บทประพันธ์เพลงออเรียนทอลฟลาวเวอร์สำหรับบิกแบนด์

Oriental flower for big band

Authors

  • ณัฐพล อาสว่าง
  • เด่น อยู่ประเสริฐ

Keywords:

ออเรียนทอลฟลาวเวอร์, บิกแบนด์, บทประพันธ์เพลง, Oriental Flower, Big Band, Music Composition

Abstract

งานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์บทประพันธ์ดนตรีแจ๊สบทใหม่ ออเรียนทอลฟลาวเวอร์สำหรับวงบิกแบนด์ โดยเป็นบทประพันธ์เพลงที่มีแนวทำนองหลักมาจากการดัดแปลงทำนองเพลงไทยคำหวาน และเพื่อเผยแพร่บทประพันธ์ออกสู่สาธารณะชนในระดับประเทศและระดับนานาชาติ บทประพันธ์เพลงออเรียนทอลฟลาวเวอร์สำหรับบิกแบนด์ เป็นบทประพันธ์เพลงใหม่ที่มีการใช้ทำนองหลักอันเกิดจากการดัดแปลงทำนองเพลงไทยคำหวานในการนำเสนอ รวมถึงใช้เป็นแนวคิดสำคัญในการพัฒนาทำนองส่วนอื่นๆ ใช้มโนทัศน์ของดอกไม้ในการออกแบบโครงสร้างโดยรวมของบทประพันธ์ โดยกำหนดให้ทำนองหลักอยู่ในตอนกลางของบทประพันธ์เพื่อเป็นตัวแทนของเกสรดอกไม้ จากนั้นจึงนำทำนองดังกล่าวมาเป็นแนวคิดสำคัญเพื่อพัฒนาทำนองอื่นๆ ในตอนต้นและตอนท้ายของบทประพันธ์ เพื่อเป็นตัวแทนของกลีบดอกไม้ที่ห่อหุ้มเกสรเอาไว้ การสร้างเสียงประสานในตอนต้นและตอนท้ายของบทประพันธ์มีแนวคิดสำคัญมาจากการกำหนดกลุ่มโน้ตที่มีความสัมพันธ์คู่สี่-ห้าขึ้น แล้วจึงเติมโน้ตเบสเพิ่มในภายหลังเพื่อสร้างคอร์ดต่างๆ ส่วนเสียงประสานในตอนกลางมีแนวคิดมาจากใช้ความสัมพันธ์ V-I รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อทำให้คอร์ดโทนิกมีความสำคัญและความชัดเจนมากขึ้น แต่มิได้ยึดหลักการเสียงประสานเสียงตามแบบแผนอย่างเคร่งครัด  The purpose of this creative research was to compose a new jazz composition, Oriental Flowers for Big Band, and to disseminate the composition nationally and internationally. The melody of the Thai traditional song, Kham Wan, was modified to create the main theme in Oriental Flowers for Big Band. The main theme was also used to develop other parts of the theme in this composition. The overall structure of the piece came from the visual concept of a flower. The main theme was placed in the middle section of the song comparable to the pollen in the middle of a flower. Then, the sub themes comparable to corollas surrounding the pollen were composed and inserted throughout the song from the beginning to the ending parts of the song. The harmony concept at the beginning and ending part came from the relationship of 4-5 intervals with a bass note to create various chords depending on the suitability and colors of the chords in the overall section. The harmony in the middle section embraced a V-I relationship concept with other elements to emphasize the sound of tonic chords to make them sound clearer than other parts of the song.

References

ชิ้น ศิลปบรรเลง, คุณหญิง และลิขิต จินดาวัฒน์. (2521). ดนตรีไทยศึกษา. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2552). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เกศกะรัต.

ธีรัช เลาห์วีระพานิช. (2562). ทฤษฏีดนตรีแจ๊สและการอิมโพรไวส์. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

Goldstein, Gill. (1993). Jazz Composer’s Companion. Rottenburg, DE: Advance Music.

Herborn, Peter. (2010). Jazz Arranging Jazz Arrangement. Hechingen, DE: Advance Music.

Kennan, Kent. (1999). Counterpoint, 4thed. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Pease, Ted. (2003). Jazz Composition Theory and Practice. Boston: Berklee Press.

Tanner, Paul O. W., Megill, David W., & Gerow, Maurice. (2001). Jazz, 9thed. New York: Mc Graw Hill.

Downloads

Published

2022-10-28