กลวิธีการขับร้องเพลงไทยสำหรับวงโยธวาทิตของเรือโทหญิง เลี่ยมลักษณ์ สังจุ้ย

Vocal techniques for military band by Lieutenant junior grade Liamlak Sangjui women Royal Thai Navy

Authors

  • ศิริชัยวัตร ซ้ายสุข
  • ขำคม พรประสิทธิ์

Keywords:

การขับร้องเพลงไทยสำหรับวงโยธวาทิต, เลี่ยมลักษณ์ สังจุ้ย, Vocal Techniques for Military Band, Liamlak Sangjui

Abstract

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องและกลวิธีการขับร้องเพลงแขกสาย เถา และเพลงแขกสี่เกลอ เถา สำหรับวงโยธวาทิตของเรือโทหญิง เลี่ยมลักษณ์ สังจุ้ย มูลบทที่เกี่ยวข้องพบว่ามีจุดเริ่มต้นจากการรวมวงโยธวาทิตของเหล่าทหารแตร จวบจนปี พ.ศ. 2447 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงนำเพลงไทยของเก่ามาพระนิพนธ์แยกเสียงประสานสำหรับวงโยธวาทิต เพื่อบรรเลงรับส่งการขับร้องเพลงไทยที่ทรงบรรจุไว้เฉพาะด้วยพระองค์เอง โดยมีครูเจริญ พาทยโกศล เป็นผู้ประพันธ์ทางขับร้อง ส่วนกลวิธีการขับร้องปรากฏ 7 กลวิธีคือ การลักจังหวะ การย้อยจังหวะ การลอยจังหวะ การผันเสียง การกระทบเสียง การสะบัดเสียง และการปั้นคำ กลวิธีที่พบมากที่สุด คือ การกระทบเสียง ส่วนกลวิธีการลอยจังหวะพบเฉพาะเพลงแขกสี่เกลอ เถา ทั้งนี้พบสำนวนการขับร้องเฉพาะปรากฏ 3 สำนวน โดยร้องในจังหวะที่กระชับและมีระดับเสียงการขับร้องที่สูงกว่าวงเครื่องสายแต่ไม่สูงถึงวงปี่พาทย์ไม้แข็ง สำหรับเรือโทหญิง เลี่ยมลักษณ์ สังจุ้ย ยังคงรักษาแนวทางการขับร้องเพลงไทยสำหรับวงโยธวาทิตที่ได้รับการถ่ายทอดจากคุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ (ศิลปินแห่งชาติ) ตามแบบฉบับของครูเจริญ พาทยโกศล ไว้อย่างเคร่งครัด  This article deals with vocal techniques of Khak Sai and Khak Si Kler in the third, second, and first version for the military band by Lt. Jg. Liamlak Sangjui. These vocal techniques belong to Thai Royal Navy Marching Band. The Thai Marching band was developed by Marshal-Admiral Paribatra Sukhumbandhu, Prince of Nakhon Sawan, who arranged Thai traditional tunes with western harmonization for the marching band in 1934. The vocal melodies was written by Kru Charoen Pattayakul. Research findings reveal seven vocal techniques consisting of lak changwa (syncopation), yoi changwa (delaying a pillar tone), loy changwa (non-metric singing within rhythmic cycles), kan phan siang (voice diversion), kra thop siang (embellishment with a grace note), kan sabud siang (triplet), and phan kham (word modification). The most used technique was kra thop siang while the loy changwa technique was found only in Khak Si Kler. In addition, three unique vocal styles were found. These three styles were sung in a fast tempo with a higher range designated between that of a string ensemble and a piphat ensemble. Lt. Jg. Liamlak Sangjui continues to strictly follow Kru Chareon Pattayakosol’s vocal techniques which was passed on by Khunying Phaithoon Kittiwan (National Artist).

References

กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. (2548). ชีวิตในวังบางขุนพรหม. พิมพ์ครั้งที่ 8 กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า 2545.

ดิเรก กล้าหาญ. ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทย. (20 มิถุนายน 2562). สัมภาษณ์.

พีรพันธุ์ กาญจนโหติทัศ. (2561). อาศรมศึกษา: เรือโทหญิงเลี่ยมลักษณ์ สังจุ้ย. (งานวิจัยปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พูนพิศ อมาตยกุล. (2550). จดหมายเหตุดนตรี 5 รัชกาล. เล่มที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

พูนพิศ อมาตยกุล. (2529). นักร้องสตรีไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ ดนตรีไทย. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2561). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัตินักดนตรีและนักร้อง. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

เลี่ยมลักษณ์ สังจุ้ย. ราชการบำนาญสังกัดกองดุริยางค์ทหารเรือ. (12 กุมภาพันธ์ 2562). สัมภาษณ์.

เลี่ยมลักษณ์ สังจุ้ย. ราชการบำนาญสังกัดกองดุริยางค์ทหารเรือ. (3 เมษายน 2562). สัมภาษณ์.

วิทยา ศรีสอาด. (2557). การศึกษาวงโยธวาทิตกองทัพบก. (ปริญญานิพนธ์ ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต.) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สัญชัย เอื้อศิลป์. (2546). ทางขับร้องบ้านพาทยโกศล กรณีศึกษา อุษา แสงไพโรจน์. (ปริญญานิพนธ์ ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต.) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อนุรักษ์ บุญแจะ. (2539). วงโยธวาทิตกองทัพเรือ. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.) มหาวิทยาลัยมหิดล.

อังคณา อ้วนล่ำ. ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทย. (24 กรกฎาคม 2562). สัมภาษณ์.

Downloads

Published

2022-10-28