินทร์. บทความวิชาการ : ข้อมูลจากศิลปกรรมสาร วารสารวิทยาการ ปีที่ 10 ฉบับที่ 1, คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.