การประพันธ์เพลง “CLARINET EVOLUTION” สำหรับคลาริเน็ตและคอมพิวเตอร์ดนตรี

Music composition “clarinet evolution” for clarinet and computer music

Authors

  • อัครพล เดชวัชรนนท์

Keywords:

การประพันธ์เพลง, คลาริเน็ต, คอมพิวเตอร์ดนตรี, Music composition, Clarinet, Computer music

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคและวิธีการประพันธ์เพลงสำหรับคลาริเน็ตและคอมพิวเตอร์ดนตรี และนำเสนอแนวคิดในการประพันธ์เพลง Clarinet Evolution สำหรับคลาริเน็ตและคอมพิวเตอร์ดนตรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากการศึกษาข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการประพันธ์เพลงและดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ผลการวิจัยพบว่า การประพันธ์บทเพลง Clarinet Evolution เป็นการสร้างสรรค์ในลักษณะดนตรีร่วมสมัย โดยใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างเสียงสังเคราะห์เพื่อบรรเลงเป็นดนตรีประกอบให้กับคลาริเน็ต การประพันธ์เพลงประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ 1) การสร้างทำนองของคลาริเน็ต 2) การเลือกใช้เทคนิคการบรรเลงคลาริเน็ต และ 3) การประพันธ์แนวคอมพิวเตอร์ดนตรีบรรเลงประกอบ การประพันธ์เลือกใช้เทคนิคของการบรรเลงคาริเน็ตที่เหมาะสม ได้แก่ เทคนิคเสียงควบ เทคนิค Overtone Glissandi เทคนิคการรัวลิ้น เทคนิค Slap Tonguing เทคนิคเสียงลม เทคนิค Teeth Tone และ เทคนิคการกดคีย์ รวมถึงการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการสร้างเสียงสังเคราะห์โดยใช้เครื่องมือการดัดแปลงสัญญาณเสียงผ่านเอฟเฟค Filter เอฟเฟค Delay & Echo เอฟเฟค Reverberation และ เอฟเฟค Modulation ผลงานประพันธ์ในลักษณะใหม่นี้ เป็นการเปิดโลกทัศน์แก่บทเพลงสำหรับคลาริเน็ต และเป็นวิธีการนำเสนอผลงานดนตรีในรูปแบบใหม่ที่ผสมผสานเสียงธรรมชาติและเสียงสังเคราะห์ไว้ด้วยกัน  This research article aimed to study music composition techniques and methods for clarinet and computer music, including the presentation of Clarinet Evolution composition concepts for clarinet and music computers. The research used qualitative research methodology, collected the document data, and interviewed experts in music composition and electronic music. The study revealed that Clarinet Evolution was a piece of contemporary music using the computer to create sound accompanied by the clarinet. Three steps of the composition consist of 1) creating the clarinet main melody 2) selecting clarinet techniques and 3) composing the computer musical line. The composition used suitable clarinet techniques including Overtone Glissandi, Flutter Tonguing, Slap Tonguing, Air Sound, Teeth Tone, and Key Clicks. The computer program was used to create synthesizer sounds by using music transducer tools including Filter Effect, Delay & Echo Effect, Reverberation Effect, and Modulation Effect. As a new musical composition created a worldwide composition of music for the clarinet, it was also a new manner of presenting music that combined nature and synthesizer sounds.

References

กัมปนาท จันธิมา. (2560). บทประพันธ์เพลง หักเห สำหรับเดี่ยวคลาริเน็ต เครื่องลมไม้ 8 ชิ้น อิเล็กทรอนิกส์ และภาพเคลื่อนไหว (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2554). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เกศกะรัต.

ศศี พงศ์สรายุทธ. (2556). ดนตรีตะวันตก ยุคกลาง และยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bachmann, C. e. (2008). Nuendo 4: Advanced Audio and Post Production System. (C. Bachmann, Heiko Bischoff, Marion Bröer and Sabine Pfeifer., Ed.). Germany: Steinberg Media.

Thom Holmes. (2016). Electronic and Experimental Music Technology, Music, and Culture (Fifth Edition). New York. Routledge.

Downloads

Published

2022-10-28